การหยุดกิจการชั่วคราว - กฎหมายแรงงาน


623 ผู้ชม


การหยุดกิจการชั่วคราว - กฎหมายแรงงาน




พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ม.75 ได้กำหนดว่า หากนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการเป็นการชั่วคราวโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่จากเหตุสุดวิสัยแล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 50  ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับอยู่ก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดเวลาที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงานนั้น

กรณีที่นายจ้างจะใช้สิทธิหยุดกิจการชั่วคราวนี้  นายจ้างจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบเป็นการล่วงหน้าก่อนเริ่มหยุดกิจการ ทั้งนี้ กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าให้ล่วงหน้านานเท่าใด

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินในการหยุดกิจการชั่วคราวร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงานนั้น   เหตุที่ทำให้ต้องหยุดกิจการชั่วคราวนั้นต้องเป็น"เหตุสุดวิสัย"

ที่ไม่อาจป้องกันได้  กรณีเช่นนี้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง

ความจำเป็นเนื่องจากถูกสถานการณ์บังคับ

ต้องเป็นสถานการณ์ที่ถูกบังคับหรือโดนบงการให้กระทำ  หรือเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลหรือปัจจัยภายนอกที่ทำให้จำเป็นต้องกระทำการนั้น

หรือในบางกรณีก็เป็นความจำเป็นที่ต้องกระทำเนื่องจากเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายหรืออาจทำให้เกิดความเสียหายซึ่งจำเป็นจะต้องตัดสินใจต้องกระทำการนั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 1966/2546

ลูกค้าของนายจ้างยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าจากนายจ้างเป็นจำนวนมาก หากนายจ้างยังผลิตสินค้าต่อไป

ก็ไม่แน่นอนว่า จะจำหน่ายสินค้าได้หรือไม่ การผลิตต้องมีเงินลงทุน  ย่อมเสี่ยงต่อการขาดทุนอันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานะทางการเงินและความคงอยู่ของกิจการ  กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นความจำเป็นตามความหมายของ ม. 75 แล้ว การที่นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อรอคำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหรือหาลูกค้ารายใหม่ทดแทน  นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่หยุดกิจการนั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 8193/2543
กาหยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม. 75 นั้น มุ่งถึงตัวกิจการงานเป็นสาเหตุ มิได้มุ่งถึงให้เลือกปฏิบัติกับบุคคล การที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนหยุดงานเป็นการชั่วคราว เนื่องจากงานในบางส่วนลดน้อยลง ซึ่งก็มีผลโดยตรงถึงคน คือมีงานไม่เพียงพอให้ลูกจ้างในส่วนดังกล่าวทำ เมื่อนายจ้างประสบปัญหาด้านการตลาด คำสั่งซื้อสินค้าลดลงมาก ทำให้มีคำสั่งซื้อลดลง ถือว่าเป็นเหตุจำเป็นที่นายจ้างสามารถสั่งให้หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวได้

ที่มา : สมาชิก HR

อัพเดทล่าสุด