ลักษณะการจ้างงาน "นอกเหนือหน้าที่ และเวลางานปกติ"


817 ผู้ชม


ลักษณะการจ้างงาน "นอกเหนือหน้าที่ และเวลางานปกติ"




ในการบริหารองค์กร โดยเฉพาะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการเพิ่มอัตราค่าจ้างการทำงานพิเศษ โดยมักจะมีการเปรียบเทียบระบบการทำงานระหว่างของยุโรปตะวันตก (ฝรั่ง) กับระบบการทำงานแบบไทยๆ มักจะมีลักษณะที่ค่อนข้างขัดแย้งกันโดยธรรมชาติ ซึ่งจากการสำรวจทัศนคติและองค์ประกอบอื่นๆ พบว่าเกิดจากความแตกต่าง "ทางวัฒนธรรม"
ประเด็นดังกล่าวมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกัน โดยต่างฝ่ายก็คิดว่าของตัวเองดีที่สุด อาทิ ฝั่งตะวันตกคิดว่าระบบของตนอาศัยระบบการทำงานโดยยึดหลักเหตุผล หรืออาศัยบทบาทอำนาจหน้าที่เป็นตัวกำหนดเนื้องาน ส่วนสังคมไทยนอกจากจะยึดหลักเหตุผลดังกล่าวแล้ว ยังมีหลักจริยธรรม และความเอื้ออาทรเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการทำงาน
อย่างตัวอย่างของการทำงานนอกเหนือเวลาปกติ ที่มักเรียกกันจนติดปากว่า "Overtime" ซึ่งถ้าอาศัยอำนาจของพ.ร.บ.ด้านแรงงานสัมพันธ์มาบังคับใช้ ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องของการจ่ายผลประโยชน์ตามปกติที่ชอบธรรม แต่บริษัทส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม ไปจนกระทั่งบริษัทเล็กๆ ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อระบบดังกล่าว
ข้ออ้างหลักที่นิยมใช้กันก็คือ... "เรื่องของภาวะเศรษฐกิจวิกฤติ" ครั้นเมื่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ขยับดีขึ้น หลายๆ บริษัทส่วนใหญ่ก็อาศัยบท "เตมียŒใบ้" คือทำเป็นมั่วกฎหมายพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ โดยเฉพาะบทบาทของกระทรวงแรงงาน ที่นอกเหนือจากเก่งงานด้านหักรายจ่ายด้านเงินประกันสังคมแล้ว บทบาทการประชาสัม-พันธ์ที่อาศัยเงินภาษีจากประชาชนในการโปรโมตหน่วยงานของตนเองก็มักจะทำได้ดีอย่างต่อเนื่อง
ขอกลับย้อนเข้ามาตรงประเด็นของระบบการจ้างงานนอกเหนือเวลาปกติกันบ้าง ที่กล่าวว่าทำไม? สังคมไทย โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ไม่ค่อยจะเรียกร้องสิทธิ์ดังกล่าวนี้เท่าใดนัก ทั้งๆ ที่ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ชอบธรรม และถูกต้องตามหลักพ.ร.บ.ของระบบแรงงานสัมพันธ์
เรื่องดังกล่าวหากจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ว่าได้ แต่ถ้าถามว่าเป็นปัญหาต่อภาพรวมมั้ย ก็ต้องบอกว่าเสียหายอย่างยิ่งยวด เนื่องจากอนาคตข้างหน้าของการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่จะเป็นเรื่องของมาตร-ฐานเป็นตัวกำหนด ซึ่งหลายๆ ประเทศได้บังคับใช้กันแล้ว
ปัญหาอีกประเด็นหนึ่ง ที่ส่งผลถึงระบบการทำงานเชิงวัฒนธรรม ที่มักจะไม่ค่อยมองกันในจุด บทบาทหน้าที่การทำงาน แต่จะเน้นหนักที่ความ สัมพันธ์เป็นหลัก ทำให้ลักษณะการทำงานมักจะมี มั่วให้เห็นเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาการทำงาน มักจะไม่ค่อยมีผู้รับผิดชอบ (เจ้าภาพ) แต่ จะเป็นการไล่ปัญหากันไปเป็นทอดๆ ทำให้มองว่าระบบเราด้อยกว่าฝรั่ง แต่บางคนมองว่าเป็นเรื่อง ที่ดี ทำให้ปัญหาต่างๆ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลในเชิงจริยธรรม
ทั้งๆ ที่ความเป็นจริง แล้วทั้ง 2 ระบบ มักจะถกเถียงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนระหว่างไก่กับไข่อะไรเกิดก่อน แต่ที่แน่ๆ ในแง่ของการทำงานที่อาศัยปัจจัยพิเศษที่นอกเหนือการทำงานปกติ อาทิ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา หน้าที่ความรับผิดชอบต่องาน และเป้าหมายการทำงาน รวมถึงระบบใหญ่ที่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ในระยะยาวอย่างแน่นอนคือ "เรื่องของ กฎหมายแรงงานสัมพันธ์" ที่ไม่สามารถนำมาใช้ให้เอื้อต่อพนักงานลูกจ้างได้
แต่ถ้านำประเด็นหลักเหตุผลของฝรั่งตะวันตก มาใช้กับสังคมไทย ซึ่งจะส่งผลเสียหายที่เด่นชัดที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของ "น้ำใจ" ที่อย่างไรเสียก็ละทิ้งไม่ได้อย่างแน่นอน ซึ่งปัจจุบันน่าจะเป็นเรื่องที่ปกติไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแง่ตัวบทกฎหมาย หรือเมื่อเกิดปัญหาก็มักจะหาเจ้าภาพมารับผิดชอบได้ยาก เป็นต้น
สำหรับประเด็นต่างๆ ที่นำมาเสนอนั้น ถ้าหากเป็นบริษัทเล็กๆ หรือบริษัทที่บริหารงานในระบบครอบครัว ก็คงจะถือเป็นเรื่องธรรมดา และไม่น่าจะมีผลต่อการปฏิบัติงานมากเท่าใดนัก แต่ทั้งนี้ก็ต้อง มองและคิดอย่างรอบคอบอีกทีว่า ถ้าหากปล่อย เลยตามเลยโดยที่ไม่ใส่ใจหรือให้ความสำคัญ ต่อไป ในภายภาคหน้าเมื่อมีเหตุการณŒที่จะต้องปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงใดๆ เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง และไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนได้โดย ฉับพลัน
ผลเสียอีกข้อหนึ่งที่เรามักจะมองไม่ค่อยเห็น คือ "เป้าหมายการทำงาน" โดยการปฏิบัติงานตามเป้าหมายการทำงาน ส่วนใหญ่มักจะถือปฏิบัติเหมือน หรือคล้ายๆ กันทั่วโลก แต่วิถีทาง หรือแนวทางไปสู่จุดหมายนั้นเป็นเหตุผลที่น่าฉุกคิด โดยเฉพาะในระบบราชการจะเห็นได้ชัดเจนที่สุด เนื่องจากการ ทำงานใดๆ ถ้าหากปราศจากน้ำเลี้ยง (เม็ดเงิน) เข้ามาเป็นตัวช่วยแล้ว งานมักจะสะดุดอยู่เรื่อยๆ ซึ่งต่างจากการทำงานของบริษัทเอกชน ทำให้สามารถที่จะเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ในการบริหารงานบุคลากรได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ การจ่ายผลประโยชน์ในแง่ของนอกเหนือเวลาปฏิบัติงานประจำ หรืองานที่เกินกว่าหน้าที่ปฏิบัตินั้น เราคงจะต้องศึกษากันอย่างเป็นระบบ และคงต้องเริ่มปรับเปลี่ยนแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐของกระทรวงแรงงาน จำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามากำกับดูแล และจัดระเบียบดังกล่าวให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นระบบการทำงานข้างต้นจะส่งผลเสียหายต่ออนาคตอย่างแน่นอน

แหล่งข้อมูล : ฐานเศรษฐกิจ


อัพเดทล่าสุด