เงินประกันการทำงาน - กฎหมายแรงงาน


1,122 ผู้ชม


เงินประกันการทำงาน - กฎหมายแรงงาน




 

  • "เงินประกันการทำงาน" เป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกจ้างเพื่อเป็นประกันการทำงานของลูกจ้างหรือเพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่ลูกจ้างอาจจะทำให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานกับนายจ้าง
  • การเรียกเงินประกันการทำงาน  อาจเรียกเก็บคราวเดียวเมื่อเริ่มเข้าทำงานก็ได้    หรือหักจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับเป็นงวดๆจนกว่าจะครบก็ได้ แต่กรณีเช่นนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน(พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.76(4)
งานที่นายจ้างมีสิทธิเรียกเงินประกันการทำงาน
  • ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้  ได้แก่
  • งานสมุห์บัญชี
  • งานพนักงานเก็บและหรือจ่ายเงิน
  • งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้างหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง
  • งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน
  • งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ
  • งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์  ให้เช่าซื้อ  ให้กู้ยืม  รับฝากทรัพย์ รับจำนำ  เก็บของในคลังสินค้า รับประกันภัย  รับโอน หรือรับจัดส่งเงินหรือการธนาคาร  ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น
 จำนวนเงินประกันที่นายจ้างสามารถเรียกหรือรับได้
ไม่เกิน  60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับอยู่ในวันที่นายจ้างรับเงินประกัน
กรณีเงินประกันมีจำนวนลดลง  เนื่องจากนายจ้างได้หักเงินประกันเพื่อชดใช้ค่าเสียหายตามเงื่อนไขของการเรียกหรือรับเงินประกัน  นายจ้างสามารถเรียกหรือรับเงินประกันเพิ่มได้  การเรียกนั้น เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินอัตราหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับอยู่ในวันที่นายจ้างรับเงินประกัน
 
เงินประกันจะต้องเก็บไว้ที่ใดและอย่างไร
  • นายจ้างจะต้องนำเงินประกันไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินตามที่กฎหมายกำหนดโดยจัดให้มีบัญชีของลูกจ้างแต่ละคน   และต้องแจ้งชื่อธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่นำเงินไปฝาก  พร้อมชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีให้ลูกจ้างทราบเป็นหนังสือ ภายใน 7 วันนับจากวันรับเงินประกันจากลูกจ้าง
 นายจ้างจะต้องคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างเมื่อใด
นายจ้างจะต้องคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย(ถ้ามี)ให้แก่ลูกจ้าง ภายใน 7 วันนับจากเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นสุดลง(พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.10 ว.2)
ผลของการที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันแก่ลูกจ้างภายในกำหนด
  • ต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ(พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.144)
  • นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างนับจากวันที่ผิดนัดในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ใน
    ระหว่างที่ผิดนัด (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.9)
  • หากการผิดนัดนั้นเป็นการจงใจที่จะไม่คืนหรือไม่จ่ายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  นายจ้างจะต้องเสียเงินเพิ่มแก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเจ็ดวัน(พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานม.9 ว.2)

   ที่มา : สมาชิก HR

อัพเดทล่าสุด