มาตรฐานแรงงานสากล ปัญหาการจ้างงานชั่วคราว และบทบาทสหภาพแรงงาน ตอน 1
เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 51 ที่ศูนย์ฝึกอบรมชุมชนน้ำใจและไมตรี จ.สุพรรณบุรี ศูนย์กลางศึกษาสหภาพแรงงาน, โครงการรณรงค์สากล ICEM เรื่องปัญหาการจ้างงานชั่วคราว และโครงการ ICEM MNCs & Social Dialogue ได้ทำการจัดเสวนาเรื่อง “มาตรฐานแรงงานสากล ปัญหาการจ้างงานชั่วคราว บทบาทสหภาพแรงงาน” โดยมีการเสวนาในประเด็นของปัญหาสหภาพแรงงานและปัญหาการต่อสู้ของแรงงานจ้างเหมาค่าแรง
สหภาพแรงงานแท่นขุดเจาะน้ำมัน CUEL/Chevron ชุมนุมระหว่างการนัดหยุดงานเพื่อประท้วงปัญหาอุบัติเหตุและการจ้างงานเหมาค่าแรงจำนวนมาก (แฟ้มภาพ)
สถานการณ์แรงงานและการเจรจาต่อรองร่วมในไทย
บุญยืน สุขใหม่ ประธานสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชา ITF และเลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ได้กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์แรงงานในปัจจุบัน โดยสถานการณ์ล่าสุดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - กันยายน 2550 มีจำนวนสหภาพแรงงานที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงนี้ถึง 106 สหภาพแรงงาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีสหภาพแรงงานถูกยุบและล่มสลายถึง 154 แห่ง และในช่วงระหว่างตุลาคม 2550- กรกฎาคม 2551 พบว่ามีสหภาพแรงงานเกิดใหม่ 71 สหภาพ ในขณะที่ 70 สหภาพถูกยุบโดยการถอนทะเบียนของกระทรวงแรงงาน
อัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน: 330,000 คน (กำลังแรงงานการผลิต: 36 ล้านคน) โดยจำนวนของสหภาพแรงงานประเภทสถานประกอบการนั้นมี 1,243 แห่งนับแต่ปี พ.ศ. 2518 มีจำนวนสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรม 16 องค์กร และมีจำนวนสมาพันธ์ 12 องค์กร
ทั้งนี้จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลไทยไม่ยอมรับรองอนุสัญญาแรงงานหลักหมายเลข 87 และ 98 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่สำคัญที่สุดว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองเสรีภาพการรวมกลุ่ม การจัดตั้งสหภาพแรงงาน และการเจรจาต่อรองร่วม
โดยสถานการณ์ของลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทรวมถึงคนงานเหมาช่วงและเหมาค่าแรงนั้น ยังคงถูกกีดกันในการเข้าร่วมสหภาพแรงงาน ทั้งลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ เช่นลูกจ้างโรงพยาบาลรัฐ ครู มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรม ยังไม่มีการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน และลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานรัฐรวมถึงโรงพยาบาลเหล่านั้น ไม่ได้รับการคุ้มครองแม้แต่สิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้ลูกจ้างต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่เลวร้าย ไม่มีแม้แต่ประกันสังคม
ทั้งนี้ในปัจจุบันพบว่ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของงานจ้างเหมา และนายจ้างได้ใช้กลยุทธ์ในการแบ่งแยกระหว่างคนงานประจำและคนงานจ้างเหมาออกจากกันเพื่อไม่ให้มีการรวมตัว
ซึ่งประมาณการกันว่าขณะนี้จำนวนลูกจ้างชั่วคราว/เหมาค่าแรง: 5 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 40% ของลูกจ้างที่ทำงานในภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ โดย 80% ของลูกจ้างชั่วคราวเป็นคนงานหญิง คนงานส่วนใหญ่ถูกจ้างผ่านบริษัทเหมาค่าแรงซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมสหภาพแรงงาน ทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงสภาพการจ้างของสหภาพแรงงาน นอกจากนี้พบว่าคนงานอพยพ พม่า เขมร ลาว ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้นสวนใหญ่ก็ทำงานในลักษณะลูกจ้างชั่วคราวทั้งสิ้น
และยังพบอีกว่าในปัจจุบันอัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการปิดงานสมาชิกสหภาพแรงงาน เพื่อบังคับให้สหภาพแรงงานถอนข้อเรียกร้องและลดสวัสดิการของคนงาน ส่งผลให้มาตรฐานแรงงานตกต่ำ รวมถึงมาตรฐานสุขภาพความปลอดภัยของคนงานความแตกต่างด้านค่าจ้าง สวัสดิการ มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน ระหว่างคนงานประจำและลูกจ้างชั่วคราวและเหมาค่าแรง
ในปัจจุบันนี้พบว่าบริษัทนายหน้ากำลังเติบโตและขยายตัวอย่างตัวเนื่อง ตัวอย่างเช่น บริษัทอเดคโค ครอบคลุมการจ้างงานทั้งฝ่ายผลิตและสำนักงานกำลังเติบโตในทุกสาขาอุตสาหกรรม และบริษัทแมนเพาเวอร์ซึ่งครอบคลุมการจ้างงานฝ่ายผลิตเป็นหลักและกำลังขยายตัวทุกอุตสาหกรรมเช่นกัน
ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเหมาค่าแรงเป็นจำนวนมาก ก็อาทิเช่น อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, อิเลคทรอนิคส์, ยานยนต์, ยาง, ปิโตรเลียม, แก๊ส, กระดาษ เป็นต้น
โดยบุญยืนเล่าต่อไปว่าได้เคยตรวจสอบงบดุลของบริษัทเหมาค่าแรงแห่งหนึ่งพบว่า มีผลตอบแทนต่อหุ้นกำไรสูงมาก และบริษัทเหมาค่าแรงหลบเลี่ยงกฎหมายโดยการปิดกิจการและเปิดใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบที่มีต่อลูกจ้างและการตรวจสอบจากภาครัฐ รวมถึงมักจะไม่มีสินทรัพย์ที่สามารถนำไปขายทอดตลาดได้หากแรงงานฟ้องร้องแล้วชนะ พบว่าเมื่อถึงท้ายที่สุดแล้วเมื่อชนะทางข้อกฎหมายแล้ว เอาเข้าจริงแรงงานที่ได้ค่าชดเชยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากบริษัทนายหน้าเหล่านี้พบว่ามีน้อยมากจนแทบไม่มีเลย
นอกจากนี้ยังพบว่ามีการจ้างงานที่ไม่มั่นคง มีสัญญาระยะสั้นหรือสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลา ในธุรกิจประเภทต่างๆ เช่น งานก่อสร้าง, คนงานที่ทำงานดูแลสายส่ง, คนอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าตามบ้าน, คนเก็บค่าไฟตามบ้าน, คนงานเติมน้ำมันรถตามปั๊ม, ร้านอาหารทั่วประเทศ, คนงานตามบ้าน, แรงงานเด็กในสนามกอล์ฟ และงานอันตรายอื่นๆ เป็นต้น
รวมถึงการจ้างงานนักเรียน-นักศึกษา ในลักษณะการทำงานครึ่งเวลา (Part Time) โดยเฉพาะภาคบริการและค้าปลีก เช่น TESCO LOTUS, BIG C, Supermarket เป็นต้น และการรับนักศึกษาฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม
โดยบุญยืนได้ยกกรณีตัวอย่างการรับนักศึกษาฝึกงานของบริษัทอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่มักจะรับนักศึกษาฝึกงานหมุนเวียนกันเข้ามาเป็นช่วงๆ เพื่อลดต้นทุนการจ่ายเงินเดือนหรือสวัสดิการต่างๆ ทั้งนี้นักศึกษาฝึกงานเหล่านี้มักจะไม่มีสวัสดิการคุ้มครอง และมีปัญหาที่ตามมาแก่ตัวเด็กไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพหรือความปลอดภัยในโรงงาน
สถานการณ์การจ้างงานชั่วคราวภายหลังการออกกฎหมายใหม่ (พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับปี 2551) พบว่ามีการจ้างงานชั่วคราวแทนการจ้างงานแบบประจำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสถานประกอบการมีมักจะมีการจัดทำใบสั่งงาน (Jobs Descriptions) แบบใหม่เพื่อแสดงถึงลักษณะงานที่แตกต่างกันระหว่างงานของลูกจ้างประจำและงานของลูกจ้างเหมาค่าแรง โดยนายจ้างมักจะใช้สัญญาการจ้างงานมีระยะเวลาสั้นลง - เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยให้กับคนงาน
รวมถึงการที่นายจ้างละเมิดกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิแรงงานของคนงานจ้างเหมา คนงานไม่มีสหภาพแรงงานเป็นที่พึ่งในการต่อสู้ ทำให้ใช้วิธีการฟ้องศาลมากขึ้น คนงานถูกเลิกจ้าง หมดทรัพย์ไปกับการต่อสู้ในศาลซึ่งมีกระบวนการที่ยืดเยื้อยาวนาน นอกจากนี้พบว่าการตีความข้อความในกฎหมายก็เป็นไปอย่างครอบจักรวาล
เช่นมาตราใน 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็น ผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ทั้งนี้ในเรื่องอุปสรรคของขบวนการสหภาพแรงงาน พบว่าเกิดการขยายตัวของงานจ้างเหมาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สหภาพแรงงานส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายหรือแนวทางในการทำงานเรื่องนี้ โดยบริษัทปฏิเสธการเจรจากับสหภาพแรงงานโดยอ้างว่าเป็นอำนาจของฝ่ายจัดการในการจ้างงานแบบไหนก็ได้หรือเลิกจ้างใครก็ได้
จำเป็นอย่างยิ่งที่สหภาพแรงงานจะต้องให้ความสำคัญกับงานด้านการศึกษา จัดการศึกษาให้กับสมาชิกและคนงานโดยไม่แบ่งแยก เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นคนงานเหมือนกัน เท่าเทียมกัน และสหภาพแรงงานมีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิประโยชน์ของคนงานทุกคน
กรณีศึกษาการยกเลิกเหมาค่าแรงในสถานประกอบการต่างๆ
ยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 180 คน
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
โดยยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 191 คน
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
ยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 70 คน
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
(มีการชุมนุมยืดเยื้อของคนงานหน้าโรงงาน 2 สัปดาห์)
สหภาพแรงงานโทเออิเดนชิ ยื่นข้อเรียกร้องพร้อมกับพนักงานเหมาค่าแรงให้ปรับบรรจุพนักงานเหมาค่าแรงเป็นพนักงานประจำได้ในเดือนมกราคม 2551 จำนวน 65 คน
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
โดยยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 50 คน
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
โดยยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 200 คน
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการจ้างานเหมาค่าแรงในสถานประกอบการ บริษัทฯ ตกลงยกเลิกการจ้างงานเหมาค่าแรงโดยบรรจุเป็นพนักงานประจำรายเดือนทั้งหมดประมาณ 30 คนในปี 2547
ต่อมาบริษัทมีการจ้างพนักงานงานเองแต่เป็นการจ้างงานแบบลูกจ้างรายวัน และทำสัญญาจ้างแรงงานแยกต่างหากโดยได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ต่างกัน
ต่อมากรรมการลูกจ้างได้เสนอให้ยกเลิกการจ้างงานแบบรายวันเป็นรายเดือนทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 30 คน และต่ออายุงานพนักงานที่เกษียนแล้วทำสัญญาเป็นปีต่อปี
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
กำหนดสัดส่วนพนักงานเหมาค่าแรงที่ 20 % และพนักงานเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานประจำทุกระการ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
นายจ้างปรับเพิ่มค่าเช่าบ้านให้พนักงานเหมาค่าแรงให้เท่ากับพนักงานประจำของบริษัทฯ คนละ 2500 บาทต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
โดยยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2551 บรรจุเป็นพนักงานประจำ 200 คน และทดลองงานพนักงานที่มีอายุเกิน 35 ปี และยังไม่ผ่านการเกณฑ์ทหารจำนวนประมาณ 200 คน ลูกจ้างที่ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วและอายุไม่เกิน 35 ปี บริษัทบรรจุเป็นพนักงานประจำทั้งหมด ส่วนพนักงานที่อายุเกิน ๓๕ บริษัทฯจ้างเองและทดลองงาน 120 วัน คนที่ยังไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร บริษัทฯ จ้างเองต่อไปจะปรับบรรจุให้เมื่อผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว
หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ
**ก่อนที่จะมีการยื่นข้อเรียกร้องร่วมจะต้องมีการจัดกลุ่มศึกษาระหว่างพนักงานเหมาค่าแรงงานกับสหภาพแรงงานก่อนอย่างน้อย ๒-๓ ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจเรื่องขั้นตอนการต่อสู้และขั้นตอนของกฎหมาย ** การทำงานจะไม่ทำเฉพาะสหภาพแรงงานและเหมาค่าแรงเท่านั้น จะมีการประสานงานกับองค์กรพันธมิตรคือทุกสหภาพแรงงานที่อยู่ในพื้นที่และใกล้เคียงช่วยกันรณรงค์ และสนับสนุนเป็นกำลังใจให้กัน
ข้อมูลจากคุณบุญยืน สุขใหม่
|
ที่มา : prachatai.com