ต้นแบบความสามารถ Competency Model


696 ผู้ชม


ต้นแบบความสามารถ Competency Model




ต้นแบบความสามารถ  Competency Model

เมื่อองค์การนำแนวคิดการกำหนดค่าตอบแทนตามความสามารถมาใช้ ควรสร้างต้นแบบความสามารถขึ้นก่อนเพื่อใช้เป็นพื้นฐานการกำหนดค่าตอบแทน อย่างไรก็ดีตัวแบบความสามารถนี้มิได้เป็นประโยชน์เฉพาะการกำหนดค่าตอบแทน แต่ยังเป็นประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เรื่องอื่นๆ เช่น การคัดเลือก การพัฒนา การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การวางแผนอาชีพและแผนสืบทอดตำแหน่ง  Thomas P Flannery  David A Hofrichter และ Paul E Platten  เสนอแนวทางการกำหนดต้นแบบความสามารถ (Competency Model) 3 ขั้นตอน ได้แก่

1.  วิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การ

                ศึกษา วิเคราะห์ความสามารถที่สร้างคุณค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ ธุรกิจบางแห่งมีข้อได้เปรียบในเรื่องของความรวดเร็วในการตอบสนองตลาดที่เกิดใหม่ บางกิจการมีจุดแข็งในเรื่องการมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า บางกิจการมีจุดแข็งทางด้านเทคนิคการผลิต เป็นตัวอย่างของความสามารถหลักขององค์การที่สร้างความแตกต่างไปจากคู่แข็งขัน

2.  วิเคราะห์ความสามารถที่จำเป็นในแต่ละงาน

                วิเคราะห์ว่า ในแต่ละงานผู้ปฏิบัติที่มีผลงานดีเด่นแตกต่างจากผู้ปฏิบัติงานที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยอย่างไร ในการวิเคราะห์ความสามารถที่จำเป็นในแต่ละงาน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน

                ขั้นตอนที่ 1 กำหนดลักษณะของผลงานดีเด่นในแต่ละงาน หรือในแต่ละกลุ่มงาน หลักการสำคัญ คือผลงานนั้นช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้องค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

                ขั้นตอนที่ 2 ศึกษา วิเคราะห์ว่าผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการยกย่องว่ามีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับนั้น มีแนวทางการทำงาน พฤติกรรมการทำงานอย่างไรจึงมีผลงานที่ดีเด่น สูงกว่ามาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ

                ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ของผู้ปฏิบัติงานที่ทำให้ได้ผลงาที่ดีสูงกว่ามาตรฐาน คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมนี้นำมาสร้างตัวแบบความสามารถ ที่นำมาทายผลการปฏิบัติงานได้ หากผู้ปฏิบัติงานมีชุดของความสามารถเหล่านี้ เมื่อทำงานจะได้ผลงานที่ดี ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า และบริการให้กับองค์การ

3. ทดสอบตัวแบบความสามารถ

                เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ก่อนที่จะนำตัวแบบความสามารถมาใช้ ควรมีการทดสอบความเที่ยงตรงของตัวแบบว่าใช้ในการทำนาย คาดการณ์ได้จริง โดยรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานนั้นๆ สมาคมวิชาชีพ และลูกค้า

อัพเดทล่าสุด