จะเพิ่มสมรรถนะ ตัวคุณได้อย่างไร ? : การบริหารการเรียนรู้ด้วยตนเอง / แฟ้มสะสมการเรียนรู้


736 ผู้ชม


จะเพิ่มสมรรถนะ ตัวคุณได้อย่างไร ? : การบริหารการเรียนรู้ด้วยตนเอง / แฟ้มสะสมการเรียนรู้




 ตารางการประเมินตนเองและเส้นแบ่งระดับ

        ในเรื่องตารางประเมินตนเองในแต่ละทักษะ แนวคิดที่เป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งในเรื่อง skill portfolio  คือการกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ในทุกทักษะและระยะเวลาที่คุณควรจะกำหนดไว้เป็นเป้าหมาย แต่ละทักษะก็จะแตกต่างกันไปตามความสำคัญหรือความยากง่ายฝ่ายบริหารกำหนดเส้นแบ่งระดับในแต่ละทักษะ เพื่อให้คุณสามารถติดตามกำกับดูแลความก้าวหน้าของตนเองได้โปรดระลึกเสมอว่า เป้าหมายนี้เป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำสุด เท่านั้น จึงอย่าจำกัดตนเองที่เป้าหมายเท่านั้น หากสามารถพัฒนาได้ดีกว่า หรือสูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ ก็จงอย่าชะลอตนเองที่จะทำหรือหากสามารถ บรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเงือนเวลาที่กำหนด ก็อย่ารีรอเช่นกัน

        ทักษะแต่ละด้านแตกต่างกันไปตามความสำคัญหรือความยากง่ายดังที่กล่าวมาแล้ว เช่น พนักงานทุกคนต้องสามารถใช้โปรแกรม PowerPoint ในการนำเสนอตั้งแต่ 6 เดือนแรกที่เริ่มงาน เมื่อถึงเส้นแบ่งระดับสูงสุดอาจจะมีเฉพาะวิทยากรและที่ปรึกษาเท่านั้น ที่จำต้องเขียนและนำเสนอในรูปแบบ animation พร้อมใช้เสียงประกอบการนำเสนอ ส่วนพนังกานที่ไม่จำเป็นต้องพบลูกค้าเป็นประจำก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนาไปถึงระดับสูงเป็นพิเศษนี้ระดับความสามารถเชิงสมรรถนะที่จำต้องไปให้ถึงได้นั้น จะระบุไว้ในทุกทักษะซึ่งมักจะไม่สูงมาก ทั้งนี้เพื่อสะท้อนแนวคิด Kaizen ที่มองว่าทุกสิ่งสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ทีละเล็กละน้อยอย่างต่อเนื่อง

        เส้นแบ่งระดับที่กำหนดไว้นี้เป็นเพียงแนวทางที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความเห็นของฝ่ายบริหารและการเสนอแนะของพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ และทักษะต่างๆก็อาจเปลี่ยนแปลง ยกเลิกหรือเพิ่มได้ตามภาวการณ์และต้องการของสถาบันฯ หรือของลูกค้าที่เปลี่ยนไป

วิธีใช้ skill portfolio

 

        -  แต่ละหน้าจะแสดงหนึ่งทักษะ

        -  แบ่งออกตามกลุ่มของความสามารถเชิงสมรรถนะที่กำหนด

        -  หัวลูกศรแสดงเป้าหมายที่มาตรฐานขั้นต่ำที่สุด ที่คุณพึงบรรลุในระยะเวลาที่กำหนด

        -  คุณประเมินด้วยตัวคุณเอง และบันทึกไว้ อย่างกังวลหากผลการประเมินจะมีขึ้นๆ ลงๆ เพราะเป็นเรื่องปกติ แต่ให้

           ดูแนวโน้มว่าเป็นไปในทิศทางใด

คำอธิบาย
  1.  
    1. ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยสังเกตการณ์ผู้อื่น
    2. เคยสังเกตการณ์ผู้อื่นปฏิบัติ
    3. เคยปฏิบัติโดยมีผู้กำกับ
    4. เคยปฏิบัติด้วยตนเอง โดยไม่มีผู้กำกับ
    5. มีความสามารถปฏิบัติขั้นพื้นฐานได้ดี
    6. สามารถบ่งชี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเป็นบางครั้งสามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้องเป็นบางครั้ง
    7. สามารถบ่งชี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแทบทุกครั้ง สามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้องแทบทุกครั้ง
การวัดผลส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้น 1 -4 ขั้นที่ 5 -6 นั้นสำหรับบางทักษะและบางกลุ่มงานเท่านั้น
  พนักงานที่จะเป็นผู้บริหารการเรียนรู้ด้วยตนเอง พึงมีคุณสมบัติต่อไปนี้
  • รู้ว่าประสบการณ์ใดสำคัญและจัดการเรียนรู้จากมันให้ได้
  • ระบุได้ว่าตนเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ดังกล่าว และนำประสบการณ์นี้มาใช้งานหรือฝึกฝนให้ชำนาญได้อย่างไร
  • ระบุได้ว่าในแต่ละช่วงเวลาทักษะ / ความรู้ / ทัศนคติ ที่มีอยู่นั้นมีข้อจำกัดเพียงใดหรือไม่แล้วนำมากำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาตนเองได้
  • กำหนดแนวทางในการบรรลุให้ถึงเป้าหมาย ที่ตั้งไว้นี้ได้ ( บางครั้งอาจหมายรวมถึงการแสวงหาทักษะใหม่ด้วย)
การเรียนรู้แบบนี้อาจเรียกว่า วงจรการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 
ตัวอย่าง : คุณได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานให้เตรียมการนำเสนอด้วยโปรแกรม PowerPoint เป็นครั้งแรก
 
        ·  คุณใช้เวลาหนึ่งวันเต็มในการทำงาน โดยศึกษาจากการนำเสนอเมื่อเดือนที่แล้วที่เพื่อนร่วมงานรุ่นพี่เคยให้ไว้
           และจากความรู้ที่คุณฝึกการใช้โปรแกรมนี้มาแล้ว
 
        ·  เมื่อหัวหน้านำไปใช้ปรากฏว่าอักษรภาษาไทย ที่คุณเปลี่ยน Font ให้ดูสวยงานขึ้นนั้นไม่ปรากฏบนจอตามที่คุณ
           ตั้งใจ หัวหน้าคุณต้องเสียเวลาเปลี่ยน Font  ให้ปรากฏบนจอเป็นภาษาไทย คุณถูกหัวหน้าตำหนิว่าไม่รอบคอบ
 
        ·  คุณเสียความรู้สึกมาก คุณหัวเสียไปทั้งวัน รู้สึกว่าตนเองว่าไร้ความความสามารถ เคืองหัวหน้าที่ตำหนคุณ
 
        ·  แต่คุณเริ่มวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วคุณก็สรุปได้ว่าคุณควรนำแผ่นที่ Save  ไว้หลังจากเตรียมการนำ
           เสนอเสร็จ ไปทดลองกับเครื่องที่หัวหน้าจะนำไปใช้ก่อนว่ามี Font เดียวกับที่คุณใช้หรือไม่
 
        ·  แล้วคุณก็เริ่มเก็บทางว่าประสบการณ์ที่ทำผิดพลาดเมื่อกลางวัน เป็นบทเรียนอย่างไร และคุณกำหนดว่าคุณจะ
           ต้อง เรียนรู้โปรแกรม PowerPoint ให้มากขึ้นไม่ใช่รู้แต่วิธีเตรียมอย่างเดียว ยังต้องรู้วิธีการนำเสนอและเรียนรู้
           ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่องด้วย คุณเริ่มเห็นทางที่จะยกระดับการเรียนรู้วิธีใช้โปรแกรม
           Power Point  จากระดับสองขึ้นเป็นระดับสาม ด้วยการหา CD-Rom สอนการใช้โปรแกรม Power Point ให้ได้
           ภายใน 6 เดือน
 
วันที่
 
 
ความเห็น
 
แผนปฏิบัติการ
1-01-2548
จะเตรียมการนำเสนอด้วยโปรแกรม Power Point ด้วยตนเองโดยไม่มีข้อผิดพลาดได้อย่างไร ?
หา CD-Rom สอนการใช้ Power Point มาฝึกทุกวันๆละ ครึ่งชั่วโมง ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี หลังอาหารเที่ยง สอบถามและขอคำแนะนำจากคุณ ......... ที่ปรึกษาที่ใช้โปรแกรมนี้อย่างชำนาญ

บริหารค่าตอบแทนแบบสร้างสรรค์ด้วยระบบ Broadbanding

 

Boradbanding : An Innovative in Compensation Management

 

เขียนโดย :  ธัญญา  ผลอนันต์

อัพเดทล่าสุด