จรรยาบรรณ : นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่1)


1,218 ผู้ชม


จรรยาบรรณ : นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่1)




    คำนี้มี ความศักดิ์สิทธิ์ในตัว ฟังแล้วรู้สึกว่า มีความหนักแน่นและพลังอำนาจในตัว การทำหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล มีส่วนส่งผลต่อชะตาชีวิต ของคนบางคนได้อาจหมายถึง การมีโอกาส หรืหมดโอกาสได้ อาจหมายถึง การมีงาทำ หรือการไม่มีงานทำ ลองมาทความรู้จัก กับคำนี้ให้มากขึ้น ความเป็นมืออาชีพ สำหรับการทำงาน ด้านวิชาชีพ น่าจะเป็นคุณสมบัติ ที่เป็นที่ต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง พนักงานหรือแม้แต่ ผู้ประกอบวิชาชีพ นั้นเอง ต้องมีหลักการ ในการยึดถือเป็นกรอบของการปฏิบัติโลกของธุรกิจเปลี่ยนไปมาก จากที่เคยนึกว่า เป็นเรื่องของคนทำ จะทำอย่างไรก็ได้ ตามใจชอบ พัฒนาเป็นว่า จะทำอะไร ต้องนึกถึลูกค้า คนที่เกี่ยวข้อง ก่อนอื่น แนปฏิบัติต่างๆ จะคิดเอาเอง ไม่ได้ ต้องคำนึงถึง หลักการความถูกต้องแม้ไม่ถูกใจ ก็ต้องยอม หากเป็นที่ยอมรับ ของลูกค้า หรือผู้เกี่ยวข้องสายอาชีพต่างๆ จึงมีการกำหนดกรอบ ของแนวทาง ที่มีหลักการ และหลักเกณฑ์ เป็นที่ยอมรับวิชาชีพ การบริหาร งานบุคคล ถูกนำมาใช้ เมื่อประมาณ สี่สิบปีที่ผ่านมา เมื่อมีทหารอเมริกัน เข้ามาตั้งฐานทัพ ในประเทศไทย มีการจ้างคนไทย เข้าไปร่วมงานกับชาวอเมริกัน คนรุ่นนั้น จึงได้เรียนรู้ ถึงการบริหารบุคคล

     กอปรกับ มีผู้จบการศึกษาสาขานี้มาบ้าง จากต่างประเทศ จึงทำให้เกิดวิชาชีพนี้ขึ้นวิวัฒนาการ ของอาชีพนี้ จึงมี อย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้ง หน่วยงาน ของรัฐมาดูแลด้วย คือ กรมแรงงาน ซึ่งแยกตัวออก มาจากกรมประชาสงเคราะห์ ต่อมามีการก่อตั้ง สมาคม การจัดการงานบุคคล แห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 2516

     ในวงการแรงงาน วิชาชีพ นี้ได้รับความสนใจ แพร่หลายและ ยอมรับว่ามีความสำคัญ ในการจัดการบริหาร ของธุรกิจต่างๆ และในปี 2530 จึงมีการวางแผน กำหนดจรรยาบรรณ ของนักบริหารบุคคลขึ้น

โดยความร่วมมือของ สมาคมวิชาชีพ ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐวิสาหกิจ ต่างระดมสมอง เพื่อให้ได้ข้อยุติ ที่สามารถใช้เป็นหลัก ในการทำงาน มาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ในปลายปี 2531 และลงนามรับรองเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2532 ดังมีรายละเอียดดังนี้

1.พึงซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ เคารพเอกสิทธิ์ขององค์การและฝ่ายบริหาร

2.ยึดมั่นในความยุติธรรม คุณธรรม และรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่าย

3.างตัวและมีจุดยืน ในฐานะฝ่ายนายจ้างอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึง ผลประโยชน์ ของนายจ้างและสิทธิ อันพึงมีพึงได้ของลูกจ้าง

4.รักษาและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง หรือข้อตกลงอื่น ระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง อย่างเคร่งครัด

5.มีทัศนคติที่ดี ต่อทุกฝ่าย

ทั้งห้าข้อนี้คือ กรอบหลัก ของจรรยาบรรณ ในแต่ละข้อ ยังมีแนวปฏิบัติ รายละเอียด แยกออกมาอีก มากมายหลายข้อ ซึ่งจะขอกล่าวภายหลัง แต่บทนี้จะยังไม่ลงลึกลงไปถึง คนที่เป็นนักบริหารบุคคล ควรเรียนรู้ ทำความเข้าใจและยอมรับ ถึงกรอบวิชาชีพ ดังกล่าว ให้ลึกซึ้ง พยายามปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้าง ให้เกิดการยอมรับ และเชื่อมั่น ทั้งจากนายจ้าง ลูกจ้าง รวมตลอดถึง ภาครัฐและ สังคมโดยทั่วไป

หลายคนน่า จะพอระลึกได้ว่า ในช่วงปี 2518 เป็นต้นมา การเรียกร้องของลูกจ้าง มีมากมาย ปีหนึ่งๆ เป็นสามร้อยห้าร้อย กรณีทีเดียว หนึ่งในนั้น มักจะมีว่า ขอให้ไล่ผู้จัดการ ฝ่ายบุคคลออกไปเพราะถูกมอง เป็นตัวร้าย สร้างให้เกิดความวุ่นวายต่างๆใช้อำนาจอย่างอยุติธรรม

    นี่คือสิ่งที่สะท้อน ถึงภาพพจน์ หรือการยอมรับ จากลูกจ้าง นายจ้าง ก็ไม่ปกป้องเท่า ที่ควร เพราะตนเอง ก็ไม่ค่อยถูกใจ เหมือนกัน งานของฝ่ายบุคคล ถูกมองว่า ไม่มีความสำคัญ มีแล้ว ต้องมาบอก อย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้นายจ้าง ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งๆ ที่ไม่อยากทำ งานนี้จึงไม่มีใคร อยากทำ ไม่มีใครอยากเรียน เพราะไม่เข้าใจว่า จะเรียนไปทำไม หากินยาก บางแห่งมีการปิด ล็อคประตูโรงงานห้ามเข้าออก ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ก็ถูกขังอยู่ ในนั้นด้วย เมื่อมีการอบรม เรื่องการบริหาร บุคคลมากขึ้น มีการประกาศใช้จรรยาบรรณของนักบริหารงานบุคคลเหตุการณ์จึงคลี่คลาย และเป็นที่ยอมรับ กันมากขึ้น นายจ้างหรือ นักลงทุน จากต่างประเทศ เมื่อจะมาลงทุน เปิดกิจการ ในประเทศไทย จะต้องจ้าง นักบริหารบุคคล ก่อนอื่น เพราะเขารู้จักวิธี ที่จะใช้ประโยชน์จากงานบุคคล อาชีพนี้จึงเติบโตอย่างเงียบๆ แต่มีภาพพจน์ที่ดีขึ้น

    เคยมีบางราย ที่ไม่รู้จักเราดีพอ พอมาลงทุน ก็เอาคนของตน เข้ามาทำหน้าที่ นักบริหารงานบุคคลซึ่งนอกจาก จะแพงแล้ว ยังไม่รู้กฎหมาย บ้านเราดีอีกด้วย ยังมีความฝัน ที่อยากทำอีกอย่าง คือ การยอมรับจากภาครัฐ สมาคมวิชาชีพ ถือกำเนิดจาก การสนับสนุน ของกรมแรงงาน แต่ไม่สนับสนุนให้ตลอดนายจ้าง อีกมากมายที่ไม่ยอมจ้างเจ้าหน้าที่บุคคลเข้าไปจัดการเรื่องคน แต่เอางานไปฝากกับงานอื่น เคยยื่นข้อเสนอ ให้มีการกำหนด ไว้ในกฎหมายว่า สถานประกอบการ ที่มีคนหนึ่งร้อยขึ้นไป ต้องมี นักบริหารบุคคลหนึ่งคน ทีงาน ความปลอดภัย ยังมีได้ งานบุคคล ไม่น่ามีหรือ แต่ก็เข้าใจว่า เราต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยว่าสามารถพอ ฉะนั้น การมีจรรยาบรรณ จึงน่าจะช่วยได้ จึงขอกล่าวถึง เรื่องนี้อย่างละเอียดโดยจะได้กล่าวเป็นตอนๆพร้อมทั้งตัวอย่าง ให้เห็นชัดๆ อีกครั้ง 

เรื่อง :  สุชาดา  สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา


อัพเดทล่าสุด