หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล


3,898 ผู้ชม


หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล




    

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล

 

 

จะเป็นกระบวนการปฏิบัติที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญๆ ที่เกี่ยวพันกันดังนี้

 

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล  การออกแบบงานและการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน(Task specialization process)  คือขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการกำหนดเป้าหมายขององค์การที่จะมาถึงขั้นแรกของการบริหารงานบุคคล คือ การวางแผนองค์การ (organization planning)  และการอกแบบงาน (Job design)  ซึ่งต้องทำการวิเคราะห์งาน (Job analysis)  จะเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของกิจกรรมที่ต้องทำในขั้นนี้

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล  การวางแผนกำลังคน (manpower planning process)  คือขั้นตอนของการวิเคราะห์เพื่อทราบชนิดและจำนวนตำแหน่งงาน และบุคคลที่ต้องการเพื่อจัดเป็นแผนกำลังคนขององค์การ ซึ่งจะนำไปสู่การเริ่มต้นขั้นตอนแรกของการหาคนมาบรรจุ

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล  การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน (recruitment and selection process)  การมีวิธีการสรรหาบุคคล (recruitment) ก็เพื่อให้ได้บุคคลที่พึงประสงค์ที่สุด และการมีวิธีการคัดเลือกคน (selection) เพื่อให้ได้คนที่ดีมีคุณสมบัติและจำนวนตรงตามที่จำนวนตำแหน่งงานต่างๆ

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล  การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน (induction and appraisal-process)  คือขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากขั้นตอนที่ 2 ที่จะต้องเริ่มส่งมอบคนทำงานด้วย กิจกรรมขั้นแรกสุดที่ต้องทำ คือ  การแนะนำเพื่อบรรจุหรือการส่งมอบคนทำงานด้วย  กิจกรรมขั้นแรกสุดที่ต้องทำ คือ การแนะนำเพื่อบรรจุหรือการปฐมนิเทศ (induction or orientation)  ซึ่งพนักงานใหม่จะเริ่มเข้าทำงานในช่วงแรกของการทดลองงานและเรื่อยไปจนมีการบรรจุ (placement) ซึ่งมีประสิทธิภาพของระบบการบริหารบุคคลที่จะมีกลไกในการติดตามกำกับให้แน่ใจว่าทรัพยากรทีมีอยู่นั้นได้มีประสิทธิภาพดีอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ต้องทำเป็นระยะตามเวลาต่อเนื่องกันก็คือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน (performance evaluation)  นอกจากนี้ หลังจากที่ได้ทราบผลการปฏิบัติงานแล้ว เพื่อการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดขึ้นจากความแตกต่างของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ก็จะต้องดำเนินการโดยมีการเลื่อนขั้นโยกย้ายหรือลดตำแหน่ง

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล  การอบรมและพัฒนา (training and development process)  คือขั้นตอนที่เป็นหน้าที่สำคัญที่ต้อมีอยู่ตลอดเวลาทุกขณะที่มี(training)  และการพัฒนา (development)  ซึ่งหมายถึงกิจกรรม หรือหน้าที่งานทางการบริหารบุคคลที่จัดทำขึ้นมุ่งที่จะให้มีการเสริมความรู้ ความสามารถตลอดจนความชำนาญให้มีขึ้นในตัวพนักงาน เพื่อที่จะให้แน่ใจได้ว่าคุณภาพของตัวพนักงานจะไม่ตกต่ำลงเพราะผลอันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านเทคนิค วิธีการผลิต  และเงื่อนไขของปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น  ตลอดจนการช่วยให้พนักงานมีความเติบโตก้าวหน้าทันโลก

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล การจ่ายตอบแทน (compensation process)  คือกิจกรรมทางด้านการหาวิธีและทำการจ่ายผลตอบแทนพนักงานด้วยผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้พนักงานได้รับความพอใจมากพอสมเหตุผล และเพียงพอในระดับที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจขึ้นในตัวพนักงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดกำลังใจที่ดีและทำให้ผลผลิตสูงขึ้น งานเหล่านี้ก็คืองานที่เกี่ยวกับการบริหารค่าจ้างเงินเดือน  ตลอดจนผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล  การทะนุบำรุงรักษาด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์  (health, safety, maintenance, process and labor relations)  เพื่อการรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพนักงานและบริษัท การต้องคอยดูแลทั้งเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ย่อมเป็นงานอีกด้านหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง และมีแผนงานและวิธีปฏิบัติทางด้านนี้ครบตามสมควร  ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งกิจกรรมที่จะมีไว้นี้ก็เพื่อคอยป้องกันแก้ไข และเสริมสร้างความสัมพันธ์ทั้งด้านการดูแลเอาใจใส่ตมปกติ และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่านายจ้างและพนักงาน ตลอดเวลาจะต้องสร้างความมีระบบของการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายให้ตั้งบนฐานที่มีความหวังดีและเจตนาที่ดีต่อกัน  ทั้งนี้ก็เพื่อความราบรื่นในการอยู่ร่วมกัน

หน้าที่งานด้านการบริหารงานบุคคล  การใช้วินัย และการควบคุม ตลอดจนการประเมินผล(discipline, control and evaluation process)  ในขั้นนี้ก็คือ การต้องมีการรักษากติกา ด้วยวิธีการดำเนินการทางวินัยที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเสียหายและให้ความเป็นธรรมแก่พนักงาน ซึ่งก็ย่อมหมายถึงการต้องมีกลไกในการควบคุมติดตามและประเมินผลประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานบุคคลให้ครบถ้วนทุกหน้าที่งานและทุกขอบเขตขงกิจกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในด้านความสำเร็จผลทางด้านกรบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบให้ดีอยู่ตลอดเวลานั่นเอง  ในที่นี้การต้องคอยวิจัยค้นคว้าและพัฒนาเทคนิควิธีการที่ใช้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก็ต้องกระทำเป็นประจำด้วย

 

ที่มา :  รองศาสตราจารย์ ธงชัย  สันติวงษ์

อัพเดทล่าสุด