หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 3


517 ผู้ชม


หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 3




หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง

ตอนที่ 3.........

 

4. เนื้อหาของถ้อยคำที่เลือกใช้ในข้อบังคับการทำงานต้องตรงตามความมุ่งหมายที่ต้องการจะสื่อจริง ๆ

 

            มีสถานประกอบการแห่งหนึ่งประกอบธุรกิจผลิตวัตถุไวไฟเขียนในข้อบังคับการทำงานมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า “ห้ามพนักงานสูบบุหรี่ในที่ทำงาน” ผู้เขียนขอถามว่าการเขียนเช่นนี้สื่อความหมายที่ผู้เป็นนายจ้างต้องการสื่อไปยังบรรดาลูกจ้างในสถานประกอบการจริง ๆ หรือไม่ คำตอบคงไม่ใช่เพราะเจตนารมณ์ที่แท้เป็นเรื่องที่นายจ้างต้องการป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัยในสถานประกอบการเพราะมีโอกาสเกิดได้สูง แม้มีความร้อนหรือประกายไฟเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการเขียนให้ถูกต้องตามความประสงค์ที่จะป้องกันอัคคีภัยควรเขียนว่า “ห้ามทำให้เกิดประกายไผ” น่าจะถูกต้องและครอบคลุมมากกว่าเพราะห้ามไปถึงบุคคลใด ๆด้วย ซึ่งอาจเป็นบุคคลภายนอกผุ้เข้าเยี่ยมเยือนโรงงานด้วยก็ได้

            มีสถานประกอบการแห่งหนึ่ง ร่างระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการช่วยเหลือพนักงานให้ทดรองเงินเดือนล่วงหน้าได้และต้องใช้คืนภายใน 4 เดือนโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยมีวัตถุประสงค์บรรเทาความเดือดร้อนแก่บุคคลภายในครอบครัวของพนักงาน ในกรณีเจ็บป่วย และในการศึกษาเล่าเรียนของบุตร ในนิยามศัพท์ของคำว่าบุคคลในครอบครัวนั้น หมายถึง บิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตรของพนักงานเท่านั้น มีการอภิปรายกันโดยมีประเด็นสำคัญว่า ความเป็นสามีภรรยาและบุตรของพนักงานนี้ต้องชอบด้วยกฎหมายคือมีการจดทะเบียนด้วยหรือไม่ มีกรรมการท่านหนึ่งแสดงความเห็นว่า การที่พนักงานจะจดทะเบียนหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญหรือเจตนารมณ์ของระเบียบนี้ ระเบียบนี้ต้องการช่วยเหลือพนักงาน บรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน เนื่องจากพนักงานมีพันธะทางจารีตประเพณีและศีลธรรมที่ต้องให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุคคลภายในครอบครัว ทั้งจากการสำรวจพบว่า มีพนักงานถึงร้อยละ 45 ที่อยู่กินฉันท์สามีภรรยากับคู่สมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนกัน หากวางเงื่อนไขว่าต้องจดทะเบียนสมรสจะมีพนักงานกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีสิทธิตามระเบียบนี้ทันที ที่ประชุมจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ให้นิยามศัพท์คำว่า “บุคคลในครอบครัว หมายถึง บิดามรดาของพนักงาน หรือสามี ภรรยา บุตรของพนักงานซึ่งอยู่ในความอุปการะของพนักงาน” ซึ่งก็สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของระเบียบอย่างแท้จริง

เรื่องโดย ....เกรียงไกร   เจียมบุญศรี

 

ที่มา : สมบัติ ลีกัล


อัพเดทล่าสุด