เทคนิคมือโปรสัมภาษณ์งานแบบชัวร์ (ต่อ)


678 ผู้ชม


เทคนิคมือโปรสัมภาษณ์งานแบบชัวร์ (ต่อ)




หากคุณมีนัดสัมภาษณ์งานเร็ว ๆ นี้ แน่ใจหรือว่างานนี้จะเป็นของคุณ คุณอาจคิดว่าความสามารถและใบปริญญาบวกกับความมั่นใจ และเป็นตัวของตัวเองน่าจะพอ อย่าเพิ่งด่วนสรุป! การสัมภาษณ์งานอาศัยทักษะและการเตรียมตัวมากกว่าที่คิด
นัดสัมภาษณ์งานคือ ช่วงเวลา 15-60 นาทีของการแนะนำตัวเองต่อคนแปลกหน้าซึ่งเดิมพันด้วยความสุข และความก้าวหน้าของคุณในอนาคต คุณจะได้งานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลานี้ ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่คุณจะนำเสนอตัวเองอย่างไรถึงจะโดดเด่นเหนือผู้แข่งขันรายอื่น และทำให้ผู้สัมภาษณ์มั่นในว่าคุณน่าจะเป็นผู้ร่วมงานที่ดี แน่นอนว่าคุณต้องแสดงตัวในด้านที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับตำแหน่งที่คุณต้องการนั้นมากที่สุด ส่วนคำแนะนำที่บอกต่อ ๆ กันมาว่าให้คุณเป็นตัวของตัวเองที่สุดนั้นใช้ไม่ได้กับนัดสัมภาษณ์งาน ดังนั้นคลีโอจึงคัดสรรวิธีที่นำเสนอตัวตนที่ดีที่สุดในเวลาไม่กี่นาที่มาฝากคุณๆ เพื่อพิชิตงานนี้

ประสบการณ์น้อย
ควรบอกว่าคุณมีประสบการณ์ที่จำเป็นต่องานนี้โดยไม่ต้องผ่านงานประจำมาก่อนเช่น คุณเคยผ่านงานพิเศษสมัยเรียน เคยร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหรือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรต่าง ๆ และถึงแม้ว่าประสบการณ์นั้นจะไม่สัมพันธ์กับงานที่ต้องการนี้เลยก็ตาม คุณก็ได้เรียนรู้ทักษะบางอย่างที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคตเช่นทักษะการทำงานเป็นทีม หรือทักษะการตัดสินใจที่เด็ดขาดฉับไว

เรียนอย่างเดียว...
ในกรณีที่คุณเอาแต่เรียนอย่างเดียว ไม่เคยร่วมกิจกรรมใดๆ เลย คุณก็มีหนทางเดียวที่จะแก้จุดด้วยนี้คือแสดงให้เห็นว่าการเรียนก็เป็นประสบการณ์การทำงานอย่างหนึ่ง เช่น คุณมีประสบการณ์ที่ต้องทำงานส่งให้ทันกำหนดเส้นตาย หรือคุณผ่านการทำรายงานชิ้นสำคัญๆ มาแล้วหลายชิ้น คุณผ่านการนำเสนอรายงานต่อหน้ากลุ่มคนอย่างน้อยก็หนึ่งครั้ง จึงมีทักษะในการสื่อสารกับคนหมู่มาก และที่สำคัญคุณต้องพยายามให้นายจ้างเห็นว่าคุณอยากเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ จากงานที่ต้องการนี้เหลือเกิน

ผลการเรียนต่ำ
แทนที่จะสารภาพว่าคุณอ่อนวิชานั้นวิชานี้หรือยืนยันว่า GPA ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หรือแก้ตัวไปน้ำขุ่นๆ คุณควรอย่างยิ่งที่จะให้เหตุผลว่าคุณต้องทำงานหาค่าขนม และค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียนเพื่อไม่ต้องรบกวนผู้ปกครอง ถึงเกรดของคุณไม่สูงแต่คุณก็มีประสบการณ์จากชีวิตจริงอย่างโชกโชน หรือเน้นย้ำว่าความสำเร็จของการศึกษาและในการทำงานต้องการสิ่งอื่นมากกว่าแค่เกรดสูงอย่างเดียว คุณมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมอื่นๆ มาชดเชย หรือชี้ให้เห็นว่าในวิชาเอกของคุณนั้นคุณได้คะแนนดีแค่ไหน

 ร่วมกิจกรรมน้อย
ถ้าถูกถามว่าทำไมถึงไม่ค่อยร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยมากนัก คุณก็ควรบอกว่าต้องเรียนหนังสือหนักมาก และยังทำงานพิเศษไปด้วย จากนั้นก็รีบอ้างถึงประสบการณ์การทำงานต่างๆ ของคุณระหว่างเรียน

อายุน้อยเกินไป
หากคุณสมัครงานในตำแหน่งสำคัญแต่ถูกติงว่างอายุยังน้อยเกินไป คุณควรอธิบายถึงประโยชน์ของการมีอายุน้อยว่า

        - ยินดีทำงานเต็มที่แม้จะได้เงินเดือนน้อยกว่าผู้มีประสบการณ์ 
        - มีไอเดียทันสมัยสมกับที่ได้ศึกษาความรู้ใหม่ล่าสุดจากมหาวิทยาลัย 
        - ไม่ต้องแก้ไขนิสัยการทำงานเก่าๆ ที่ไม่เหมาะกับงานใหม่

เปลี่ยนจุดด้อยเป็นโอกาส
คำถามทั่วไปในการสัมภาษณ์ย่อมไม่พ้นเกี่ยวกับประวัติการทำงานและการศึกษา จริงๆ แล้วสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการู้คือคุณมีประสบการ์ในงานที่กำลังพิจารณาอยู่หรือเปล่านั่นเอง ในกรณีที่คุณผ่านการทำงานมาแล้ว ก็เพียงแค่อธิบายว่าประสบการณ์หรือความสำเร็จที่เคยมีนั้นคุณสามารถนำมาปรับใช้กับงานใหม่ได้อย่างไร แต่ถ้าคุณเป็นบัณฑิตจบใหม่ล่ะ สิ่งที่ควรทำคือชักจูงให้ผู้สัมภาษณ์เชื่อว่าคุณมีความมุ่งมั่น พร้อมทำงานหนักและเรียนรู้เร็ว คุณอาจมีจุดอ่อนหลายด้านให้ผู้สัมภาษณ์จับผิด วิธีแก้ไขคือรู้จักปรับเปลี่ยนจุดด้อยเหล่านั้นเป็นโอกาส

ที่มา : บทความจากเมล์สมาชิก


อัพเดทล่าสุด