การโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ลูกจ้าง - กฎหมายแรงงาน


1,266 ผู้ชม


การโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ลูกจ้าง - กฎหมายแรงงาน




การโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้าง เป็นอำนาจในการบริหารจัดการของนายจ้าง   แต่ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังนี้

1.  ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า ห้ามนายจ้างโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ลูกจ้าง

2.   ผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนนั้นต้องไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับลดลง

3.   ตำแหน่งที่ถูกโยกย้ายไปนั้นต้องไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม

4.   ค่าจ้างที่จะได้รับหลังจากการโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่แล้วจะต้องไม่ลดลง

ข้อสังเกต

  • การทำสัญญาจ้างโดยปกติทั่วไป   หากมีการกำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง หรือเป็นการเจาะจงอย่างชัดเจนว่า  จะรับลูกจ้างเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งงานใดตำแหน่งหนึ่งเป็นการเฉพาะตลอดไป   เช่น ตำแหน่งงานที่เป็นวิชาชีพพิเศษ   หรือผู้ที่มีทักษะเฉพาะด้าน   กรณีเช่นนี้  หากในสัญญาผูกมัดกันไว้เช่นนั้น  การที่นายจ้างจะไปโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่โดยลูกจ้างไม่ยินยอมด้วย   ก็อาจเป็นการ "ผิดสัญญาจ้าง" ได้
  • "สัญญาจ้าง" ต่างจาก "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง" เพราะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง  เป็นสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างทั้งหมด   แต่สัญญาจ้างเป็นเรื่องของข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแต่ละคน
  • อำนาจในการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้าง เป็นอำนาจในการบริหารจัดการของนายจ้าง   ดังนั้น  นายจ้างจึงต้องพยายามสงวนสิทธินี้เอาไว้   ไม่ควรยินยอมหรือทำข้อตกลงสภาพการจ้างในการที่จะจำกัดอำนาจของตนเองในเรื่องนี้ไว้อย่างยิ่ง
    ที่มา : สมาชิก HR

อัพเดทล่าสุด