การพัฒนาแผนจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Strategic HRM Roadmap)


945 ผู้ชม


การพัฒนาแผนจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Strategic HRM Roadmap)




การพัฒนาแผนจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์

(Strategic HRM Roadmap)

การจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Strategic HRM)  ถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในวงการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วจะพบว่า การบริหารทรัพยากรบุคคลจะมีวิวัฒนาการประมาณ 2 ช่วง ที่ผ่านมา ดังภาพ

ภาพ : วิวัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคล

1. การจัดการงานบุคคล (Personnel Management) หมายถึง การบริหารงานบุคคลที่เน้นหนักไปในเรื่องของงานสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นการปฏิบัติงานประจำวันทั่วไป (Routine Operation)  หรืองาน ธุรการบุคคล เช่นการว่าจ้าง การบันทึกการขาด ลา มาสาย งานวินัย เป็นต้น ลักษณะของงานจะเป็นงานในเชิงรับมากว่าเชิงรุก
2.  การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management)   หมายถึง การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคลในองค์กรมากขึ้น งานจะเป็นรูปแบบเชิงกลยุทธ์มากว่าเดิม แต่ยังมีภาพของงานประจำวัน งานธุรการบุคคลอยู่พอสมควร
3.  การจัดการทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Human Resources Management) หมายถึง การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มุ่งเน้นความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ การบริหารจะมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
กล่าวโดยสรุป การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Comparative Analysis) การบริหารทรัพยากรบุคคล จะพบว่า การบริหารทรัพยากรบุคคลใน 3 ช่วง จะมีข้อแตกต่างกัน (ดูตางรางประกอบ)
ตาราง  การวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารทรัพยากรบุคคล
ระดับ
การจัดการงานบุคคล
(PM)
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM)
การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (SHRM)
กลยุทธ์ (Strategy)
-
20%
50%
การจัดการ(Management)
30%
30%
30%
ปฏิบัติกา (Operation)
70%
50%
20%
จากตารางจะพบว่าการบริหารงานบุคคล (Personnel Management) ไม่มุ่งเน้นที่กลยุทธ์ แต่จะมุ่งเน้นที่การปฏิบัติการ (Operation)  หรือ งานประจำวันประมาณ 70 % สำหรับงานด้านการจัดการ 30 %  เช่นการวางแผนการสรรหาบุคลากร การวางแผนกำลัง เป็นต้น
การบริหารทรัพยากรมนุษย์  (Human Resources Management) จะให้ความสนใจว่าการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลมากขึ้น โดยจะมีเนื้องานประมาณ 20 % ขณะที่งานด้านการจัดการ 30 %  และงานปฏิบัติการจะลดเหลือเพียง 50 %  เพราะว่างานเริ่มมีการใช้ Outsource  มากขึ้น เช่น การใช้หน่วยงานภายนอกสรรหาบุคลากร เป็นต้น
การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์  (Strategic Human Resources Management)  จะทำให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ประมาณ 50 %  หรือครึ่งหนึ่งของงานด้านทรัพยากรบุคคล โดยบทบาทจะเน้นการเป็นผู้ร่วมทางกลยุทธ์ขององค์กร (Strategic Partner)  หรือ บางองค์กรงานด้านบริหารงานบุคคลก้าวไกลถึงการเป็นผู้เล่นทางกลยุทธ์ (Strategic Player)  แต่อย่างไรก็ตามงานด้านการจัดการก็ยังดำรงอยู่ 30 % ขณะที่งานปฏิบัติการจะมีประมาณ 20 %  ทั้งนี้เป็นเพราะว่า องค์กรจะเริ่มให้ความสำคัญกับ Outsourcing และ Shared Services มากขึ้น งานหลายด้านของการบริหารทรัพยากรบุคคลถูกดำเนินการภายนอกองค์กร เช่นการสรรหาว่าจ้าง การบริหารค่าตอบแทน เป็นต้น
บทบาทของงานบริหารทรัพยากรบุคคลจึงเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทใหม่ของธุรกิจ(New Business Context )  โดยมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างทรัพยากรบุคคล และธุรกิจขององค์กรโดยใช้วิธีการจัดการสมัยใหม่เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดขององค์กร (ดูภาพประกอบ)
ภาพ : กรอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในบริบทใหม่
อ้างอิง :  การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ
โดย : ดร. เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค  Ph.D.

อัพเดทล่าสุด