การบริหารสุขภาพพนักงาน # 2


850 ผู้ชม


การบริหารสุขภาพพนักงาน # 2




กฤษณเนตร พันธุมโพธิ 

การจัดการกับความเครียด

อาการที่ปรากฏแก่คนทำงาน เป็นสาเหตุให้คนทำงานได้ผลผลิตตกต่ำลง หลายกรณีคนต้องหยุดงาน ทำให้ชั่วโมงทำงานของคนทำงานลดลง ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา แม้กระนั้นกิจการหลายแห่งให้ความเอาใจใส่กับเรื่องนี้น้อยมาก บางรายคิดว่าเป็นการเจ็บป่วยธรรมดา ก็ให้คนหยุดงาน หรือรักษาพยาบาลตามอาการที่พบ ในปีหนึ่งๆ จึงมีความสูญเสียเกิดขึ้น จำนวนมหาศาล
หากฝ่ายจัดการเข้าใจสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นแก่คนทำงาน ก็อาจป้องกันและบำบัดอาการได้ พนักงานก็ต้องช่วยตนเองด้วยการปรับพฤติกรรมชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองด้วย ได้มีการค้นหาเทคนิคและจัดแผนงานต่าง ๆ ในสถานประกอบกิจการ เพื่อป้องกันและระงับความเครียด แม้ว่าแผนงานโดยทั่วไปจะไม่จัดการกับความเครียดได้โดยตรง แต่ก็เป็นบทบาทที่สำคัญ โดยเฉพาะระบบการบริหารบุคคลที่มีประสิทธิผล แผนงานที่นำไปใช้ได้ผลดี ได้แก่
้ ยอมรับคุณค่าผลงาน ของคนทำงาน พนักงานจะได้รับมอบหมายให้มีอำนาจในการควบคุมงานของตนเองมากขึ้น สนับสนุนและให้ความสำคัญแก่การปรึกษาหารือ ให้ข่าวสารแก่พนักงานให้มากขึ้น
และระมัดระวังไม่ให้เกิดการทำงานที่เสี่ยงอันตราย และเพิ่มความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคนให้มากพอ
ี และประสบความสำเร็จในการทำงานทั้งปัจจุบันและอนาคต ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของทั้งองค์การและของพนักงาน คนทำงานแต่ละคนจะได้รับฝึกอบรมให้สำนึกว่าตนเอง เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน และให้ตระหนักว่าจะทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างไร มีความรู้สึกเอื้ออาทรต่อกันดุจญาติ
ด้วยการให้ความช่วยเหลือฝ่ายบุคคลในการวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพที่เหมาะสม เป็นที่พอใจของตนเอง และองค์การ
เกิดขึ้นในบริษัท บทบาทของเขาคืออะไร เขาจะทำงานให้ดีได้อย่างไร

แผนงานบุคคลที่ช่วยให้พนักงานผ่อนคลายความเครียด ที่มีผู้นำมาใช้ให้ได้ผลโดยทั่วไป คือ

1. สร้างวัฒนธรรมขององค์การที่ช่วยสร้างความกระตือรือร้นและความตึงเครียดในระดับที่พอจะรับได
2. พนักงานแต่ละคนจะถูกกำหนดบทบาทของตนเองให้ชัดเจน
3. ให้การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรแต่ละคนให้ทำงานให้ได้ผลด
4. พนักงานจะช่วยสานฝันให้เป็นจริง
5. ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่มีผลได้ผลเสีย หรือผลกระทบต่อตัวพนักงานเอง เขาจะต้องได้รับแจ้งว่ามีอะไร
6. จะไม่ละเลยที่จะสนองตอบความต้องการของพนักงานทั้งที่เป็นตัวเงิน และที่ไม่ใช่ตัวเงิน ซึ่งเป็นระบบการให้รางวัลที่เป็นธรรม และทั่วถึง
- การวิเคราะห์งาน
- การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
- การสื่อความ การสร้างแรงจูงใจ และรูปแบบของภาวะผู้นำ (วัฒนธรรมขององค์การ)
- การพัฒนาองค์การ
- การวางแผนอาชีพ และการพัฒนาอาชีพ
- การประเมินผลงาน
- ระบบค่าตอบแทนการทำงาน
แผนงานเสริมพิเศษ เพื่อดูแลสุขภาพของพนักงาน ได้แก่
- การจัดสถานที่ออกกำลังกาย
- การบำบัดยาเสพติดและพิษสุรา
- แผนงานช่วยเหลือพนักงาน
เทคนิคเฉพาะสำหรับบรรเทาความเครียด ที่ใช้กันแพร่หลาย
- การสะกดจิต Hypnosis
- การภาวนา หรือสมาธิ TM – Transcendental Meditation
- การใช้เครื่องมือฝึกให้พนักงานควบคุมตนเอง Biofeedback

แผนงานช่วยพนักงาน ( Employee Assistance Program )

แผนงานช่วยพนักงาน ( EAP ) เป็นวิธีการที่ใช้แพร่หลายในต่างประเทศที่ช่วยแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จครอบคลุมถึงปัญหา การครองชีวิตคู่ ความยากลำบากของครอบครัว ปัญหาผลงาน ความเครียด อารมณ์ และจิตใจ ปัญหาการเงิน การติดสุรา สารเสพติด ความซึมเศร้า เป็นต้น ปัจจุบันได้ให้ความสนใจปัญหาเรื่อง HIV AIDS มากขึ้น
ในการดำเนินการแผนช่วยเหลือพนักงาน บริษัทอาจจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญประจำบริษัท หรือส่งพนักงานไปรับ คำปรึกษาที่สำนักงานภายนอก โดยบริษัทออกค่าใช้จ่ายให้ รวมถึงการต้องให้คำปรึกษาปัญหาอื่นทางจิตวิทยาด้วย ผลที่ปรากฏ เห็นได้ชัด ก็คือ จำนวนวันขาด ลา มาสาย ลดลง โรคภัยไข้เจ็บจนพนักงานมาทำงานไม่ได้น้อยลง อุบัติเหตุลดลง และการเรียกร้อง เงินค่าทดแทนลดลง ( ซึ่งหมายความว่า บริษัทประหยัดเงินสมทบกองทุนลงได้ )
AIDS ( Acquired Immune Deficiency Syndrome ) เป็นโรคที่บั่นทอนทั้งร่างกายและจิตใจพนักงาน ทั้งคนที่มีเชื้อ HIV และเพื่อนพนักงานที่ต้องทำงานร่วมกับผู้ป่วย ทำให้เกิดความหวาดวิตกต่อการที่จะได้รับเชื้อ ไม่ใช่แต่จะสร้างความลำบาก ให้แก่ตนเอง แต่ยังอาจจะถ่ายทอดแพร่ไปสู่คนในครอบครัวอีกด้วย แม้จะมีการรณรงค์ไม่ให้รังเกียจผู้ประสบเคราะห์กรรม แต่ก็ได้ผลน้อย
คนทำงานจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะพนักงานระดับล่าง จะปล่อยปละละเลยกับปัญหานี้จนอาการรุนแรงเห็นได้ชัด ทำให้ยากแก่การรักษา

การสูบบุหรี่

ปัญหาพนักงานที่ติดบุหรี่และสูบบุหรี่ในสถานที่ทำงานได้ลดลงมาก เนื่องจากการกำหนดมาตรการไม่ให้ผู้ติดบุหรี่ สร้างความรำคาญ รบกวนเพื่อนร่วมงาน อย่างไรก็ตามเจ้าของกิจการที่ยังติดบุหรี่ก็ยังเอาใจใส่กับเรื่องนี้น้อยมาก จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคลที่จะต้องกำหนดมาตรการควบคุมโดยเข้มงวด เพราะนอกจากจะทำให้พนักงานที่ทำงานร่วมกันเกิดความเครียด ต้องทนควันบุหรี่ สุขภาพของพนักงานเสื่อมโทรมลงแล้ว ยังต้องได้รับโทษทางกฎหมายอีกด้วย บริษัทหลายแห่งจึงถือเป็นนโยบาย Smoke Free Office

การดื่มสุรา

ความเปลี่ยนแปลงการดำรงอื่นชีพของคนทำงานเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะเรื่องการดื่ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เบียร์ สุราที่ผสมเสร็จ ( RTD = Ready to Drink ) ซึ่งกำลังทำตลาดได้ดีขณะนี้ เป็นผลให้การควบคุม การติดสุรา ไม่เป็นเรื่องที่ได้รับความเอาใจใส่มากนัก
คนทำงานที่ติดสุราจนทำงานไม่ได้ ผลงานตกต่ำเป็นความสูญเสียทั้งแก่บริษัทและตัวพนักงานเอง บริษัทหลายแห่ง จึงเข้มงวดในเรื่องนี้ และพยายามแก้ไขปัญหา รักษาพนักงานให้พ้นจากการติดสุราเรื้อรัง

ศูนย์สุขภาพ

บริษัทจำนวนไม่น้อยเอาใจใส่กับสุขภาพของพนักงานอย่างจริงจัง เพราะเชื่อว่าสุขภาพที่ดีของพนักงานจะทำให้ผลงานดี จึงจัดให้พนักงานออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ บางบริษัทมีความจำกัดเรื่องสถานที่ ก็ทำความตกลงกับสโมสรสุขภาพ ให้พนักงานได้ ออกกำลังกาย โดยบริษัทออกค่าใช้จ่ายให้ส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด
พนักงานที่ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอจนเหนื่อย จะช่วยลดความเครียดที่เกิดจากการทำงาน หรือสภาพแวดล้อม หรือปัญหาในที่ทำงานให้ลดลงได้
บริษัทใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก ซึ่งมักจะจัดให้มีสโมสรสำหรับออกกำลังกายให้พนักงาน

Ergonomics

Ergonomics เป็นวิทยาศาสตร์ที่อธิบายว่าคนจะตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมการทำงานอย่างไร ซึ่งปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ เอาใจใส่มากขึ้น ไม่ใช่แต่คนทำงานปวดหลัง เพราะเก้าอี้หรือโต๊ะทำงานมีสัดส่วนไม่เหมาะกับตัวเขาเอง แต่ยังทำให้เกิดความเครียดในการทำงานอีกด้วย
ปัจจุบันผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมการทำงานมากขึ้น ต้องออกแบบสำนักงานให้เหมาะกับคน และเหมาะกับงานของเขา เพื่อช่วยให้ productivity สูงขึ้น คอมพิวเตอร์เป็นตัวสำคัญที่คนทำงานเจ็บป่วย เนื่องจากเกิดความเครียดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะตำแหน่งการวางอุปกรณ์ไม่เหมาะสม โดยหลักแล้ว Keyboard ควรจะอยู่ในระดับข้อศอก
แสงสว่างในสำนักงานก็เช่นเดียวกัน แสงสว่างที่เหมาะสมจะประกอบด้วย Indirect light ที่ไม่สว่างจ้าจนเกินไป ผสมกับแสงที่ส่องเฉพาะจุดที่ต้องทำงานทันทีทันใด ปัญหาที่พบในสำนักงานส่วนใหญ่ ก็คือ มีแสงสว่างจ้าเกินไป ต้องไม่มีแสงไฟส่องกระทบจอภาพคอมพิวเตอร์ตรง ๆ อุบัติเหตุจำนวนไม่น้อยเกิดจากแสงสว่างในที่ทำงานไม่เหมาะสม
โดยหลักแล้วถ้าจะให้ผลิตภาพสูงถึงที่สุด และความเครียดมีน้อยที่สุด จะต้องออกแบบสำนักงานให้ถูกหลัก Ergonomic และให้พนักงานได้มีเวลาพักบ่อย ๆ

คุณจะบรรเทาความเครียดได้อย่างไร

ความเครียดไม่ใช่จะเลวร้ายไปทั้งหมด คนทำงานที่สบายเกินไป ไม่เครียด productivity จะต่ำ เห็นตัวอย่างได้มาก ความเครียดที่พอจะรับได้ทำให้คนทำงานกระตือรือร้น ผลงานสูงทำให้คนต้องทำงานแข่งกัน
1) ต้องยอมรับว่าความเครียดเป็นของธรรมดาที่เกิดในชีวิต ต้องใช้ให้เป็นคุณแก่ตนเอง
2) ต้องรู้ว่าตนเองสนุกกับอะไร ทำงานอะไรจึงจะรู้สึกสนุก อย่าเอาใจใส่ต่อสิ่งที่ทำให้คุณเครียด จัดชีวิตประจำวัน ให้เป็นไปตามนี้
3) เมื่อถึงวันหยุด ต้องหยุดจริง ๆ เพื่อให้กระปรี้กระเปร่าเมื่อกลับไปทำงาน อย่าเอาความกังวลไปสุมต่อที่อื่นนอกที่ทำงาน
4) หาทางออกกำลังให้เหนื่อย การเล่นกีฬานอกจากจะช่วยให้สุขภาพดี แล้วยังทำให้สมองปลอดโปร่ง อย่ากลัวเหนื่อยเพราะการออกกำลัง
5) หาคนฟังเรื่องที่คุณต้องการระบาย เมื่อคุณอยู่ในสภาวะใกล้จะระเบิด การพูดจะช่วยระบายความกดดัน การสกัดกั้นตนเองจนเกินไปจะทำให้คุณเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ
6) สวดมนต์เพื่อตนเอง ถ้าสถานการณ์นั้นคุณแก้ไขเองไม่ได้ เอาทางพระเข้าข่ม อย่ายึดมั่น เมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับ ไม่มีอะไรยั่งยืนถาวรตลอดไป “หลังฝนตก ท้องฟ้าก็จะสว่างไสว”
7) มองหาอะไรทำที่คุณสนใจหรืองานอดิเรก ถ้าคุณทำอะไรที่เพลิดเพลิน สมองของคุณจะได้พัก
8) คิดว่าอะไรเป็นอาหารที่ควรรับประทาน ต้องถูกหลักหลักโภชนาการด้วย หลีกเลี่ยง caffeine เพราะจะเพิ่ม ความตึงเครียด น้ำตาลก่อนนอน ทำให้หลับง่าย
9) จัดเวลาให้ดี อย่าเคร่งครัดกับกำหนดเวลา เปลี่ยนชีวิตประจำวันให้คุณมีเวลาพักผ่อน และทำอะไรก็ได้ที่อยากจะทำ
10) อย่าให้ยา ยาเสพติด หรือ ดื่มเพื่อให้ลืมปัญหา เพียงแต่ซ่อนปัญหาไว้ชั่วคราว ปัญหานั้นต้องแก้ที่สาเหตุ
11) ทำสมาธิวันละครั้งหนึ่ง หรือสองครั้ง ครั้งละ 10 – 20 นาที
       - เพ่งสมาธิที่สิ่งที่คุณชื่นชม หรือถ้อยคำที่ซึ้งใจ
       - หลับตา นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย
       - ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเพ่งที่กล้ามเนื้อตั้งแต่ศีรษะจดเท้า
       - หายใจเข้าและออกช้าๆ ในขณะที่เพ่งสิ่งที่คุณชื่นชม หรือถ้อยคำที่ซึ้งใจ
       - อย่ากังวลกับเทคนิคการทำสมาธิ
       - ทำซ้ำ ๆ กัน ตลอดในใจของคุณ
12) ต้องเรียนที่จะปฏิเสธคนให้เป็น ไม่ให้งานล้นมือ และทำให้เวลาของคุณไม่มีเหลือ
13) กระจายความรับผิดชอบ มอบงานให้คนอื่นที่เขาก็ทำได้ ให้รับไปทำเสียบ้าง ลูกน้องของคุณจะทำงานเป็นได้อย่างไร ถ้าคุณไม่เคยมอบให้เขาทำเสียเลย คุณจะมีเวลาเพื่อจะติดต่อ และวางแผนเตรียมงานมากขึ้น
งานที่คุณควรให้คนอื่นทำก็ได้ เช่น งานประจำวัน ( Routine ) งานเก็บข้อมูล การร่วมประชุมที่ไม่ใช่เรื่อง ความเป็นความตาย

การใช้ยาระงับความเครียด ( Tranquillisers )

เนื่องจากความเครียดเป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย นอกจากนั้นยังส่งผลให้พฤติกรรมของคนทำงานเปลี่ยนไป ตามที่กล่าวไว้ตอนต้น เช่น อาการหงุดหงิด อารมณ์เสีย ควบคุมตนเองไม่ได้ นอนไม่หลับ ทำให้เกิดผลเสียแก่การทำงาน ดังนั้น คนทำงานจำนวนไม่น้อยจึงระงับอาการด้วยการใช้ยากล่อมประสาท ซึ่งแพร่หลายในเมืองไทยทั้ง Major และ Minor Tranquilisers เมื่อรับประทานยานี้แล้วจะทำให้อารมณ์เยือกเย็น ลดความตื่นเต้น ลดความเครียด หรือหงุดหงิด กล้ามเนื้อผ่อนคลาย อาจเกิดอาการง่วงนอนได้ แต่ไม่ใช่ยานอนหลับ
บางคนอาจรับประทานยานี้ก่อนเข้าประชุม หรือเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด มีทั้งขนาด 5 –10 มิลลิกรัม เช่น Tranxene , Valium , Serene ใช้ระงับอาการตื่นเต้น เครียด ใช้รับประทานก่อนนอน หรือวันหนึ่งไม่เกินสามครั้ง อย่างไรก็ตามยานี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคบางอย่าง ฉะนั้นเมื่อจะใช้จึงควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อน การใช้ยาเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น
* ที่มา : TIMS 3/93 หน้า 41 f

แง่มุมกฎหมาย

กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขึ้นเป็นองค์กรไตรภาคี มีผู้แทนสามฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ฝ่ายละเจ็ดคน เพื่อออกระเบียบเป็นกฎกระทรวงให้นายจ้างต้องปฏิบัติ (พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 100 – 103)
นอกจากนั้นยังกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการตรวจสุขภาพทุกปี และส่งผลการตรวจสุขภาพให้แก่ พนักงานตรวจแรงงานอีกด้วย * (พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 107)
อย่างไรก็ตามการตรวจสุขภาพคนทำงานนั้น ไม่มีรายละเอียดว่าจะต้องตรวจอะไรบ้าง โดยเฉพาะไม่รวมถึงความเครียด ที่เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุที่พบอยู่เนื่องๆ

ข้อคิดสุดท้าย

หากบริษัทเห็นความสำคัญในเรื่องที่กล่าวข้างต้น จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์และแผนงานในการคลายเครียดให้น้อยลง แต่ไม่ใช่จะให้หมดไปเสียทั้งหมด มีสองแนวทางคือ 1) คนทำงานแต่ละคนจะต้องเรียนรู้ว่าความเครียดคืออะไร ต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมความเครียด และบรรเทาความเครียดในการดำรงชีพ 2) บริษัทโดยเฉพาะฝ่ายบุคคล จะต้องทบทวนกระบวนการการบริหารบุคคล รูปแบบสไตล์การจัดการ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อที่จะลดความเครียดที่จะเกิดแก่คนทำงาน แผนงานเหล่านี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายจัดการ โดยเฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น โดยฝ่ายบุคคลจะต้องแสดงให้ฝ่ายจัดการเห็นว่า ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น คุ้มค่า เมื่อเทียบกับความสูญเสีย อันเนื่องจากความเครียดดังที่กล่าวในตอนต้น
 

อ่านตอนที่ 1    

ที่มา : Business Management Co.,Ltd.


อัพเดทล่าสุด