กรณีศึกษา Best Practices : การจัดสวัสดิการของบริษัท


1,063 ผู้ชม


กรณีศึกษา Best Practices : การจัดสวัสดิการของบริษัท




บริษัท โซนี่ เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

Sony Semiconductor (Thailand)

Company Limited., SCT

กรณีศึกษา Best Practices

การจัดสวัสดิการของบริษัท เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจัดสวัสดิการประเภทต่างๆ

 

รายการ

รายละเอียดและหลักเกณฑ์

1. เครื่องแบบพนักงาน

 พนักงานจะได้รับเครื่องแบบแตกต่างกันตามประเภทพนักงาน ดังนี้

  • เครื่องแบบพนักงานทั่วไป (บัตร เสื้อ และรองเท้า)
  • เครื่องแบบพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้อง Clean Room (หน้ากาก ถุงมือ ชุด และรองเท้า)
  • เครื่องแบบพนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ผลิต (บัตร เสื้อ กางเกง หมวก และรองเท้า)
  • เครื่องแบบพนักงานที่มีครรภ์ (บัตร ชุดกระโปรง และรองเท้า)
  • เครื่องแบบพนักงานขับรถ (บัตร เสื้อ กางเกง และรองเท้า)
  • เครื่องแบบพนักงานประกอบอาหารและพนักงานห้องอาหาร (บัตร เสื้อ กางเกง หมวกคลุมผม และรองเท้า)

   กรณีพนักงานลืมเครื่องแบบสามารถยืมเครื่องแบบสำรองได้ และกรณีเครื่องแบบชำรุดขอเบิกใหม่ได้

2. บริการตู้ล็อกเกอร์

   แยกพนักงานชายและหญิง บริษัทกำหนดขนาด และการจัดวางเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และไม่แออัด

3. ห้องอาหารและคูปอง

   ห้องอาหารปรับอากาศ คูปองข้าวฟรี คนละ 25 ใบ

4. การประกันชีวิต

   ตามระดับพนักงาน จำนวนเงินเอาประกัน 60,000 – 1,000,000 บาท

5. การประกันแบบหมู่

   ค่าชดเชยในกรณีประสบอุบัติเหตุตามเปอร์เซ็นต์ค่าชดใช้เทียบจำนวนเงินเอาประกัน เช่น เสียชีวิตจ่ายร้อยละ 100 เสียตาหนึ่งข้างจ่ายร้อยละ 50 เป็นต้น

6. การประกันทุพพลภาพ

   ตามระดับตำแหน่ง จำนวนเงินเอาประกันอุบัติเหตุ 120,000  - 300,000 จำนวนเงินเอาประกันการพิการทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวร 60,000 – 150,000 บาท

7. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

   เงินสมทบของพนักงานร้อยละ 3 -5 เงินสมทบของบริษัทร้อยละ 3 -5 ตามระยะเวลาการทำงานเมื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำแล้ว

8. การอนุญาตให้พนักงาน ศึกษาต่อ

   บริษัทอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเวลาทำงานตามความเหมาะสม

9. รางวัลสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานนาน

  • ทำงานครบ 3 ปี ได้ทองคำ 25 สตางค์
  • ทำงานครบ 5 ปี ได้ทองคำ 50 สตางค์
  • ทำงานครบ 10 ปี ได้ทองคำ 1 บาท
  • ทำงานครบ 15 ปี ได้ทองคำ 1.25 บาท

10. การเดิมทางไปต่างประเทศ

    ได้เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พักชั่วคราว ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ภัณฑ์ เงินช่วยเหลือสำหรับซื้อสิ่งของในการเดินทาง ค่าซักผ้า ฯลฯ

11. การเดินทางภายในประเทศ

    ได้ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าซักรีด ฯลฯ

12. บริการรถรับส่งพนักงาน

    รถบัสปรับอากาศหลายเส้นทาง

13. เงินช่วยเหลือการเดินทางเพื่อปฏิบัติงาน

  • เดินทางโดยรถยนต์ขนส่งสาธารณะ พนักงานรายวัน 7 บาทต่อวัน รายเดือน 158 บาทต่อวัน
  • เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ได้รับค่าน้ำมัน 1.40 บาทต่อ 1 กม. ไม่เกิน3,250 บาทต่อเดือน

14. การรักษาพยาบาล

  • กรณีคนไข้ใน บริษัทจ่ายผลประโยชน์ชดเชยให้ตามที่กำหนดไว้ในตารางผลประโยชน์ชดเชย
  • กรณีคนไข้นอก ใช้สิทธิได้แตกต่างกันตามจำนวนเดือนที่เข้าทำงานระหว่างปี บริษัท (1 เม.ย. -31 มี.ค.)  เช่น เข้าทำงานเดือนเม.ย.  - พ.ค. ได้ 30 ครั้ง ก.พ.–มี.ค.  ได้ 5 ครั้ง เป็นต้น ส่วนจำนวนเงินชดเชยเป็นไปตามตารางผลประโยชน์ชดเชย

15. ทันตกรรม

  • เบิกจำนวนเงินค่ารักษาโรคฟันได้ 1,000 บาทต่อปี

16.ห้องพยาบาลของบริษัทการตรวจสุขภาพประจำปี และการตรวจพิเศษ

  • ห้องพยาบาลเปิดบริการ 24 ชม.มีรถฉุกเฉิน และพยาบาล 24 ชม. แพทย์ประจำ 6 วัน วันละ 1 ชม.
  • ตรวจสุขภาพประจำปี ในเดือนสิงหาคมของทุกปี
  • ตรวจสุขภาพพิเศษเดือน ส.ค. และ ก.พ. ของทุกปี เฉพาะพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี

17.การกู้เงินฉุกเฉินกรณีเจ็บป่วย

    บริษัทให้ยืมเงินกรณีจำนวนค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายจริงมากกว่าสวัสดิการที่บริษัทจ่ายให้ พนักงานสามารถแบ่งจ่ายคืนได้เป็นงวด

18. เงินกู้จากธนาคารบริการสวัสดิการพนักงาน

สามารถกู้ได้จากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัท เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซื้อรถยนต์ และสวัสดิการอเนกประสงค์

19.การแสดงความยินดี

·        สมรส ได้รับมอบเงิน 1,000 บาท ต่อพนักงาน 1 คน

·        บุตรเกิดใหม่ ได้รับมอบเงิน 700 บาท ต่อบุตร 1 คน (จำนวนไม่เกิน 2 คน)

·        อุปสมบท ได้รับมอบเงิน 1,000 บาท

20. การแสดงความเห็นใจ

  • กรณีเกิดภัยพิบัติจากภัยธรรมชาติแก่ที่อาศัยของพนักงาน บิดา มารดา ได้รับการช่วยเหลือตามความเหมาะสมแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต

         กรณีพนักงาน เงินทำบุญ 5,000 บาท พวงหรีด 1 พวง เป็นเจ้าภาพ 1 คืน

     กรณีบิดาหรือมารดาหรือคู่สมรสหรือบุตร เงินทำบุญ 2,000 บาท พวง

     หรีด 1 พวง

21. กรณีพนักงานเจ็บป่วย

    สิ่งของเยี่ยมไข้กรณีต้องรักษาในโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 3 วัน

22. การสนับสนุนกีฬาสำหรับพนักงาน

    เงินช่วยเหลือให้ไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา 4 ประเภท (ว่ายน้ำ เทนนิส แบดบินตันและห้องออกกำลังกาย) ตามจ่ายจริงไม่เกิน 100 บาท/สัปดาห์/คน)

23.การซื้อสินค้า

    ซื้อชนิดเดียวกันได้ 1 ชุด/ปี ระยะเวลาขายสินค้า 4 ครั้ง/ปี

ซื้อสินค้าเงินสดและเงินผ่อน

24. การจัดที่พักผ่อนราคาประหยัดให้แก่พนักงาน

    บริษัทจ่ายค่าที่พักร้อยละ 80 ของราคาที่พัก 1 คืน/คน/ 6 เดือน แต่ไม่เกิน 500 บาทกับสถานที่พักผ่อนราคาประหยัดที่บริษัททำสัญญาไว้

25. หอพักสำหรับพนักงานหญิง

    บริษัทเช่าหอพักให้เป็นที่พักของพนักงานหญิง ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ห้องพักผ่อน ห้องรับรองญาติ โทรทัศน์ รปภ. น้ำดื่ม เป็นต้น

26. ค่าภาษาต่างประเทศ

    จ่ายค่าภาษาตามระดับการทดสอบภาษาโดยจ่ายให้เป็นรายเดือน ภาษาญี่ปุ่น 1,500 – 3,000 บาท ภาษาอังกฤษ 1,000 – 2,500 บาท

27. การส่งเสริมให้เรียนภาษาต่างประเทศ

    เบิกค่าเล่าเรียนได้ร้อยละ 70 ต้องเข้าเรียนในสถานบันการสอนภาษาที่บริษัทกำหนด

28. การเรียนทางไปรษณีย์

    เบิกค่าเล่าเรียนได้ร้อยละ 70 ต้องเข้าเรียนในสมาคมที่บริษัทกำหนดโดยบริษัทต่อต่อให้

29. ค่ากะ

    บริษัทจัดให้มีค่ากะสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานกะเช้า กะบ่าย และกะดึก

30. ค่าเบี้ยขยัน

    พนักงานที่ปฏิบัติงานโดยไม่มีการขาดงาน มาสาย หรือลาป่วย พนักงานจะได้รับเบี้ยขยันทั้งรายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน และรายปี นอกจากนี้หากพนักงานได้รับเบี้ยขยันติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปีหรือ 3 ปี บริษัทจะจ่ายเบี้ยขยันให้เพิ่มเติมอีกด้วย

31. รางวัลไม่หยุดงาน 2 ปีติดต่อกัน

    พนักงานที่ปฏิบัติงานโดยไม่มีการขาดงาน มาสาย หรือลาป่วยเป็นเวลา 2 ปี ติดต่อกัน จะได้รับรางวัลนี้เพิ่มเติมจากเบี้ยขยันในข้อ 30

ที่มา : กรณีศึกษา Best Practices

          การมุ่งเน้นที่ทรัพยากรบุคคล Human Resource Focus

          สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ พิมพ์ครั้งที่ 3


อัพเดทล่าสุด