ความสำคัญของกฎหมายแรงงานไทย
กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐ บัญญัติออกมาเพื่อให้สอดคล้องและเกิดความเป็นธรรมต่อ นายจ้างและลูกจ้าง โดยอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันและเขตพื้นที่ใกล้เคียงกัน
อำนาจภายในองค์กร ถูกกำหนด 2 แบบ คือ
- อำนาจทางนิติบัญญัติ เท่านั้นที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
- อำนาจในทางการบริหาร เป็นอำนาจภายในองค์กร
กฎหมาย ดังกล่าวจึงไม่อาจก้าวล่วง หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า อำนาจในการจัดการ คือ อำนาจในการบริหารภายในที่ผู้บริหารกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เช่น การรับสมัคร การจ้างงาน การมอบหมายงาน การโยกย้ายงาน เป็นต้น
ข้อควรรู้สำหรับเจ้าของกิจการองค์กรขนาดเล็ก ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้สนใจฯ พื้นฐานของเจตนารมณ์ของกฎหมาย บัญญัติไว้ ในกรณีใด และไม่ได้บัญญัติไว้ในกรณีใด คือ ช่องโหว่ของกฎหมาย
ปัญหาของ กฎหมายแรงงาน ระหว่างนายจ้าง กับ พนักงาน (ลูกจ้าง)
เป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน ที่ผู้บริหารจำต้องนำหลักเศรษฐศาสตร์ การปกครอง การประนีประนอม การเจรจาเข้ามาช่วยประสาน ในระบบการบริหารการจัดการภายในองค์กร ให้เกิดความนิ่มนวล และส่งผลต่อระบบการบริหารงานบุคคลที่เหมาะสม และเป็นแบบอย่างที่ดี และมีบทลงโทษผู้กระทำความผิด นอกกรอบ
การศึกษาความสำคัญของกฎหมายแรงงานไทย ที่ใช้ในปัจจุบัน
มาจากพื้นฐาน มาตรฐานแรงงานสากลโลก กำหนดทั้ง มาตรการควบคุมและสวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงาน ตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน จนถึงการเลิกจ้าง ในกรณีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่เป็นธรรม
โดยเจตนาผู้เขียน มีความประสงค์ เขียนบทความในเชิงภาคปฏิบัติ นำไปปฏิบัติในองค์กร อย่างถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย ในแต่ละตอนโดยนำหลักวิชาการ ทฤษฎี หลักกฎหมาย แนวคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐาน กำหนดไว้ชัดเจน นำมาจำแนกและชี้ข้อสังเกตให้เห็นชัด สิทธิและหน้าที่ ของ นายจ้าง และ พนักงาน ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด อันเป็นองค์ความรู้ ของสาขากฎหมายแรงงาน ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด ในภาคปฏิบัติ ให้เกิดเป็นมาตรฐานในองค์กร และการวางแผน การป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดในอนาคต ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายเป็นตอนๆ น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านแรงงานทุกคน เพื่อเป็นวิทยาทาน
บทความดังกล่าว เป็นความเห็นเชิงส่วนตัว และถูกคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
โดย : นายเชิดพงศ์ ดิลกแพทย์ นบ, นบท, ศศม.(สาขาการจัดการแรงงานและสวัสดิการสังคม)
อาชีพ ทนายความ โทร 01-252-6759
ที่มา : สมบัติ ลีกัล