บริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ


777 ผู้ชม


บริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ




วิทยากรมองศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็น Interdisciplines กล่าวคือ เป็นการประสมประสานวิทยาศาสตร์วิทยาการสาขาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ดังนี้

 บริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ

       

                                  ภาพที่  4  HRM&D  as  The  Interdiscplines

จากภาพข้างต้นแสดงให้เห็นว่าวิทยาการด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นศาสตร์ที่บูรณาการจากศาสตร์อื่น 8 สาขา คือ

-          สถาปัตยกรรม (Architect) เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบจัดวางโครงสร้าง องค์ประกอบต่าง ๆ

-          การศึกษา (Education) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HRD ได้ยืมเรื่องของการเรียนรู้ (Learning) มาใช้อย่างมาก

-          วิศวกรรม (Engineer) HRM&D ได้ยืมใช้ศาสตร์สาขานี้ในด้านการวัด การจัดระบบงาน

-          จิตวิทยา (Psychology) HRM&D ใช้ศาสตร์สาขานี้ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ในรายบุคคล และพฤติกรรมองค์การ

-          การเงินบัญชีและเศรษฐศาสตร์ HRM&D ได้ยืมใช้ศาสตร์สาขานี้ในการมองหาคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้จากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเป็นที่มาของแนวคิดในการบริหาร Human Capital (ผู้เสนอรายงาน)

-          การตลาด HRM&D นำหลักทางการตลาดในระบบการทำงานให้สามารถบริการแก่กลุ่มเป้าหมาย เกิดการยอมรับ รวมถึงการใช้เพื่อกำหนดคุณค่าที่แต่ละ Stakeholder ควรจะได้รับ

-          การสื่อสารและศิลปะ (Communication and Art) HRM&D ใช้ศาสตร์สาขานี้ในภารกิจที่สำคัญคือ การเป็นนักสื่อสารที่สามารถสร้างความเข้าใจ การยอมรับ อย่างมีสีสันให้เกิดขึ้นในองค์การ

-          กฎหมายและรัฐศาสตร์ เนื่องจากบุคคลได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายในฐานะสมาชิกของสังคม อยู่ภายใต้ระบบของการปกครองที่มีหลักการเฉพาะ ความคุ้มครองนี้มีอยู่ในตัวของบุคคลตลอดเวลา แม้อีกสถานะหนึ่ง บุคคลจะเข้ามาเป็นสมาชิกขององค์การก็ตาม ดังนั้น ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงไม่สามารถละเมิดกฎหมาย และหลักการทางการปกครองในสังคมนั้น ๆ ได้ อีกมิติหนึ่งมาตรการทางกฎหมาย และการปกครองยังเป็นผลกระทบที่ส่งกลับเข้าไปในองค์การ และระบบในการบริหารทรัพยากรมนุษย์อีกด้วยนอกจากนัก HRM&D จะใช้สหวิทยาการข้างต้นแล้ว ในทางการบริหารงานทรัพยากรบุคคล นัก HR ต้องเป็นนักสร้างนวัตกรรม กล่าวคือ ในแง่ของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลก็คือ การทำให้บุคคลมีนวัตกรรม การทำให้ระบบองค์การมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมในองค์การจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ศาสตร์สาขาต่าง ๆ ข้างต้นจึงควรถูกใช้ควบคู่กับวิธีคิดที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมในองค์การ กล่าวคือ การคิดแบบ :

-          Critical Thinking

-          Initiative Thinking

-          Creative Thinking

-          System Thinking

-          Integrative Thinking

-          Application Thinking เป็นต้น           

 บทความเขียนโดย : ดร. เลิศชัย - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เลิศชัย สุธรรมานนท์

อัพเดทล่าสุด