ไขข้อข้องใจจากวงสัมมนา กม.ใหม่ข้าราชการดีจริงหรือ?


585 ผู้ชม


ไขข้อข้องใจจากวงสัมมนา กม.ใหม่ข้าราชการดีจริงหรือ?




ขณะที่ระเบียบราชการพลเรือน 2551 กำลังขับเคลื่อนสู่การจัดตำแหน่ง ตามโครงสร้างใหม่ ตามบัญชีจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนเข้าประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งในแต่ละกระทรวง
       
        รวมถึงการปรับปรุงสายงานเดิมที่มีอยู่ 465 สายงาน เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้การบริหารงานบุคคลของภาคราชการในอนาคตมีประสิทธิภาพมากขึ้น
       
        คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ได้ร่วมกับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ ได้จัดสัมมนา "โครงสร้างสายงานและตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน 2551 ทำให้ข้าราชการก้าวหน้าจริงหรือ"
       
        โดย ศ.ดร.ชาติ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และ เจษฎา ประกอบทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารการปรับเปลี่ยนระบบบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงาน ก.พ.
       
       ทั้งนี้ได้รวบรวมข้อซักถามจากผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
       
       1.ในการจะข้ามแท่งหรือตำแหน่งเพื่อความหน้าในงานเงื่อนไขอะไรบ้าง
       
       เจษฎา ให้ข้อมูลว่า มี 3-4 เงื่อน อย่างระยะเวลาในการรับราชการ สมรรถนะในความหมายของคุณลักษณะของคน เช่น การแสดงออกที่มุ่งมั่นให้สำเร็จ ราชการต้องการ เซอร์วิสมายด์ความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกประเมินด้วยผู้บังคับบัญชา จะเจริญก้าวหน้าอย่างไร
       
       ซึ่งจะแบ่งเป็นสมรรถนะที่ใช้ร่วมกันและสมรรถนะเฉพาะกลุ่ม และการนำสมรรถนะมาใช้นั้นแบ่งเป็น 2 ช่วงอีกเช่นกันคือการนำมาใช้เลยกับการฝึกคนก่อนแล้วค่อยนำมาใช้ สมรรถนะ ฉะนั้นคนทำงาน ต้องสร้างงานให้มีคุณค่าเพื่อแลกเปลี่ยนกัน
       
       2.ระเบียบราชการพลเรือนกับการพิจารณาในโลกความเป็นจริงต่างกันหรือไม่
       
       เจษฎา บอกว่า วางใจให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการภายในเอง ทั้งการเลื่อนขั้นหรือระดับ การส่งอบรมหลักสูตรต่างๆ แต่ กพ.ไม่ใช่ว่างกติกาแล้วปล่อยให้ดำเนินการเอง กฏหมายใหม่มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมหรือ ก.พ.ค. (ล่าสุดได้มีการแต่งตั้งแล้ว ได้แก่ 1.นางจรวยพร ธรณินทร์ 2.นางสุภาวดี เวชศิลป์ 3.นายภิรมย์ ศรีจันทร์ 4.นายบุญเลิศ ลิ้มทองกุล 5.นายภิรมย์ สิมะเสถียร 6.นายศราวุธ เมนะเศวต 7.นายไพศาล วิเชียรเกื้อ) ขึ้นมา ให้ข้าราชการที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเข้าร้องเรียน
       
       3.ตัวชี้วัด หรือ KPI ความยากงานแต่ละประเภทงานจะเท่าเทียมกันหรือไม่
       
       ดร.ชาติชาย การทำเคพีไอระดับบุคคล ต้องถอดมาจากชี้วัดของระดับใหญ่อย่างกรม กระทรวง เพราะงานของแต่กระทรวงความซับซ้อนไม่เท่ากัน
       
        ปัญหาเคพไอบุคคล มี 2 ประเด็น การพิจารณากำหนดเคพีไอ มีการตรวจวัดชัดเจนหรือไม่ บ้างครั้งไม่ได้นำผลของงาน พันธกิจออกมาเป็นตัวชี้วัด เอากระบวนการมาบ้าง เช่น ของขายดีกำไรไม่ชี้วัด ขายได้เยอะแต่กำไรน้อยมาชี้วัด ฉะนั้นไม่เป็นธรรม
       
        ต้องมีกลไกมีกรรมการ คนนอกหรือภายใน มาตรตรวจสอบ ชี้วัดของคนแต่ละกลุ่มอธิบายได้ไหม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ให้โจทย์ง่ายหน่อย เหล่านี้เป็นการช่วยเรื่องความเป็นธรรม สรุป 1.เคพีไอ ชัดเจนต้องยึดเหตุผลชำนาญ 2.มีกลไกล
       
        น้ำหนักตกที่ความสามารถของ HR แต่ละกรม เจ้าหน้าที่ต้องมีความสามารถ ไม่รู้ไปไหนก็มาเป็นผู้อำนวยการการเจ้าหน้าที่ กรมเจ้าหน้าที่ต้องเก่ง ถ้าไม่เก่งคนในกรมจะเสียประโยชน์ไปโดยไม่รู้ตัวและไม่เกิดความเป็นธรรม
       
       4.การขึ้นเงินเดือนเริ่มใช้วันที่ 1 เมษ. 2552 จะเกิดความเป็นธรรมในแต่ละกรมหรือไม่
       
        เจษฎา กล่าวว่า ในช่วงแรกที่ใช้กติกา ยังใช้ในภาพโดยรวมก่อน เครื่องมือที่จัดไว้ให้ มี 2-3 ลักษณะที่เหมาะกับงานแต่ละลักษณะ ส่วนการกระจายตัวของการประเมินเดิมมีขั้นครึ่ง สองขั้น จะมีการจัดการที่มากกว่านั้น แต่ยังไม่มีข้อสรุปออกมาชัดเจนว่าจะออกมาแบบไหน
       
       แต่ที่เตรียมไว้คือโปรแกรมที่ให้เจ้าหน้าที่ทำได้ กลไกทางคอมพิวเตอร์ใช้ เช่น กรมเล็ก มีคน 100 คนประเมินออกมาเป็นอย่างนี้จะกระจายตัวอย่างไรบนเงิน 3% จะเลือกฟรอสหรือกระจายตามความจริงจะกระจายตัวตามความเป็นจริงหรือไม่ เช่น มีคนเก่งมาก คนล่างก็จะติดเลย ช่วงแรกอาจต้องกระจายตัวลักษณะฟรอสไว้ก่อน
       
       5. ถ้าการประเมินไม่มีมาตรฐานเดียวกันในแต่ละกรม จะมีเครื่องมือปรับมาตรฐานหรือไม่
       
        ยากตรงการพิสูจน์ว่าแต่ละกรมกอง ประเมินง่ายหรืออยาก ซึ่งเป็นการจัดการงานภายใน
       
       6.ผู้บริหารระดับสูงจะต้องถูกคัดเลือก
       
       ศักยภาพของการเป็นผู้นำคนได้ต้องมองในระดับบน ถ้ามองจากภายนอกอาจไม่เห็นอะไร แต่ต้องมีแรงที่เป็นจุดเด่นของคน ทุกคนเป็นแคนิเดท แท่งวิชาการก็ใช่ และแท่งทั่วไปก็เปิดตรงที่เน้นทักษะ อย่างกรมศิลปากร ที่ไม่ต้องการดีกรี สามารถขยับไปแท่งอำนวยการได้ เป็นโอกาสของทุกแท่ง แต่แท่งวิชาการอาจมีโอกาสที่มากกว่า ด้วยสภาพของสังคมที่เป็นโนเลจเบส

ที่มา : โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์


อัพเดทล่าสุด