กระทรวงแรงงานอัพเดตข้อมูล
กระทรวงแรงงานรายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์เลิกจ้างระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-12 ธ.ค. 2551 พบว่ามีสถานประกอบกิจการ ที่เลิกจ้างลูกจ้างรวม 574 แห่ง จำนวน ถูกเลิกจ้าง 47,064 คน และพบตัวเลขสถานประกอบกิจการที่มีแนวโน้ม การเลิกจ้างอีก 252 แห่ง ลูกจ้างอีกกว่า 112,259 คน
พื้นที่ที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ 1.ปทุมธานี 2.สมุทรปราการ 3.กรุงเทพฯ 4.พระนครศรีอยุธยา และ 5.ตาก (ดูรายละเอียดในตาราง)
ประเภทกิจการที่เลิกจ้างสูงสุด ได้แก่ 1.สถานประกอบการผลิตสิ่งทอสิ่งถัก เครื่องแต่งกาย ฟอกหนังสัตว์และรองเท้า เลิกจ้างแล้ว 75 แห่ง ลูกจ้าง 12,871 คน 2.การผลิตเครื่องประดับและเฟอร์นิเจอร์ 53 แห่ง ลูกจ้าง 5,705 คน 3.การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และบริการรับทำบัญชี เลิกจ้าง 47 แห่ง ลูกจ้าง 1,836 คน
4.การขายปลีกของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน เลิกจ้าง 45 แห่ง ลูกจ้าง 256 คน และ 5.การผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ โลหะ เลิกจ้าง 42 แห่ง ลูกจ้าง 1,768 คน
สาเหตุการเลิกจ้างพบว่าเกิดจากภาวะขาดทุนขาดสภาพคล่องมากที่สุด 338 แห่ง ลูกจ้าง 19,621 คน รองลงมาคือการสั่งซื้อที่ลดลง 93 แห่ง ลูกจ้าง 19,225 คน และมีสาเหตุอื่น เช่น หมดฤดูกาลผลิตสินค้า ไม่ได้คุณภาพ 44 แห่ง ลูกจ้าง 731 คน รวมถึงการลดขนาดองค์กร 29 แห่ง ลูกจ้าง 2,119 คน
นอกจากนี้ยังมีสถานประกอบการอีก 28 แห่งที่มีแนวโน้มจะเลิกจ้าง อันดับแรกคือกลุ่มธุรกิจผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 47 แห่ง ลูกจ้าง 45,942 คน 2.ธุรกิจผลิตสิ่งทอ สิ่งถัก เครื่องแต่งกาย ฟอกหนังสัตว์และรองเท้า มีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 27 แห่ง ลูกจ้าง 8,828 คน
3.การผลิตยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งมีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 23 แห่ง ลูกจ้าง 21,624 คน 4.การผลิตเครื่องจักรมีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 22 แห่ง ลูกจ้าง 7,569 คน 5.การผลิตเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์พลาสติก มีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 22 แห่ง ลูกจ้าง 6,224 คน 6.การผลิตเฟอร์นิเจอร์, เครื่องประดับ มีแนวโน้มจะเลิกจ้าง 21 แห่ง ลูกจ้าง 4,225 คน
ข้อมูลที่เป็นทางการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นระดับความรุนแรงของปัญหาแรงงานที่ไม่อาจมองข้าม ซึ่งยังไม่นับรวมปัญหาการประท้วงเรียกร้องโบนัสในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจกระทบถึงการลงทุนใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
หน้า 17
ที่มา : matichon.co.th