บทบาทของนักบริหารทรัพยากรบุคคล


895 ผู้ชม


บทบาทของนักบริหารทรัพยากรบุคคล



บทบาทของนักบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดั้งเดิม มี 4 กระบวนการที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันดังภาพข้างล่างนี้

                                    บทบาทดั้งดิม HR

                                     ภาพที่ 1. บทบาทดั้งเดิมของ HR                      

จากภาพที่ 1. ได้จำแนกบทบาทของ HR ตามกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่ การสรรหาคัดเลือก ซึ่งเป็นการสร้างแรงดึงดูดให้ได้ทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าเข้ามาร่วมงาน การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งในยุคดั้งเดิมจะเน้นการพัฒนา โดยกระบวนการฝึกอบรมเป็นส่วนใหญ่ การรักษาทรัพยากรบุคคล ซึ่งเน้นที่การสร้างแรงงานสัมพันธ์ การบริหารค่าตอบแทน และสวัสดิการที่จูงใจ การจัดการให้ทรัพยากรบุคคลออกจากองค์การ ซึ่งเกิดได้ในรูปของการเกษียณอายุ การลงโทษขั้นร้ายแรง การเลิกจ้างอันไม่ใช่เป็นสาเหตุจากการกระทำความผิด            จะเห็นว่ากระบวนการดังกล่าวคล้าย ๆ กับการจำลองกระบวนการผลิตจากระบบโรงงานเพียงแต่เปลี่ยนจากวัตถุดิบมาเป็นทรัพยากรบุคคล เปลี่ยนผลผลิตเป็นการให้คนที่ไม่เหมาะสมอยู่กับองค์การออกจากสาระบบ ระบบดังกล่าวขับเคลื่อนองค์การแบบงานประจำวันเท่านั้น โดยที่มีบทบาทในระดับกลยุทธ์อย่างจำกัด ซึ่งอาจแสดงด้วยภาพข้างล่างนี้  

HR  Transformation 

ภาพที่ 2. HR Transformation           

จากภาพที่ 2. แสดงให้เห็นว่า HR ในยุคดั้งเดิมมีบทบาทหลักหนักไปทางงานประจำวัน (Administration Transactional) ถึง 70% ที่เหลือเพียง 30% เป็นงานด้านการเป็นที่ปรึกษาในระดับกลยุทธ์ อย่างไรก็ตาม วิทยากรมีความเห็นว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเรียกว่าต้องการให้มีการกลับด้าน กล่าวคือ HR ต้องทำงานระดับกลยุทธ์ถึง 70% และทำงานด้าน Administrative 30% จึงจะสนองตอบองค์การที่มุ่งสู่ความเป็น Organization Performance โดยที่ New Vision ของ HR ต้องเป็นดังนี้

-          เป็นผู้เปลี่ยนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ

-          บริหารจัดการระบบงานให้ชาญฉลาด และอย่างมีประสิทธิภาพ

-          ทำให้ทรัพยากรบุคคลสามารถสร้างผลผลิต (Contribution) สูงสุด และเกิดพันธผูกพันต่อความสำเร็จขององค์การ (Commitment)

-          บริหารการเปลี่ยนแปลงให้ราบรื่น (Seamless Change)

ข้อมูลโดย : ดร. เลิศชัย - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เลิศชัย สุธรรมานนท์

อัพเดทล่าสุด