บริษัทที่สร้างระบบทำงานแบบยึดผลลัพธ์เป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จ


619 ผู้ชม


บริษัทที่สร้างระบบทำงานแบบยึดผลลัพธ์เป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จ




กรณีตัวอย่างของบริษัท อัจฉริยะภาพ จำกัด ต้องการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนากำลังคนของบริษัท จึงให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์รับไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ทบทวนเครื่องมือในการพัฒนากำลังคนของบริษัทที่เคยใช้มีดังนี้

1. การฝึกอบรม

มีการอบรมต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งที่จัดขึ้นภายใน และส่งไปอบรมภายนอก

2. การศึกษา

บริษัทสนับสนุนเต็มที่ บริษัทมีทุนการศึกษาสำหรับสาขาที่สามารถนำมาใช้กับบริษัทได้ มีห้องสมุดมีอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต ให้สืบค้นข้อมูล ข่าวสารและความรู้aได้ตลอดเวลา

3. การประเมินผลการปฏิบัติงาน

มีการใช้แบบประเมินพฤติกรรมมานานจนเป็นวัฒนธรรมของบริษัทไปแล้ว และได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานปีละ 1 ครั้ง

4. สายงานอาชีพ

                ก็สามารถใช้ยึดเป็นอาชีพและมีความก้าวหน้า ระบบเงินเดือนค่าตอบแทนก็สามารถแข่งขันกับตลาดได้

                เครื่องมือทั้ง 4 ดังกล่าวข้างต้น บริษัทได้ใช้ครบถ้วนและก็ถือปฏิบัติกันมาหลายสิบปี แต่ทำไมค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่ารายได้ ดูเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ดูสถิติการมาสาย ลา ขาด ก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ การทำงานของพนักงานก็ดูขยันขันแข็ง พนักงานแต่ละรุ่นไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องพฤติกรรมการทำงาน แต่ปรากฏว่าสิ่งที่พบและไม่พึงประสงค์มีดังนี้

                1. ต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้นในสัดส่วนมากทุกปี

                2. วิธีการทำงานเป็นวิธีแบบเดิมๆ ไม่มีวิธีการทำงานแบบใหม่เกิดขึ้น

                3. ผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นตามหลังคู่แข่ง หรือเมื่อมีผู้อื่นคิดค้นขึ้นมาก่อนทำให้ต้องสูญเสียสัดส่วนตลาดไปทุกปี

               

 

                ฝ่ายบริหารสรุปว่า อุปสรรคของพัฒนาการบริษัทเป็นไปอย่างเชื่องช้า เพราะพนักงานส่วนใหญ่ทำงานแบบไม่มีเป้าหมาย แม้ขยันทำงานทุกวันแต่ก็ไม่ได้ยกมาตรฐานการทำงาน ที่แย่กว่านั้นคืองานไม่สำเร็จก็ไม่รับผิดชอบทำไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะสำเร็จ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน เสียใหม่ เพื่อใช้เป็นเครื่องกระตุ้นและส่งเสริมให้พนักงานทำงานแบบยึดเอาผลลัพธ์เป็นความสำเร็จ และให้มีการเปลี่ยนวิธีการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนให้สอดคล้องกันด้วย เพื่อให้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบยึดผลลัพธ์เป็นเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ เกิดผลในทางปฏิบัติ

ที่มา: บริหารอย่างไรถูกกฎหมายแรงงาน , ไพศาล เตมีย์


อัพเดทล่าสุด