บทบาทและความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในปัจจุบัน


774 ผู้ชม


บทบาทและความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในปัจจุบัน




บทบาทและความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในปัจจุบัน

 

 

 

เนื่องจากสภาพโลกเศรษฐกิจแบบไร้พรมแดนในปัจจุบัน ได้ทำให้ทุกองค์กรต้องเร่งปรับตัวและสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยต้องมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับกิจการระดับโลก ซึ่งการจะทำดังกล่าว ผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์จะต้องสามารถทำหน้าที่ช่วยผู้บริหารระดับสูงในการบริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยการขยายและเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของตน จากการเป็นฝ่ายช่วยบริหารงานทั่วไปและทำงานด้านเทคนิคบริหารงานบุคคล (Administrative/Technical)  โดยเปลี่ยนมาเป็นบทบาทใหม่ที่สำคัญต่อสภาพการบริหารการเปลี่ยนแปลงและการต้องเผชิญกับการแข่งขันด้วยรูปแบบ 2 รูปแบบ คือ

 

การเป็นผู้บริหารทางธุรกิจ (Business Manager)  โดยบทบาทสำคัญ จะทำงานด้านกลยุทธ์เป็นหลัก โดยการปฏิบัติจะมุ่งเน้นที่การประสานงานาการทำธุรกิจ และประสานแผนงา/โครงการกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ วัตถุประสงค์อันเป็นจุดมุ่งที่ใช้วัดผลสำเร็จก็คือ  ผลสำเร็จต่างๆ และความผูกพันของพนักงาน ซึ่งตำแหน่งชื่อเรียกอาจเป็นผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR Manager)  ก็ได้

 

การเป็นที่ปรึกษา (Consultancy) โดยมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาภายใน (Internal Consultant)  โดยมุ่งให้บริการตามข้อตกลงที่วางไว้ทำงานตามโครงการต่างๆ การพัฒนาองค์การ การติดตามวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์เหตุการณ์ภายนอก การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ การประสานผลประโยชน์ให้เกิดความสมดุลกับกลุ่มต่างๆ ทั้งนี้วัตถุประสงค์ที่เป็นจุดมุ่ง คือ การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการ การสร้างความคล่องตัวในการปฏิบัติตอบ (organization responsiveness) ซึ่งตำแหน่งชื่อเรียกอาจเป็น ผู้อำนวยการด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR Director)  หรือ ผู้จัดการฝ่ายบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Manger) ก็ได้สุดแล้วแต่จะนิยม

การบริหารงานบุคคล

การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์

 

 

ผู้จัดการด้านบุคคล

ผู้จัดการทางธุรกิจ

ที่ปรึกษาภายใน

บทบาทมุ่งเน้น

สนับสนุนและช่วยผู้บริหารในสายงานและวางนโยบายบุคคลธุรการ ช่วยบริหารระเบียบ และเทคนิคกับพิธีการต่างๆ

ทางด้านกลยุทธ์

 

การสร้างระบบประสานงานสอดคล้องและเข้าได้กับแผนงานต่างๆ ทางธุรกิจ

ให้บริการปรึกษาภายใน

 

ทำสัญญาข้อตกลง ทำโครงการ/พัฒนาองค์กร/ ช่วยการเปลี่ยนแปลง / ติดต่อภายนอก /การสร้างเครือข่าย / การประสานประโยชน์

วัตถุประสงค์

ให้บริการและช่วยเหลือพนักงานกับผู้บริหาร/ สร้างความเข้าใจ / จัดสิ่งจำเป็นให้สอดคล้องกับ กฎหมาย

มุ่งสร้างผลสำเร็จและทำให้พนักงานมีความผูกพัน

 ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง/ทำให้องค์การมีความคล่องตัว มีระบบปฏิบัติฉับไว

ชื่อเรียกตำแหน่ง

ผู้บริหารด้านบุคคล

ผู้บริหาร/ผู้อำนวยการด้านทรัพยากรมนุษย์

ผู้อำนวยการด้านทรัพยากรมนุษย์ / ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง

 

 

ที่มา :  รองศาสตราจารย์ ธงชัย  สันติวงษ์


อัพเดทล่าสุด