Talent Management: ถึงเวลาที่ HR ต้องหันมาสนใจรึยัง?
Talent Management: ถึงเวลาที่ HR ต้องหันมาสนใจรึยัง?
อาจารย์ ดร.จุฑามาศ ทองสุกมาก
กระบวนการที่ดีเพียงพอแล้วหรือยังจะสามารถคัดเลือกสรรหาพัฒนา และรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่จัดว่าเป็น Talent ในสภาวการณ์เศรษฐกิจโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถแรงจูงใจในการทำงาน และมุ่งพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาถือเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนและนำองค์กรไปสู้ความสำเร็จและสามารถอยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมปัจจุบัน อย่างไรก็ตามบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดีเยี่ยมตามเป้าหมายขององค์กรนั้น (Talented workers) ยังมีจำนวนที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการของตลาดแรงงานจะสังเกตเห็นจากอัตราการลาออกจากงาน (Turnover) ของบุคลากรอันเนื่องมาจากมีการแย่งชิงตัวของบุคลากรที่เป็น Top Performer และเป็นกลุ่มคนที่จัดว่ามี talentขององค์กรทั้งในธุรกิจประเภทเดียวและต่างประเภทกันในปัจจุบันมีในเห็นเป็นสน่ำเสมอ ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่น่าหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์ว่าทำไมบุคลากรเหล่านั้นจึงตัดสินใจจากองค์กรของตนไป
คำถามหลายๆคำถามอาจจะเกิดขึ้นในใจของหลายท่าน บางท่านอาจจะคิดว่าอาจจะเป็นเพราะปัจจัยทางด้านค่าจ้างเงินเดือน บ้างอาจจะคิดว่างานอาจจะไม่ท้าทาย ไร้โอกาสในการก้าวหน้า หรือ แม้แต่สภาพแวดล้อมทางการทำงานที่ไม่ดี ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงปัญหาส่วนหนึ่งที่นักทรัพยากรมนุษย์จะต้องเผชิญหน้า เราต้องยอมรับกันว่าทุกองค์กรจำนวนหนึ่งเพียบพร้อมไปด้วย ความรู้ความสามารถและศักยภาพที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแตจะทำอย่างไรเราจึงจะเข้ถึงและรระบุได้ว่าคนกลุ่มนั้นคือใคร และทำให้คนเหล่านั้นอยู่กับองค์กรให้นานที่สุดได้นั้น Talent management น่าที่จะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของ Human Resource
Talent management คืออะไร
เมื่อมีการค้นหาหนังสือเกี่ยวกับTalent management จาก amazon.com พบว่ามีจำนวนทั้งหมดถึง 57,000 เล่ม จึงเป็นที่น่าสนใจว่าจริงๆแล้วนั้นแนวคิดเกี่ยวกับ Talent management ได้รับความสนใจมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่แนวคิดนี้คืออะไรและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในงาน HR ได้อย่างไรน่าจะหยิบยกมาอธิบายให้เข้าใจ
Schweyer ได้ให้คำจำกัดความของ Talent management ไว้ว่าคือกระบวนการวิเคราะห์และว่างแผนมีความสอดคล้องกันในการหาแหล่งที่มา ( Sourcing ) กลั่นกรอง (Screening) การคัดเลือก(selection)การนำมาใช้ (deployment) การพัฒนา (development) และการทำให้คงอยู่ (retention) ของทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงและสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด (Schweyer,2004)
เมื่อนำคำจำกัดความมาวิเคราะห์บางท่านอาจจะคิดว่ากระบวนการนี้เป็นสิ่งที่ HR จะต้องทำเป็นงานประจำอยู่แล้วแต่ถ้ามาวิเคราะห์กันในแต่ละขั้นตอนที่กล่าวข้างต้น ในปัจจุบันที่นัก HR ปฏิบัติอยู่นั้นมีการวิเคราะห์ว่างแผนและเชื่อมโยงกันเพียงใดน่าที่จะเป็นสิ่งที่เราควรจะนำมาขบคิดที่ผ่านมาแม้แต่ในปัจจุบันสำหรับบางองค์กร สามารถตัดสินใจรับบุคลากรเขาทำงานโดยพิจารณาจากวุฒิการศึกษาและการสัมภาษณ์ให้ตรงกับ Job description
ก็อาจจะเพียงพอแล้ว HR อาจจะยังไม่ได้ว่าแผนว่าจะพัฒนาและจะทำให้คนเหล่านั้นอยู่กับองค์กรได้นานที่สุดได้อย่างไร แต่ในปัจจุบันด้วยภาวะเศรษฐกิจและภาวะสภภาพแวดล้อมทางสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานัก HR จะต้องคำนึงว่าการที่จะคัดเลือกบุคลากรเข้ามาแต่ละคนนั้นจะต้องหาคนที่มีความรู้ความสามารถและความพร้อมในทุกๆด้านอีกทั้งอย่างต้องมีศักยภาพที่จะสามารถนำไปพัฒนาให้ดีขึ้นตลอดเวลาเพื่อการปฏิบัติงานที่อาจจะมีความท้าทายและปริมาณงานที่มากขึ้น นอกจากนั้นแล้วคนๆคนนั้นจะต้องมีทัศนคติที่ดีพึงพอใจต่องานและสถานที่ทำงานอีกทั้งเพื่อนร่วมงานจึงจะทำให้คนๆนั้นอยู่กับองค์กรได้นานที่สุด จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการลงทุนคน (human capital) ที่คุ่มค่าและนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร
ดังนั้น ลองมาพิจารณากันว่านัก HR จะสามารถนำกระบวนการ Talent Management มาปฏิบัติและใช้ประโยชน์ในองค์กรเพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างไรบ้าง? ดังนี้
1. SOURCING การหาแหล่งที่มาของtalent workers ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าองค์กรสามารถใช้ agency ที่ทำหนน้าที่เป็นเครือข่ายและตัวกลางในนการเสาะหาบุคลากรเข้ามาทำงานในองค์กร ให้เป็นประโยชน์ ในประเทศไทย agencyที่เราพอจะรู้จักกันดีก็อาทิ เช่น jobtopgun.com,hesdhunter.com ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีตัวอย่างเช่น careebuilder.com,monster.com,HR.COM ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงรายชื่อตัวอย่างของagency จากจำนวนนับไม่ถ้วนที่นัก HR สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการหาแหล่งที่มาของ talented workers ก็คือการสร้าง website ขององค์กรตัวเองเพื่อที่จะทำให้องค์กรของตนเองสามารถเข้าถึงโดย talented workers ได้ง่ายเพราะคนเหล่านี้อาจจะเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศที่อยู่ทั้งในนประเทศไทยและต่างประเทศที่มีความรู้ความสามารถแต่ไม่มีเวลามา คอยติดตาม ว่าเมื่อไหร่จึงจะมีการเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งที่ต้องการ ดังนั้น website ขององคืกรจะช่วยเปิดโอกาสให้คนเหล่านั้นสามารถที่จะกรอกใบสมัครทิ้งไว้และ HR ก็จะสามารถจัดเก็บข้อมูลนั้นไว้ในฐานข้อมูลและเมื่อถึงเวลาที่องค์กรมีความต้องการบุคลากรเพื่มก็จะสามารถเรียกข้อมูลมาใช้เพื่อค้นหาtalented workers ได้ในเวลาที่รวดเร็วและอาจจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์กับสื่อต่างๆไม่ว่ามจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือแม้แต่โทรทัศน์
2. SCREENING AND SELECTION การคัดเลือกเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่ต้องมีการวิเคระห์และตัดสินใจที่ถูกต้อง การที่จะคัดเลือกชี้เฉพาะว่าใครเป็นtalented worker นั้น HR จะต้องมีการว่ากลยุทธ์ในการได้มาซึ่งข้อมูลที่เพียงพอและถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์จึงจะนำมาใช้ประกอบในการคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะกับงาน และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแรงจูงใจในการทำงานและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา การสัมภาษณ์หรือการทดสอบที่ไม่มีการวางแแผนและะพัฒนาอย่างถี่ถ้วนจึงจะนำซึ่งปัญหาในเวลาต่อมา ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงสังเกตเห็นว่าในหลายองค์กรเริ่มนำเอา competency-based performance appraisal มาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้ามารับตำแหน่งเลื่อนตำแหน่งหรือแม้แต่ลดตำแหน่ง นอกจากนั้นแล้วการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยในการคัดเลือกก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการคัดเลือก จากการศึกษาของ HR.COM เมื่อต้นปี2547พบว่า 88% ของหน่วยงานที่มีพนักงานตั้งแต่ 250-250,000มี corporate career website และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 93% จากบริษัท fortune 500 ในอเมริกาคัดเลือกคนเข้าทำงานผ่านทาง website ขององค์กรตนเอง อย่างไรก็ตามการที่คัดเลือกคนผ่านทาง website ไม่ใช้เรื่องง่ายเนื่องจากว่านักHR จะต้องใช้เวลาในการวางแผนว่าควรที่จะพัฒนารูปแบบของ online application อย่างไรจึงจะได้ซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วจะต้องมีการพิจารณถึงการจัดทำ online test อย่างไรจึงจะสามารถวัดความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ เจคติ และศักยภาพที่จะนำซึ่งคนที่เหมาะสมตามความต้องการขององค์กร
3. DEPLOYMENT การนำบุคลากรไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ในปัจจุบันจะสังเกตได้ว่าบางองค์กรมอบหมายงานไม่ตรงกับความสามารถและคุณสมบัติ และความสามารถ ของบุคลากร ดังนั้นความรู้ความสามารถของบุคลากรที่มีtalent จึงไม่ได้ถูกนำมาใช้ได้ประโยชน์สูงสุดซึ่งก่อให้เกิดความตึงเครียดในการทำงานและในที่สุดอาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลาออกจากองค์กรHR จึงต้องหันไปมองและทบทวนว่าจริงๆบุคลากรแต่ละคนนั้นเป็นtop performer ในงานประเภทไหนมีความเด่นทางด้านใดแต่ก็จะต้องสามารถคาดคะเนได้ว่าด้วยคุณสมบัติและขีดความสามารถที่โดดเด่นดังกล่าวนั้นบุคลากรคนนั้นน่าจะมีศักยภาพในการทำงานประเภทไหนได้อีกบ้างในอนาคต ดังนั้นนัก HR จึงต้องมีบทบาทที่สำคัญในการนำเอา จุดเด่นของบุคลากรแต่ละคนมาใช้ในการวางแผนเพื่อให้เหมาะกับงานให้ได้ดีที่สุดในอนาคต
4. DEVELOPMENT การพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งซึ่งมีความสำคัญสำหรับ talent management เนื่องจาก HR ต้องใช้ความรู้ความสามารถและวิจารณญาณในการวิเคราะห์ว่าจะพัฒนาใครและพัฒนาอย่างไร และพัฒนาไปเพื่ออะไร อย่างไรก็ตามต้องให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรและถ้าเป็นไปได้ควรที่จะสอดคล้องกับความต้องการของคนที่มี talent ด้วย ดังนั้นขั้นแรกนั้นจะต้องมีการคัดเลือกกลุ่มคนที่เป็นกลุ่ม talented workers ให้ซึ่งการวิเคราะห์หาคนกลุ่มนี้นั้นจะต้องมองว่าคนๆนั้นปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพอย่างไร และมีศักยภาพในการทำงานมากแค่ไหนในปัจจุบันและถ้าในอนาคตมีการมอบหมายงานต้องใช้ความรู้ความสามารถ และเจคติที่ดีในอนาคตนั้นนั้นคนกลุ่มนี้จะมีศักยภาพที่จะสามารถรับมือได้หรือไม่ เมื่อระบุได้แล้วกลุ่มคนที่มี talent คือใครนัก HR ก็จะต้องมาพิจารณาให้ได้ว่า Gap Analysis ของคนกลุ่มนี้คืออะไรมีskill หรือ knowledge อะไรที่คนกลุ่มนี้ยังขาด แต่อย่างไรก็ตามนัก HR ต้องระลึกถึงไว้เสมอว่าบุคลากรทุกคนมีความแตกต่างทั้งภูมิหลัง ความรู้ ความสามารถ และความต้องการที่ต่างกันดังนั้นการวางแผนพัฒนาต้องให้ตรงตาม คุณลักษณะและความต้องการของคนและองค์กรด้วยในเวลาเดียวกันซึ่งเป็นสิ่งที่นัก HR ในปัจจุบันยังคงต้องค้นหากลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้องค์กรของตนเอง
5. RETENTION การักษาบุคลากรไว้ให้คงอยู่กับองค์กรนั้นเป็นปัญหาที่มักจะถูกหยิบยกเพื่อนำมาอภิปลายบ่อยครั้งส่าทำอย่างไรจึงจะสามารถจูงใจให้รักองค์กรและอยู่กับองค์กรให้นานที่สุดดังนั้น HR จึงต้องมาวิเคราะห์ว่าทำอย่างไรอัตราการลาออกของบุคลากรจึงจะลดลงจากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้จากสหรัฐอเมริกาพบว่าการสร้างความไว้ว่างใจและ การสื่อสารที่เปิดเผยระหว่างบุคลากรและผู้บังคับบัญชาส่งผลให้อัตราการลาออกลดลง (frank, 2003) นอกจากปัจจัยดังกล่าวนั้นแล้วการที่จะทำให้คนที่มี talent อยู่กับองค์กรได้นานนั้น HR ตะต้องทบทวนว่าองค์กรดูแลบุคลากร อย่างไรในทุกๆด้าน อาทิเช่น การบริหารที่ดีมีความโปรงใส การบริหารค่าจ้างและค่าตอบแทน(compensation) เหมาะสมกับบุคลากรแต่ละคนหรือไม่ job assignments ตรงและเหมาะสมกับความสามารถและท้าทายในระดับที่พอดีหรือไม่นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงานเช่นกัน โอกาสในการเจริญเติบโตในหน้าที่ หรือแม้แต่โอกาสในการเรียนรู้ ก็เป็นปัจจัยในการทำให้คนอยู่กับองค์กร ซึ่งจะว่า ไปแล้วนั้นก็เกี่ยวข้องไปตั้งแต่ขั้นตอนการสรรหา คัดเลือก พัฒนา นั่นเอง
คำจำกัดความที่นำมาอธิบายเบื้องต้นที่น่าจะช่วยให้ท่านชาว HR น่าที่จะเข้าใจในภาพร่วมนงความคิดที่เกี่ยวกับ talent management คืออะไรในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าใจแล้วก็ขอให้หันกับไปมองในองค์กรของตนเองนั้นมีWorkers ซึ่งในปัจจุบันเราถือว่าเป็น asset ที่มีค่าขององค์กรและจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน สามารถอยู่รอดได้ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่แปรปรวนอยู่ตลอด
บรรณานุกรม
Schweyer,A. (2004). Talent management systems: best practices in technology solutions for recruitment,retention and workforce planning,
Canada:John Wiley& Son Ltd.