การใช้ Sub - Contract ด้านกำลังคน ควรใช้หรือไม่ควรใช้
ปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ได้หันมาใช้ Sub – Contract ด้านกำลังคนกันมาก โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่ตำแหน่ง พนักงานทำความสะอาด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และแพทย์-พยาบาลประจำบริษัทเท่านั้น แต่ได้ขยายไปถึงพนักงานผลิต พนักงานขับรถ พนักงานขนส่งสินค้า และพนักงานทั่วไป ตำแหน่งต่าง ๆ เป็นต้น
เหตุที่เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจาก ความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจ การตลาด มีความเสี่ยงสูงขึ้นจึงต้องค้นหาวิธีการในการเพิ่มคนและลดคนที่คล่องตัวที่สุดกับสภาวะนั้น ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้างานมากก็เพิ่มคนง่าย ถ้างานลดก็ลดคนง่ายโดยเกิดผลกระทบกับบริษัทน้อยที่สุด ประกอบกับสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้นขึ้นทั้งจากคู่แข่งภายในและภายนอกประเทศ ใครที่มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่ต่ำกว่าย่อมได้เปรียบคู่แข่งที่มีต้นทุนที่สูงกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ แนวโน้มการใช้ Sub – Contract ด้านกำลังคนจึงขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ดีการใช้บริการด้านนี้ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แต่ละกิจการจะต้องศึกษาอย่างท่องแท้ ปรับข้อดีของ Sub – Contract ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิธีป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อจำเป็นต้องใช้บริการด้านนี้
ข้อดี ข้อเสีย
-
- อัตราการออกจากงานและการหยุดงานของลูกจ้างแบบ Sub – Contract สูงมากทั้งนี้เพราะลูกจ้างของ Sub – Contract ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่น้อยกว่าลูกจ้างของบริษัทผู้ว่าจ้าง ในขณะเดียวกันความมั่นคงในการทำงานก็มีน้อยกว่า จะถูกเลิกจ้างหรือโยกย้ายไปทำในสถานที่อื่นเมื่อไหร่ก็ได้
- ถ้าควบคุมปัญหา…ไม่ดีปัญหาที่ตามมาคือปัญหา “คุณภาพของผลผลิต” ทั้งนี้เพราะคนงานเปลี่ยนหน้าที่บ่อย ฝีมือย่อมไม่เท่ากัน การควบคุณคุณภาพให้สม่ำเสมอจะเป็นไปได้ยาก
- ลูกจ้างของบริษัท Sub – Contract มักจะรู้สึกว่าตนเป็นลูกจ้างชั้น 2 ของบริษัทผู้ว่าจ้าง ขวัญกำลังใจ และการทุ่มเทในการทำงานให้กับบริษัทผู้ว่าจ้างก็จะมีน้อยกว่า
- สหภาพแรงงานมักต่อต้านวิธีการใช้ Sub – Contract ด้านแรงงาน ทั้งนี้เพราะมาแย่งงานของลูกจ้างประจำ ทำให้รายได้ลดลงเพราะขาดค่าล่วงเวลา
- พนักงานอาจรู้สึกถูกคุกคามจากบริษัทได้ เช่น เลิกจ้างพนักงานประจำแล้วไปจ้างพนักงาน Sub – Contract
- หากความไม่มั่นคงด้านจิตใจมีสูง อาจจะเป็นชนวนก็ให้พนักงานจัดตั้งสหภาพแรงงาน
- หากบริษัท Sub – Contract นั้นไม่ดี ขาดความรับผิดชอบต่อลูกจ้างของตนเอง เช่นไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชย เมื่อเลิกจ้าง เป็นต้น
ลูกจ้างของบริษัท Sub – Contract นั้นจะฟ้องร้องเอากับบริษัทผู้ว่าจ้างได้เพราะเข้าข่ายมาตรา 5 (3) ซึ่งถือว่าบริษัทผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้างของลูกจ้างบริษัท Sub – Contract ด้วย (ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดต่อไป)
จะเห็นได้ว่าการใช้ Sub – Contract ด้านกำลังคนมีทั้งข้อดีหลายประการและก็มีข้อเสียหลายประการเช่นกัน ดังนั้น การจะใช้ Sub – Contract ให้ได้พอดี สิ่งที่ควรคำนึงถึงจึงมีหลายประการ เช่น :-
-
- ควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของกิจการว่าเป็นอย่างไร เช่นหากต้องการลดต้นทุน ต้องกาควบคุมกำลังคนประจำของบริษัท หรือได้งานเพิ่มเฉพาะเรื่องหนึ่ง ๆ เท่านั้น บางวันรับพนักงานประจำ การลดคนเมื่องานขยายอาจมีปัญหา เป็นต้น ลักษณะนี้การใช้ Sub – Contract ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมทางหนึ่ง
- ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการใช้ Sub – Contract กำลังคนกี่เปอร์เซ็น ในงานด้านไหนบ้าง ทั้งนี้เพื่อที่สหภาพแรงงานหรือพนักงานของบริษัทรู้สึกชัดเจนในนโยบายของบริษัทว่าจำเป็นต้องใช้ Sub – Contract ในงานอะไรบ้าง เพราะอะไร ขอบเขตแค่ไหน ความชัดเจนนี้จะไม่ทำให้พนักงานหรือสหภาพรู้สึกถูกคุกคาม
- ควรหลีกเลี่ยงใช้ Sub – Contract ในงานที่เกี่ยวกับความลับและเทคโนโลยีที่สำคัญของกิจการ งานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ หรืองานที่อาจก่อผลกระทบต่อกิจการของบริษัทได้มาก
- ไม่ควรใช้ Sub – Contract ด้วยเหตุผล…ที่เป็นลบ เช่น ต้องการตัดกำลังสหภาพแรงงาน ทั้งนี้เพราะจะเป็นการก่อให้สหภาพแรงงานมองบริษัทในแง่ลบ ซึ่งย่อไม่เป็นผลดีในยุคที่บริษัทและพนักงานต้องร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ
- ต้องเลือกบริษัท Sub – Contract ที่ดีมีความรับผิดชอบสูง ทั้งนี้เพราะถ้าได้บริษัท Sub – Contract ที่ไม่ดี เอาเปรียบลูกจ้างของตนเอง เช่น จ่ายค่าแรงต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ไม่จ่ายค่าแรงในวันลาป่วย วันหยุดประเพณี ไม่มีประกันสังคม ไม่มีกองทุนเงินทดแทน ไม่มีวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือเลิกจ้างก็ไม่จ่ายค่าชดเชย เป็นต้น เหล่านี้จะทำให้ลูกจ้างที่ถูกส่งเข้ามาทำงานในกิจการของเราไม่มีคุณภาพ ขวัญกำลังใจต่ำ เข้า – ออกจากงานสูงหรือที่ร้ายกว่านั้น อาจนำคดีมาฟ้องร้องต่อบริษัทของเราก็เป็นได้