การพัฒนาแผนบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ในทางปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 5 : การเขียนแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์


675 ผู้ชม


การพัฒนาแผนบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ในทางปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 5 : การเขียนแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์




การพัฒนาแผนบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ในทางปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 5 :  การเขียนแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์

                        ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะได้มาซึ่งแผนการจัดการทรัพยากรบุคคล

วิธีดำเนินการ

 

-     พัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมหลักหลายๆกิจกรรม แต่ละกิจกรรมจะจ้องสะท้อนขอบเขตหลักของการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ต้องดำเนินเช่น การฝึกอบรมและแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น รวมไปถึงแต่ละหน่วยงานขององค์กรก็จะต้องมีกลุ่มกิจกรรมเฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน

องค์ประกอบของแต่ละกิจกรรมในแผนงาน

-      ความสำคัญทางกลยุทธ์ของกิจกรรม : อธิบายภูมิหลังของกิจกรรม รวมไปถึงต้องอธิบายว่าทำไมกิจกรรมนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์

-     วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เขียนเป้าหมายของกิจกรรม โดยระบุให้ชัดเจนว่ากิจกรรมนี้สร้างผลสัมฤทธิ์อะไรที่มีผลกระทบต่อองค์กร

-         การให้ข้อเสนอแนะกิจกรรม โดยจะต้องระบุให้ชัดเจนถึงวิธีปฏิบัติว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้กิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์

ตัวอย่าง

 

เป้าหมาย กลยุทธ์ และการวัดผลด้านทรัพยากรบุคคล

 

ด้าน  Hard HRM

 

เป้าหมายที่ 1 : ประสิทธิภาพการฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร

วัตถุประสงค์

กลยุทธ์

ดัชนีวัดผลสัมฤทธิ์

ดัชนีฐาน

เป้าหมายผลสัมฤทธิ์

47

48

49

50

51

1. ความคุ้มค่าของระบบการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

1.1 ทบทวนและปรับปรุง ระบบการฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร

- การคืนทุน (ROI)

จากโครงการพัฒนาบุคลากร

1.2 พัฒนาระบบ Competency Based Training (CBT)

- ร้อยละของบุคลากรที่มีขีดความสามารถเชิงสมรรถนะหลัก (Core Competencies) ได้ตามมาตรฐาน / เกินกว่ามาตรฐาน

45

65

75

80

85

ตัวอย่าง

 

เป้าหมาย กลยุทธ์ และการวัดผลด้านทรัพยากรบุคคล

ด้าน  Soft HRM

เป้าหมายที่ 1 : การพัฒนาขีดความสามารถเชิงสมรรถนะของบุคลากร

วัตถุประสงค์

กลยุทธ์

ดัชนีวัดผลสัมฤทธิ์

ดัชนีฐาน

เป้าหมายผลสัมฤทธิ์

47

48

49

50

51

1. การพัฒนาขีดความสามารถด้านการจัดการของบุคลากร

1.1 การพัฒนาตัวแบบขีดความสามารถด้านการจัดการ(Managerial Competency Model)

- ร้อยละของบุคลากรที่มีขีดความสามารถของบุคลากร ได้ตามมาตรฐานขององค์กร

1.2 การพัฒนาหลักสูตรด้านการจัดการ (Management Development Program)

- ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรด้านการจัดการ


อ้างอิง :  การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ
โดย : ดร. เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค  Ph.D.

อัพเดทล่าสุด