การประเมินสมรรถนะ การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecard)


861 ผู้ชม


การประเมินสมรรถนะ การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecard)




การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR  Scorecard) หรือ การประเมินสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล คือ เครื่องมือสำหรับการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้วยระบบการติดตามและประเมินผลการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล ตาม กรอบมาตรฐานความสำเร็จด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ๕ มิติ

องค์กรสมัยใหม่ ในสังคมเศรษฐกิจ ที่เน้นองค์ความรู้ ถือว่า ทรัพยากรบุคคล อันเป็นทรัพย์สินขององค์กรนั้น มีสภาพเป็นทุน ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารและการสร้างคุณค่าให้องค์กร และ ทรัพยากรบุคคล ถือเป็นสิ่งที่เข้าใจและบริหารได้ยากที่สุด ตลอดจนวัดและประเมินได้ยากที่สุดในกระบวนการบริหารทั้งหมด
การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR  Scorecard) หรือ การประเมินสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล คือ เครื่องมือสำหรับการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้วยระบบการติดตามและประเมินผลการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล ตาม กรอบมาตรฐานความสำเร็จด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ๕ มิติ ซึ่งประกอบด้วย
๑.       ความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ 
๒.     ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล
๓.     ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล
๔.     ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล    
๕.   คุณภาพชีวิต : ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน


โดยมีกรอบดำเนินงานดังนี้


  ความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์


  ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล

  - กิจกรรมและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล มีความถูกต้องและทันเวลา
  - ระบบฐานข้อมูลถูกต้อง เที่ยงตรงและทันสมัย
  - สัดส่วนค่าใช้จ่ายของกิจกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลต่องบประมาณรายจ่าย เหมาะสม สะท้อนผลิตภาพและคุ้มค่า
  - นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้


ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล

  - การรักษาข้าราชการที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมาย
 -  ความพึงพอใจของข้าราชการ ต่อ นโยบาย มาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
-  การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนา
 - การมีระบบการบริหารผลงาน และมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่เน้นประสิทธิผล ซึ่งเชื่อมโยงกับผลตอบแทน

คุณภาพชีวิต
: ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน
 - ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน และระบบงาน
-การจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมจากสวัสดิการที่กฎหมายกำหนด
- ความสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายบริหารกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและระหว่างข้าราชการกับผู้ปฏิบัติงานด้วยกันเอง

 
ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
- การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและผลของการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และการ
      ดำเนินการทางวินัย บนหลักการของความสามารถ  หลักคุณธรรม  หลักนิติธรรม  หลักสิทธิมนุษยชน
- ความโปร่งใสของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลและความพร้อมให้มีการตรวจสอบ
 
ที่มา : สมาชิกเว็บไซต์


 - นโยบาย แผนงานและมาตรการ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
 - มีการวางแผนบริหารกำลังคน
 - มีการบริหารกำลังคนกลุ่มที่มีทักษะและสมรรถนะสูง
  - มีการสร้าง พัฒนาและสืบทอดของตำแหน่งบริหาร

อัพเดทล่าสุด