ทะเบียนลูกจ้าง - กฎหมายแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.112 ได้กำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้างเป็น ภาษาไทย และให้เก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ โดยจะต้องมีรายการครบถ้วนอย่างน้อยตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.113 กำหนด ได้แก่
1. ชื่อตัวและชื่อสกุล
2 เพศ
3. สัญชาติ
4. วันเดือนปีเกิด หรืออายุ
5. ที่อยู่ปัจจุบัน
6. วันที่เริ่มจ้าง
7. ตำแหน่งหรืองานในหน้าที่
8. อัตราค่าจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
9. วันสิ้นสุดของการจ้าง
แนวทางปฏิบัติสำหรับนายจ้าง
- ต้องจัดทำทะเบียนลูกจ้าง เมื่อมีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และภายใน 15 วันนับจากวันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน
- ทะเบียนลูกจ้างจะต้องจัดทำเป็นภาษาไทย เท่านั้น และเก็บไว้ที่สถานประกอบการของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ
- การเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนลูกจ้าง นายจ้างต้องแก้ไขเพิ่มเติมทุเบียนลูกจ้างให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น หรือภายใน 15 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้นายจ้างทราบ
- นายจ้างต้องเก็บทะเบียนลูกจ้างไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่วันสิ้นสุดการจ้างงานลูกจ้างแต่ละราย หรือจนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีที่มีข้อพิพาทแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ หรือมีการฟ้องร้องในคดีแรงงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าว
ผลของการที่นายจ้างไม่ได้จัดทำทะเบียนลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด
หากนายจ้างไม่ได้จัดทำทะเบียนลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ที่มา : สมาชิก HR