จรรยาบรรณ : นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่4)


628 ผู้ชม


จรรยาบรรณ : นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่4)




จรรยาบรรณข้อที่ 5  มีทัศนคติที่ดี ต่อทุกฝ่าย

1. มีใจกว้าง

2. มีเจตนาดีแก่ทุกฝ่าย

3. มีความคิดสร้างสรรค์

4. มุ่งจรรโลงสังคม

5. มีความเข้าใจจิตใจผู้อื่น

6. สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและเพื่อนร่วมงาน

7. สร้างทัศนะคติที่ดีกับทุกฝ่าย

8. มองทุกอย่างใจแง่ดี

9. ต้องการเห็นความเจริญของทุกฝ่าย

10. สร้างสันติสุขในวงการแรงงาน

     จรรยาบรรณข้อนี้นับ เป็นข้อสุดท้ายของวิชาชีพนี้ หลักใหญ่เน้น ที่การมีทัศนคติในด้านบวก อันนับเป็น  สิ่งสำคัญ ในการดำรงชีวิต หรือการทำงาน ทีเดียว คนที่มีความเป็นบวก ในตัวสูง จะเป็นคน ที่มีความสุขอย่างน่าอิจฉา

เพราะเขาย่อมมอง สิ่งรอบตัวด้วยสายตา ที่เป็นมิตร สร้างสรรค์ รู้จักการให้อภัย เป็นคนที่มีเหตุผล รู้จักที่จะหาข้อแก้ตัว ให้คนอื่น ใครที่เคยอ่าน บทความเรื่อง 6Ps ในการทำงาน ของผู้เขียน คงจำได้ว่า หนึ่ง P นั่นคือการมี Positive ในตัวเอง เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียด ข้อย่อยทั้ง 10 ข้อจะเห็นว่าล้วนแต่เป็น การเตือนสติผู้ใช้วิชาชีพนี้ว่า ต้องคิดถึงคนอื่นในแง่ดีเสมอ พยายามมอง หาจุดดีของคนอื่น แล้วความรู้สึก ของตนเอง เกี่ยวกับบุคคลนั้น จะเปลี่ยนไป จะมีความอยากเป็นมิตร มากขึ้น ไม่ขวางหูขวางตา เท่าเมื่อก่อน เขาถึงว่า คนเรารักกัน เสียอย่างสบาย ไปแปดอย่าง ที่อยากโกรธมาก ก็ลดลงหรือไม่โกรธเลย

     นอกจากนี้ยังอยากจะ สรุปให้ชัดเจนเลยว่า ทั้งสิบข้อคือคุณสมบัติ ที่นักบริหารบุคคล พึงมีนั่นเอง เคยมีเพื่อนร่วมงาน คนหนึ่ง มีความรู้ ทางการศึกษาดี มีภูมิหลัง ของครอบครัว ที่นับว่าใช้ได้ ไม่มีพี่น้องผู้ชายเลย หน้าตาดี เข้าทำงาน เริ่มต้น ที่ฝ่ายบุคคล และสังกัดด้านพนักงานสัมพันธ์ นักบริหารบุคคลคงเข้าใจได้ดีว่าการทำงานด้านนี้ ต้องการ คนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความมั่นคง หนักแน่น ใจกว้าง ยิ่งหากต้องพบ กับสหภาพแรงงาน ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็น และยากกว่าการทำงานปกติ เขาทำงาน ในยุคที่นายจ้าง ไม่ค่อยคุ้น กับสหภาพฯนัก เพราะประชาธิปไตย กำลังเบ่งบาน ทุกคนต่างต้องเรียนรู้ และทำใจ ให้ยอมรับบทบาทของแต่ละฝ่ายให้ได้จะถือว่าเป็นนายจ้าง แล้วมีบุญคุณกับพนักงานไม่ได้เขาก็ได้รับการชี้แนะ ให้ประสาน กับคณะกรรมการ สหภาพแรงงานให้ได้ ซึ่งก็นับว่าราบรื่น พอควร แม้บางครั้ง เขาจะมีความเห็นที่ขัดแย้ง แต่ก็ไม่เป็น อุปสรรคอะไรมากนัก ต่อมาผู้บริหาร ใช้กลยุทธ์ ทางแรงงานสัมพันธ์ค่อนข้างท้าทาย

กล่าวคือ มีการนำผู้นำแรงงาน มาทำงานเป็นพนักงาน ประจำที่หน่วยงานนี้ด้วย ซึ่งหลายคน คงคิดว่าแปลก จริงไหม เหมือนการเอาเสือ เข้ามาเลี้ยงในบ้านเจตนาจะขี่เสือ หรือเปล่าไม่ทราบ แต่พนักงาน ของหน่วยงาน แรงงานสัมพันธ์ มีหมวกสองใบ เป็นทั้งกลไก ในการทำงาน ให้ฝ่ายนายจ้าง ขณะที่มีหมวกใบที่สอง เป็นผู้นำของ ผู้ใช้แรงงานด้วย วันดีคืนดี ผู้นำสหภาพได้ เป็นพนักงาน ที่มีอาวุโสกว่า พนักงานคนที่พูดถึง สองคนนั้น เกิดความขัดแย้ง ทางความคิด อยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งในงานและส่วนตัว หัวหน้าก็ไม่แก้ไข คงปล่อย ให้คาราคาซังอย่างนั้น เชื่อไหมว่า เกิดสิ่งที่คาดไม่ถึง คือผู้นำสหภาพเจริญเติบโตในงานจนได้เป็นหัวหน้าบทบาทเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเป็นฝ่ายนายจ้างเต็มตัวที่ตรงกันข้ามคือ พนักงานหญิง คนที่กล่าว กลับไปเป็นผู้นำ สหภาพที่มีบทบาท โดดเด่นอย่างไม่น่าเชื่อ กลายเป็นคนก้าวร้าว หัวแข็ง หัวรุนแรง เคยรับทราบว่า เขามีคำอธิบายว่า ถูกกดดันมาก จากหัวหน้า ที่เคยมีบทบาท ตรงกันข้ามกับเขา เสนอความเห็นอะไร ก็ถูกโต้แย้ง ขัดขวางความเจริญ ของเขา จนทนไม่ไหวต้องเปลี่ยนจุดยืนมาอยู่อีกฝั่ง เขามีกฎหมายปกป้องไม่กลัวอีกต่อไปแม้จนในปัจจุบัน ก็ยังใส่หมวก ของสหภาพ แรงงานอยู่ ที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นเรื่อง ของทัศนคติจริงๆ หากทุกคน มีความเป็นบวก และรู้วิธีที่จะ ดำรงสถานภาพ ของแต่ละคน สองคนนั้น น่าจะเข้ากัน ได้ดีที่สุด หากผู้นำ รู้จักใช้หลัก จิตวิทยาเข้ามาแก้ไข ความสัมพันธ์ ของสองคน จะราบรื่น ยิ่งกว่าถนน ซุปเปอร์ไวเซอร์เสียอีก ความสันติสุขอ้อมไปด้วย ทั้งสองคนขาดจรรยาบรรณ ในข้อนี้อย่างเห็นได้ชัด จริงอยู่ ขณะนั้นยังไม่มีการกำหนด จรรยาบรรณนี้ขึ้น แต่ก็น่าจะมีบางข้ออยู่บ้าง เพราะ ในการทำงาน เราต่างต้อง ให้โอกาสคนอื่นด้วย ต้องหัดเอาใจ เขามาใส่ใจเรา ต้องทำตัวให้เข้ากับ เพื่อนร่วมงานให้ได้ ทั้งสองคนทำงานในฝ่ายบุคคลหากขาดข้อนี้เขาจะเป็น มืออาชีพที่ดีไม่ได้ เพราะเขาต้องทำงานกับคน คนเป็นลูกค้าหลักของเขา งานเขาจะดีได้อย่างไรก็ไม่เข้าใจ บทนี้เป็น บท สุดท้ายของ จรรยาบรรณ ของนักบริหารบุคคลแล้ว มีคำยืนยันว่า ไม่ยาก ที่จะทำตัวอยู่ ในกรอบ ของจรรยาบรรณ เป็นความธรรมดา ที่เราปุถุชนน่า จะรู้อยู่แล้วด้วยซ้ำ เพียงแต่เอามาตอกย้ำ ให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นแต่โลกธุรกิจปัจจุบัน เรียกหาจรรยาบรรณ กันเซ็งแซ่ ต้องการให้มี ความโปร่งใส การมีจรรยาบรรณ ไม่เพียงแต่ทำให้ ตัวผู้ปฏิบัติดีเท่านั้นแต่ทำให้องค์การเพิ่ม ขีดความสามารถไปด้วย ในตัวและมีโอกาส ประสบความสำเร็จง่าย เพราะได้รับการยกย่อง น่าเชื่อถือจากสังคม หลายสาขาอาชีพ ต่างพยายามกำหนด กรอบเพื่อวิชาชีพขึ้นมา องค์การส่วนใหญ่ชี้แจง ถึงความเป็น good governance ของตนเพื่อเสริม ภาพลักษณ์และ สร้างความเชื่อมั่น จากลูกค้า นักบริหารบุคคล มืออาชีพ สมควร ที่จะต้องธำรงรักษา จรรยาบรรณ นี้ต่อไป พร้อมทั้งเป็นกลไกที่สำคัญ ในการพัฒนาคนให้มีจรรยาบรรณ ตามวิชาชีพต่อไป

เรื่อง : สุชาดา  สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา


อัพเดทล่าสุด