จรรยาบรรณ : นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่ 2)


1,802 ผู้ชม


จรรยาบรรณ : นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่ 2)




จรรยาบรรณข้อที่ 1. พึงซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ เคารพเอกสิทธิ์ ขององค์การและฝ่ายบริหาร (Professional loyalty, yield to the right of the organization and the management)

1. ศรัทธาต่อวิชาชีพของตน

2. รับผิดชอบต่อวิชาชีพของตน

3. ใช้วิชาชีพอย่างสุจริต

4. ใช้วิชาชีพให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

5. ไม่ล่วงล้ำในอำนาจของฝ่ายบริหาร

6. ไม่แสวงหาประโยชน์จากฝ่ายใด

7. มีสติในการวินิจฉัยปัญหา

8. มุ่งปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

9. ใฝ่หาความรู้และพัฒนาตนเอง

10. ปกป้องชื่อเสียงของนักบริหารงานบุคคล

     จะเห็นได้ว่า ทั้งสิบข้อย่อย ในจรรยาบรรณ ข้อที่หนึ่งนั้น ได้แยกแยะ ให้นักบริหารบุคคล ทั้งหลาย เห็นว่าเขาต้องทำอย่างไรบ้าง การมีศรัทธา ในงานของตน นับว่ามีส่วนอย่างมาก ในการทำงาน หากแม้แต่ ตนเอง ยังไม่รัก ไม่ปลื้มกับงาน แล้วจะมีใจ รักงานได้อย่างไร ข้อนี้ไม่ว่าอาชีพใด ก็น่าจะเป็นเหมือนกัน ให้มองว่า การเป็น นักบริหารบุคคลนั้น ถือเป็นอาชีพหนึ่ง ที่น่าภาคภูมิใจ ไม่ต่างกับ นักกฎหมาย นักบัญชี แพทย์ จริงอยู่แม้ไม่ถึงกับต้องร่ำเรียนมาโดยตรง แต่ก็มีสาขาวิชาชีพนี้โดยเฉพาะแล้วเช่นกัน น่าจะเป็นข้อเตือนใจ ว่า ไม่ใช่ใคร ก็ได้ที่จะมาเป็น นักบริหารบุคคล การใช้อาชีพ อย่างสุจริต เป็นประเด็น ที่น่าคิดมาก เพราะจากตัวอย่าง ในการทำงาน พบว่า มีหลายคน ที่ทำไม่เหมาะสม กับจรรยาบรรณ แต่ต้อง ยอมรับว่า บังเอิญมีช่องว่าง หรือความไม่สมบูรณ์ ของกฎหมาย ที่เอื้อต่อ การทำงานของเขา จึงทำให้เขา สามารถ ใช้ประโยชน์ จากช่องว่างเหล่านั้น เอื้อต่อนายจ้าง หรือ ลูกจ้าง เช่นนักบริหารบุคคลบางคน สามารถแนะนำนายจ้าง งดเว้นการกระทำบางอย่างได้ทั้งๆ ที่เป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง การจ่ายค่าจ้าง ต้องให้สอดคล้อง กับอัตราที่กฎหมาย กำหนดว่าด้วย ค่าจ้างขั้นต่ำ แต่หยิบยก เอาบางอย่าง ที่มิใช่ตัวเงิน มาเป็นส่วนหนึ่ง ของค่าจ้าง ทำให้จ่ายค่าจ้าง จริงน้อยลงไป จนภายหลัง เมื่อมีการแก้กฎหมาย จึงได้อุดช่องว่าง นี้ได้ หรือการ ที่บังเอิญลูกจ้าง เป็นแรงงาน ต่างด้าว ที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย จึงกดราคา ค่าจ้าง ได้ตามใจชอบ นี่เป็นตัวอย่าง ที่สร้างความอึดอัด และลบความเชื่อถือ ศรัทธาต่อวิชาชีพอย่างร้ายแรง ที่นักบริหารงานบุคคลมืออาชีพควรหลีกเลี่ยง

จากประสบการณ์ ที่ได้มากับตัว ก่อนเข้าทำงาน ในระหว่างการตกลง เพื่อรับงาน เคยมีข้อตกลง กับนายจ้างว่า จะไม่ทำผิดกฎหมาย อย่างเด็ดขาด หากนายจ้าง ต้องการหา ข้อได้เปรียบ ทางกฎหมาย เพื่อเอามาใช้ทำอะไร บางอย่าง จะไม่ทำให้ หากนายจ้าง รายใดไม่ตกลง ก็ไม่รับงาน โชคดี ที่พบแต่นายจ้างดีๆ จึงไม่ต้องอึดอัดใจ

จรรยาบรรณข้อที่ 2  ยึดมั่นในความยุติธรรม คุณธรรม และรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่าย(Maintain justice and benefit to all parties)

1. มีความเที่ยงธรรม

2. วางตัวเป็นกลาง

3. มีพรหมวิหารสี่

4. มีขันติธรรม

5. มีจริยธรรม

6. มีความอดทน

7. มีความละอายที่จะทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

8.  สร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่าย

9. ขจัดความไม่ยุติธรรม

10. ส่งเสริมสนับสนุนผู้กระทำความดี

     จรรยาบรรณข้อที่สอง ก็ยังคงมีข้อย่อย ออกไปมากถึงสิบข้อ อยากบอกว่า จรรยาบรรณนี้ กำหนดขึ้นมานานกว่าสิบปีแล้ว แต่เห็นไหมว่า ยังคงความทันสมัยไม่น้อยหน้าใครธุรกิจปัจจุบันเรียกหา และเรียกร้อง ให้ทุกฝ่ายมีจรรยาบรรณ ซึ่งการบริหารสมัยใหม่ แทบพูดได้ว่า ไม่มีตัวนี้ไม่ได้ ยิ่งโลกาภิวัตน์ ของโลกไร้พรมแดน ยิ่งเรียกหา กันมากขึ้น ใครไม่มี โอกาส ทางการแข่งขันก็น้อยลง ลูกค้าก็มีทางเลือกมากขึ้น จึงเลือกรายที่มั่นใจว่าพร้อมที่สุด

     นักบริหารบุคคล ที่ไม่มีจรรยาบรรณ ไม่สามารถ สร้างความเชื่อถือศรัทธาได้ จากบุคลากร อาจเป็นที่โปรดปราน ของนายจ้าง เพราะอำนวย ประโยชน์ให้เขาเต็มๆ แต่กับพนักงาน จะได้แต่ความเกลียดชัง เคียดแค้น มีเสมอที่ฝ่ายบุคคลไม่สามารถเข้าถึงพนักงาน

หากอยู่ในอุตสาหกรรม บางคราว ขณะกำลัง มีการเจรจาต่อรอง กับสหภาพแรงงาน รถยนต์ ต้องระวัง การถูกขูดขีด เจาะยาง วางหรีด รวมตลอดถึง การยื่นข้อเรียกร้อง ให้ไล่ผู้จัดการ ฝ่ายบุคคลออก เหตุการณ์เหล่านี้เราๆ ท่านๆ ต่างเคยทราบ กันมาแล้วทั้งสิ้น ยุคปัจจุบันนี้ ลดหายไป แต่อาจมีการกระทำ ที่รุนแรงขึ้น เช่น มีฝ่ายบุคคล บางที่แอบเอายาบ้า หรือสารเสพติด ไปซุกซ่อน ในที่ของสหภาพแรงงาน ในโต๊ะทำงาน ในสถานที่ ทำการของสหภาพ ซึ่งมักจะตั้งอยู่ในโรงงานนั่นเอง หรือที่เป็นข่าวเกรียวกราวก็คือการหายสาบสูญของผู้นำสหภาพบางคน

บางข้อย่อย อาจผูกติด กับหลักทางศาสนาพุทธ ซึ่งเชื่อว่า ไม่จำเป็น ต้องเป็นของศาสนาพุทธ เพียงอย่างเดียว จะศาสนาใดก็คงต้องสอน ให้คนเป็นคนดีมีความอดทนอดกลั้นบ้านเมืองเรา แก้ปัญหาด้วย การใช้อารมณ์ กันทุกครั้ง ต้องหันกลับมา ใช้สติปัญญา แก้ปัญหากันบ้าง ใช้สติในการแก้ปัญหา จะสามารถคลี่คลาย ปมต่างๆ ลงได้ ต้องอดทน ต่อความแตกต่าง ที่มนุษย์ปุถุชน ทั้งหลาย มีไม่เหมือนกัน เช่น การใช้วาจา มรรยาท กริยา การอบรม ที่มาจากหลาย ที่สร้างความแตกต่าง ให้คนต้องนึกถึงความจริง ข้อนี้ อย่าหยิบเอาตนเอง เป็นบันทัดฐาน วัดคนอื่น เพราะจะไม่มีวันเท่ากัน อย่าผิดหวังเมื่อเขาไม่เหมือนเรา แต่ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเขาท่ามกลางความแตกต่างให้ได้ทำงานฝ่ายบุคคล ต้องพบปะ ผู้สมัครหลายรูปแบบ ต้องพบกับพนักงาน ที่มีความเครียด หรือปัญหามากมาย หลากหลาย ต้องมีวิธี ที่จะควบคุมตนเอง หรือแม้แต่ควบคุมเขา โดยไม่ให้เขารู้ตัว ว่ากำกับอยู่หากจะต้องทำอะไร เพื่อตอบสนองนายจ้าง พึงระวัง อย่าให้ฝ่ายอื่น หรือลูกจ้าง ต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ถูกกลั่นแกล้ง โดยไม่เป็นธรรม เช่น ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ เป็นโอกาสทอง ของนายจ้าง ที่จะดำเนินการ เกี่ยวกับสภาพ การจ้าง โดยลูกจ้าง จะไม่กล้าดึงดัน นายจ้างหลายแห่ง ต้องลดขนาดองค์การ เพื่อความอยู่รอด ต้องดูแลให้การจ่ายผลประโยชน์ชดเชย มีความยุติธรรมมากที่สุดหากสามารถ ทำตามกฎหมาย ได้ต้องทำ หากไม่สามารถ ต้องพยายาม ให้ใกล้เคียงมากที่สุด หรือยอมรับสภาพหนี้ ที่สามารถเรียกได้ เมื่อมีความพร้อม เมื่อรู้ว่า ทำผิด ต้องพร้อมจะแก้ไข หรือละอายต่อบาป ที่เกิดขึ้น หรือในทาง ที่กลับกัน ต้องปกป้อง นายจ้าง เมื่อจะเพลี่ยงพล้ำ คงจำกันได้ว่า หลายปีก่อน เกิดข้อพิพาทแรงงาน ในโรงงาน การผลิตแห่งหนึ่ง คนงานปิดล้อม โรงงาน ด้วยอารมณ์ ที่รุนแรง จนเกิดการยั่วยุใช้กำลังทำร้ายข้าวของสุดท้าย นำไปสู่การเผาโรงงาน ซึ่งเป็นความผิด ทางอาญา นายจ้างเสียหายมหาศาล มีการดำเนินคดี ตามกฎหมายบ้านเมือง โชคร้ายของลูกจ้าง มีการถ่ายวิดีโอ ของการกระทำต่างๆ ไว้ด้วย และสามารถ นำมาเป็นพยาน การกระทำที่ไม่ถูกต้องได้ ลูกจ้างต้องรับโทษทางอาญา

ตามกฎหมายบ้านเมือง มีเสียงวิจารณ์ตามมามากว่า สมควร ที่จะดำเนินการ ถึงขนาดนั้นหรือไม่ ด้วยความเห็นส่วนตัว การดำเนินคดีเป็นเรื่องชอบ เพราะหากทำผิดกฎหมาย ก็ต้องยอมรับผลที่เกิดขึ้น การใช้เทคโนโลยี มาช่วยค้นหาผู้กระทำผิด เป็นการปกป้องสิทธิ ของนายจ้างอันชอบธรรม มีเสียงว่า ฝ่ายบุคคลนั่นแหละ ที่แนะนำอย่างนั้น ตรงนี้คิดว่าตำหนิเขาไม่ได้ เป็นการทำหน้าที่ที่ควรทำ คือการผดุงความยุติธรรม มุ่งรักษา ผลประโยชน์ ของฝ่ายที่ถูกกระทำ

แม้จะพูดกันว่าทำไม ไม่คำนึงถึง หลักการแรงงาน สัมพันธ์ การอยู่ร่วมกัน ก็ยังเห็นว่า แต่ละฝ่าย ต้องเคารพสิทธิ ซึ่งกันและกัน ลูกจ้าง จะทำลาย หรือเผาทรัพย์สิน นายจ้างตามใจ ชอบไม่ได้ ผิดทั้งจริยธรรมและรัฐบัญญัติ ขณะเดียวกัน ต้องส่งเสริมสนับสนุนผู้กระทำความดี เพื่อเป็นตัวอย่าง เป็นกำลังใจ ให้กับผู้นั้นและผู้อื่นจะได้คิดทำสิ่งที่ถูกต้อง

     จรรยาบรรณที่ดี ย่อมต้องไม่ขัด ต่อหลักการ แรงงานสัมพันธ์ แปลว่า ไม่ใช่จะหยิบยก มาเป็นข้ออ้าง เพื่อให้พ้นผิด ต้องย้อนถามว่า เวลาทำนั้น คิดอย่างนี้หรือไม่ พอถึงเวลาต้องรับผิด ขออ้างถึงหลักแรงงาน สัมพันธ์ เพื่อให้ไม่ถือโทษ อย่างนี้ไม่น่าจะถูกต้อง จริงอยู่กรอบกำหนด เหล่านี้เน้น ให้นักบริหารบุคคล ทำตาม แต่คนอื่นแม้ไม่ได้อยู่ ในอาชีพนี้ ก็มีหน้าที่ ต้องเป็นพลเมืองดีอยู่แล้ว จึงต้องทำหน้าที่พลเมืองดีด้วย

กรณีที่เกิดขึ้น ไม่ตำหนิคนที่เล่น ในแง่ของกฎหมายเลย เพียงแต่นึกว่า ขิงก็รา ข่าก็แรง คนที่ทำนึกว่า เขาไม่เอาจริงเลยพลาดท่า อย่างไรก็ตามต้องขจัด ความไม่ยุติธรรมด้วย จึงจะถือว่าทำหน้าที่ได้ครบ

     จรรยาบรรณข้อนี้ สอนให้ทราบว่า คนทำงานตรงนี้ ต้องยืนอยู่ข้างนายจ้าง เขาถือเป็นคนหนึ่ง ที่เป็นนายจ้าง จะเป็นระดับใด ก็ตาม เพราะสามารถ ทำการแทนได้ ในบางเรื่อง เช่นการจ้าง การสรรหา คัดเลือกบุคลากร เคยพบนักบริหารบุคคล บางคน แสวงหาประโยชน์ จากการทำหน้าที่ ตรงนี้ เช่น แจ้งแก่ผู้สมัครว่า หากอยากได้งานทำ ต้องจ่ายเงินให้เขาเป็นพิเศษ เพราะเขามีอำนาจใส่ชื่อลงไปได้ ข้อนี้เคยเอาผิด กับผู้ปฏิบัติมาแล้วเพราะถือว่าเป็น การแสวงหา ประโยชน์ โดยมิชอบ การใช้วิจารณญาณ ในการแก้ไข หรือวินิจฉัยปัญหาก็เช่นกัน ฝ่ายบุคคลมักเข้าไปมีส่วนในการสอบสวน หาความผิดทางวินัย

เพราะถือว่าเป็น การแสวงหา ประโยชน์ โดยมิชอบ การใช้วิจารณญาณ ในการแก้ไข หรือวินิจฉัยปัญหาก็เช่นกัน ฝ่ายบุคคลมักเข้าไปมีส่วนในการสอบสวน หาความผิดทางวินัยการจะตัดสินลงโทษ ต้องใช้ดุลพินิจ ที่เที่ยงตรง ยุติธรรม ไม่มีอคติใดๆ ไม่รับนโยบาย จากใครในการลงโทษ ต้องว่าไปตามเนื้อผ้า มีกรณีหนึ่ง ที่เคยพบมาด้วยตนเอง เป็นกรรมการสอบสวน พนักงาน ที่ถูกกล่าวหา ว่าแสวงหา ประโยชน์ จากเงินของลูกค้า การสอบสวนชัดแจ้ง ว่าทำจริง โทษต้องถึงขั้นไล่ออก มีการวิ่งเต้น กับผู้บริหารระดับสูงสุด รวมทั้งผู้มีอำนาจ ในบ้านเมืองขณะนั้น นายเรียกตัว เข้าไปถามว่า มีทางอื่นไหม ได้รับคำขอร้องมา ตอบไปว่า การตัดสินใจ ของตนเองได้ทำแล้ว สมบูรณ์แล้ว ไม่เปลี่ยนใจแต่หากผู้บริหารสูงสุดอยากจะแก้ไข ย่อมเป็นสิทธิ์ของท่าน จะลดโทษ เท่าใดก็ได้ แต่ไม่ได้ ทำให้พนักงานพ้นผิดและหากมีคนอื่นทำอีก ก็น่าจะได้รับความปราณีเหมือนกัน

     สุดท้าย เจ้านายตัดสิน ตามที่เสนอ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เชื่อไหมว่าผู้ใหญ่ ในบ้านเมือง ที่ขอร้องมานั้น บังเอิญเป็นญาติผู้ใหญ่ ของดิฉันด้วย ได้เข้าไปพบและเรียนเรื่อง ราวทั้งหมดให้ทราบ พร้อมทั้งขอโทษ ที่ไม่ได้ทำตาม ที่ท่านขอร้อง ท่านกลับให้กำลังใจ ว่าถูกต้องแล้ว ต่างคนต่าง ทำหน้าที่ของตน ท่านจำต้องทำเท่า ที่จะทำได้เพราะคนขอร้องเป็นลูกน้องท่านโดยที่ไม่ทราบว่า ดิฉันเป็นกรรมการสอบสวน ท่านชมเชย การตัดสินใจ เรื่องจึงยุติลง ตามที่ควรเป็น ยังเก็บความภูมิใจ นั้นไว้เป็น เครื่องเตือนใจว่า หากเราปฏิบัติหน้าที่ โดยสุจริต ไม่เข้าใครออกใคร ผลจะเป็นอย่างไรคนอื่นจะตัดสินให้เอง

การสร้างตนเอง ให้มีความรู้ ที่ทันโลก ทันสมัย ก็เป็นความจำเป็น เดิมเรามัก รอให้มีหลักสูตร ฝึกอบรมแล้วจึงไปเข้า สมัยนี้โลกเปลี่ยนไป สามารถหา ความรู้ให้ตนเองได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย มีเว็บไซต์หลายช่อง ที่ให้ความรู้แก่ นักบริหารบุคคล แต่อาจเป็น ภาษาต่างประเทศ ก็ดี จะได้พัฒนาภาษาไปด้วย ทางทีวี ก็มีรายการที่สอนวิชานี้ ทางหน้าจอ เอกสารตำรามีมากมาย หลายสถาบัน เปิดสอนวิชานี้เป็นเรื่องเป็นราวแข่งกันเปิดระดับปริญญาโทก็หลายสถาบัน น่าเรียนทั้งนั้น

นักบริหารบุคคล หลายคน น่าจะเคยไปเข้า รับการอบรมหลักสูตร ด้านการบริหารบุคคล ที่จัดโดยสมาคม จัดการงานบุคคล แห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ซึ่งจัดมานานหลายสิบปีแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ทำมานานแล้ว ที่คณะเศรษฐศาสตร์ เลือกเรียน ได้ตามความสนใจก็จะทำให้มีความมั่นใจ มากขึ้นในการทำงาน

เรื่อง : สุชาดา  สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

อัพเดทล่าสุด