ยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90, 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต


1,254 ผู้ชม


ยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90, 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต




ภ.ง.ด. 90 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป
ภ.ง.ด. 91 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน
++ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการยื่นภาษีเงินได้แบบบุคลธรรมดา (ยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคม) , วิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90, 91 , การหักลดหย่อนเงินภาษี
การลงทะเบียน
1. ต้องเปิดเว็ปไซต์โดยใช้ Internet Explorer เวอร์ชั่น 6 เท่านั้น
2. ต้องลงทะเบียนใหม่ ทุกราย เลือกเมนู “ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิ๊กที่นี่” เลือก “ลงทะเบียน”
3. การลงทะเบียนจะต้องกรอกชื่อ/ชื่อสกุล ของบิดา มารดา
4. การเลือกคำถาม จะ ต้องจำ คำตอบที่เลือกให้ได้ เพราะหากท่านลืมรหัสผ่าน ท่านต้องใช้คำถาม/ คำตอบเดิม ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ หากจำคำตอบไม่ได้ จะไม่สามารถทำรายการต่อได้อีก (เป็นระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเอง)
5. กรณีลืมรหัสผ่าน และไม่สามารถจดจำคำตอบได้
ให้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกับระบุว่า “ขอยกเลิกการลงทะเบียน ภ.อ.01 เนื่องจากลืมคำถาม/คำตอบที่ได้เคยระบุไว้” และส่งโทรสารไปที่หมายเลข 0-2617-3463 จึงจะสามารถลงทะเบียนได้อีกครั้งในวันถัดไป
6. กรณีชาวต่างชาติพบว่า ชื่อ-ชื่อสกุล หรือ วันเดือนปีเกิดไม่ตรงกับฐานข้อมูลขอให้ยื่น คำร้อง ล.ป.10.1 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่/พื้นที่สาขา ตามที่อยู่ที่ทำงานของชาวต่างชาติ เพื่อติดต่อหน่วยงานผู้ออกบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทำการแก้ไขฐานข้อมูลให้ถูกต้อง
7. กรณีชาวต่างชาติลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ไม่ต้องกรอกชื่อ บิดา/มารดา แต่หากเป็นคนต่างด้าวที่มีเลขประจำตัวประชาชน ต้องกรอกชื่อ-ชื่อสกุลบิดา/มารดา
การกรอกแบบ
1. ต้องระบุสถานะของผู้มีเงินได้ และข้อมูลของคู่สมรส ให้ครบถ้วน
1.1 คู่สมรสเป็นคนไทย ให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน โดยไม่ต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
1.2 คู่สมรสเป็นคนต่างด้าว และมีเงินได้ ต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี แทนเลขบัตรประจำตัวประชาชน
1.3 คู่สมรส เป็นคนต่างด้าว และไม่มีเงินได้ ให้เลือกระบุ “ไม่มีเงินได้” แล้วจึงเลือก “ต่างด้าว” พร้อมระบุเลขหนังสือเดินทาง และสัญชาติ (จะต้องเลือก “ไม่มีเงินได้”ระบบจึงจะให้ระบุว่าเป็น “ต่างด้าว” ได้)
2. ช่องรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องกรอกตัวเลขจำนวนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายให้ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ต้องใส่ 0.00
3. เพิ่ม รายการให้กรอกเกี่ยวกับ “ผู้จ่ายเงินได้” ต้องบันทึกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือเลขประจำตัวประชาชนของผู้จ่ายเงินได้ ทุกประเภทของเงินได้ที่ได้รับ อย่างน้อย 1 ราย
4. ค่าลดหย่อนประกันสังคมให้กรอกเฉพาะผู้มีเงินได้ตาม ม.40(1) เท่านั้น และหักลดหย่อนได้ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม คือไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินได้ และไม่เกิน 9,000 บาท ( ห้ามปัดเศษทศนิยมขึ้น)
การตรวจสอบว่ายื่นแบบ ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 ผ่านหรือไม่
1. ตรวจสอบที่ >> https://www.rd.go.th/ >> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิกที่นี่ >> ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 >> ใส่หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน หาก
1.1 ยื่นแบบปกติผ่านแล้ว ระบบจะมีข้อความแจ้งว่า ท่านได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ปี 2550 ผ่าน Internet แล้ว
1.2 ไม่มีข้อความเตือน แสดงว่ายังยื่นแบบปกติไม่ผ่าน
2. กรณีทำรายการเร็วมาก เข้าไปถึงหน้าแบบฯ เลย วิธีการตรวจสอบอีกขั้นหนึ่งคือ ดูในส่วน ก ระหว่างข้อ 15 และ 16 หากมีเครื่องหมาย ü ระบุว่า ยื่นแบบฯเพิ่มเติม ให้อัตโนมัติ แสดงว่ายื่นแบบปกติผ่านแล้ว
หมายเหตุ : ตรวจสอบได้เฉพาะ การยื่นแบบปกติ เท่านั้น
การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 เพิ่มเติม
1. ต้องกรอกรายการในส่วน ก. ข้อ 18 โดย
1.1 กรณีแบบฯที่ยื่นไว้ก่อนเป็นแบบฯที่มีภาษีชำระให้ระบุจำนวนเงินที่ชำระตามแบบที่ยื่นไว้ก่อนนั้น
1.2 กรณีเป็นแบบฯที่ขอคืนหรือไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ใส่ 0.00
2. การยื่นแบบฯเพิ่มเติม จะไม่สามารถ แก้ไข ชื่อ/นามสกุล และที่อยู่ได้ เพราะถือว่าท่าน แจ้งความประสงค์ไว้แล้วในการยื่นแบบปกติ(ฉบับแรก)
การชำระภาษี
1. เมื่อยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต้องชำระภาษี ตามช่องทาง ที่ระบุไว้บนระบบเท่านั้น ไม่สามารถ นำเงินไปชำระที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
2. เมื่อทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ทางอินเทอร์เน็ตแล้ว จะพิมพ์แบบดังกล่าวออกมานำไปใช้ยื่นแบบฯที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ไม่ได้
3. การชำระภาษีสำหรับการยื่นแบบฯผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องชำระภาษีทั้งจำนวน ไม่สามารถ ขอผ่อนชำระเป็นงวดๆได้
4. เมื่อเลือกช่องทางการชำระภาษีไปแล้ว หากไม่สะดวกที่จะใช้ช่องทางดังกล่าว ด้วยเหตุประการใดๆ ก็ตาม ท่านสามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงินได้
โดยเข้าเวปไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/ >> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิกที่นี่ >> ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 >> ใส่หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน จะปรากฏ รายการค้างชำระ ให้เลือกเข้าไปในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ แบบ ภ.ง.ด.91 โดยคลิ๊กที่ “หมายเลขอ้างอิง” จะปรากฏแบบแสดงรายการ เมื่อเข้าสู่หน้าจอแบบ ให้เลื่อนลงไปล่างสุด แล้วกดปุ่ม ตกลง จะเข้าสู่หน้าจอการชำระเงิน ให้เลือกช่องทางการชำระเงินที่ต้องการใหม่ได้ โดยไม่ถือว่าซ้ำซ้อนใดๆ

ที่มา : women.sanook.com

อัพเดทล่าสุด