แนวโน้มและนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์


892 ผู้ชม


แนวโน้มและนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์




จากการสำรวจองค์กรสมาชิกของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2545 จำนวน 318 องค์การ พบว่า           

1. ความท้าทายในอดีต 3 ปีที่ผ่านมาของ HR 5 อันดับแรก

-          การบริหารผลงาน

-          การจัดการความเปลี่ยนแปลง

-          การสรรหาและว่าจ้าง

-          การพัฒนาภาวะผู้นำ

-          การพัฒนาองค์การ

2. ความท้าทาย 5 อันดับแรกในปัจจุบัน คือ

-          การบริหารผลงาน

-          ค่าตอบแทนและสวัสดิการ

-          การพัฒนาภาวะผู้นำ

-          การพัฒนาองค์การ

-          การจัดการความเปลี่ยนแปลง

3. แนวโน้มและความท้าทายในอนาคต 5 อันดับแรก คือ

-          การจัดการความเปลี่ยนแปลง

-          การพัฒนาองค์การ

-          การเรียนรู้และพัฒนา

-          การบริหารผลงาน

-          การวางแผนสืบทอดตำแหน่งงานอย่างไรก็ตามวิทยากรมีบทสรุปของตัวเองว่า บทบาทของ HR ยังมี 4 สาระสำคัญที่คงอยู่ ดังภาพข้างล่าง

 แนวโน้มและนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์


ภาพที่ 5 บทบาทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์           

จากภาพที่ 5. จะเห็นว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์มี 4 บทบาทหลัก คือ

-          นักแรงงาน ซึ่งเป็นบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานกับองค์การ

-          Personnel เป็นบทบาทบริหารงานประจำวันด้านทรัพยากรมนุษย์

-          Human Resource เป็นบทบาทการจัดการทรัพยากรบุคคลในฐานะ Strategic Resources กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องสนับสนุนกลยุทธ์องค์การ

-          Human Capital เป็นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในฐานะสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ซึ่งนับวันแต่จะเกิด Value สูงสุด ในองค์การที่ต้องใช้ความรู้เป็นฐาน( Knowledge Based Organization)วิทยากรมีความเห็นว่าในยุคก่อน ๆ บทบาทของ HR ให้น้ำหนักอยู่กับการเป็นนักแรงงานและ Personnel จนปัจจุบันแม้ HR จะพยายามสร้างสองบทบาทหลังมากขึ้นแต่สองบทบาทแรกก็ยังคงปรากฏอยู่ในงานบริหารทรัพยากรบุคคลอยู่นั่นเองนอกจากนั้นยังได้ประมวลความเห็นของนักวิชาการต่าง ๆที่มีต่อบทบาทของ HR ไว้เพิ่มเติม ดังนี้

-          ความรับผิดชอบในการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน

-          ผลักดันความสำเร็จขององค์การ

-          จัดการกับความหลากหลายในองค์การ (Diversity Manager)

-          รับผิดชอบต่อทุนมนุษย์ ซึ่งเรียกบทบาทนี้ว่า Human Capital Manager

-          เป็น Chief Effectiveness Officer อันเป็นบทบาทการจัดการองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

 บทความโดย : ดร. เลิศชัย - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เลิศชัย สุธรรมานนท์


อัพเดทล่าสุด