ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - เรื่องที่ฝ่ายบุคคล ควรรู้


780 ผู้ชม


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - เรื่องที่ฝ่ายบุคคล ควรรู้




 

โดยหลักแล้ว ลูกจ้างที่มีรายได้อันเนื่องมาจากการทำงาน จะต้องนำรายได้นั้นมาคำนวณเพื่อเสียภาษีอากร ไม่ว่าผู้มีเงินได้จะจ่ายภาษีนั้นเอง หรือผู้อื่นออกแทนให้ก็ตาม
เงินได้พึงประเมิน
เงินได้พึงประเมิน มาตรา40 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินได้ที่ได้อันเนื่องมาจากการทำงานได้แก่
1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานโดยตรง
  • เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยวัด บำเหน็จ บำนาญ
  • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
  • เงินที่คำนวณจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
  • เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
  • เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชนใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องมาจากการจ้างแรงงานเช่นมูลค่าการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น
2.  เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานได้
  • ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
  • ค่าอุดหนุนในงานที่ทำงาน เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
  • ค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับงานให้
  • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
  • เงินที่ผู้จ่ายเงินได้ได้ชำระหนี้ใดๆซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
  • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการชั่วคราวหรือประจำ
แหล่งของรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
แหล่งในประเทศ
เกิดจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างที่อยู่ในประเทศไทย(หากเกิดจากแหล่งในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายในหรือนอกประเทศ และผู้มีเงินได้นั้นจะอยู่ในประเทศไทย หรือไม่ก็ตาม)
แหล่งนอกประเทศ
เกิดจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีในกรณีต่อไปนี้
  • ผู้มีเงินได้เป็น“ผู้อยู่ในประเทศไทย”ในปีภาษีนั้นในชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลารวมกันถึง 180 วัน
  • ผู้มีเงินได้ ได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย

 ที่มา : สมาชิก HR

อัพเดทล่าสุด