การพัฒนาแผนบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ในทางปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 : การระบุประเด็นด้านทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์


516 ผู้ชม


การพัฒนาแผนบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ในทางปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 : การระบุประเด็นด้านทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์




การพัฒนาแผนบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ในทางปฏิบัติ

 

 

 

ขั้นตอนที่ 2 :  การระบุประเด็นด้านทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์

               

เมื่อดำเนินการขั้นตอนที่ 2 แล้ว ขั้นตอนนี้จะเป็นการระบุประเด็นด้านทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ขององค์กร กล่าวคือ จะต้องเป็นประเด็นหลักที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ขององค์กร ในแผนการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์จะมุ่งเน้นวิธีการจัดการ กับประเด็นเหล่านี้

วิธีดำเนินการ

1.     ประเมินนัยทางด้านทรัพยากรบุคคลที่ได้จากผลการสรุปในขั้นตอนที่ 1

2.     การระบุประเด็นด้านทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ขององค์กร

 

ความท้าทายทางกลยุทธ์และประเด็นทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์

 

ความท้าทายทางกลยุทธ์

 

-  ย้ายไปท่าอากาศยาน Chap Lap koh

ประเด็นทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์

 

-  การเพิ่มของความต้องการกำลังคน

-  การต้องการการฝึกอย่างมากสำหรับบุคลากรใหม่

-  พนักงานต้องการใช้เวลาอย่างมากเพื่อทำการสรรหาสมาชิก

   ใหม่

-  การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของผู้โดยสารและคลังสินค้าที่

   ชายแดนฮ่องกง - จีน

-  การเพิ่มของความต้องการกำลังคน

-  การเพิ่มความรับผิดชอบการปกป้องผู้บริโภค

-  การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะใหม่

-  การเพิ่มขึ้นของความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อคุณภาพ

   ของการบริการ

-  มาตรฐานการบริการต้องสามารถสื่อสารและวิธีการประเมิน

    แบบใหม่

-  การฝึกอบรมด้านคุณภาพการบริการ

 

 

ทำอย่างไร

 

1.     ทบทวนข้อสรุปจากการวิเคราะห์ทางกลยุทธ์ขั้นตอนที่ 1 และเลือกนัยทางทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญออกมา

2.     ทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่าประเด็นด้านทรัพยากรบุคคลใดที่เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ ทิศทาง และปัจจัยที่

        ท้าทาย

 

 

คำถามในการระบุประเด็นทรัพยากรบุคคลที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์กลยุทธ์

 

 

1. วิสัยทัศน์ขององค์กรคืออะไร

2. พันธกิจหลักขององค์กรมีอะไรบ้าง

3. ค่านิยมขององค์กรคืออะไร

4. วัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ขององค์กรคืออะไร

5.  ความสามารถหลักขององค์กร (Organization Competence) คืออะไร

6. บุคลากรในองค์กรมีความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competence) ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์หรือไม่

7.  ความสามารถเชิงสมรรถนะใหม่ๆที่ต้องการคืออะไร

8.  ในองค์กรให้คำนิยามของผู้ปฏิบัติงานชั้นเยี่ยมต่างจากผู้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานอย่างไร

9.  ระบบอะไรที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของบุคลากร

10. พัฒนาบุคลากรที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐานอย่างไร

11. การพัฒนาบุคลากรที่เป็นอยู่ปัจจุบันสามารถตอบสนองต่อสิ่งท้าทาย หรือความต้องการขององค์กรในอนาคตหรือไม่

12. สิ่งที่ต้องการปรับปรุงในเรื่องทรัพยากรบุคคลคืออะไร

13. บุคลากรได้ถูกกระตุ้นให้รับรู้ถึงสิ่งที่ท้าทาย หรือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อองค์กรทั้งในปัจจุบัน หรือ อนาคตหรือไม่

14. อะไรคือผลกระทบของการกระตุ้นให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

15. มีกลยุทธ์อะไรบ้างที่จะดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพ และ ศักยภาพให้อยู่กับองค์กร

16. วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมองค์กรหรือไม่


อ้างอิง :  การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ
โดย : ดร. เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค  Ph.D.

อัพเดทล่าสุด