หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 5


594 ผู้ชม


หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 5




หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง

ตอนที่ 5

6. คงอำนาจการจัดการของนายจ้างให้มากที่สุด

            หัวข้อนี้จะเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญมากที่สุดของบทความนี้ ถือว่าเป็นหัวใจของบทความนี้ก็ว่าได้ คำว่าอำนาจจัดการภาษาอังกฤษใช้คำว่า MANAGEMENT RIGHT อาจเรียกว่าเป็นอำนาจปกครองบังคับบัญชาก็ได้ ซึ่งก็คืออำนาจของนายจ้างในการสั่งเกี่ยวกับการทำงาน การควบคุม การติดตามงานและการให้คุณให้โทษต่อลูกจ้าง ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างแล้วไซร้ไม่ถือว่ามีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน การสั่งดังกล่าวต้ออยู่ในขอบเขตของงาน เช่น คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการทำงาน คำสั่งกำหนดวันเวลาและสถานที่ทำงาน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2528 การให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เป็นอำนาจของนายจ้างและผู้บังคับบัญชาที่จะสั่งตามความเป็นจริงและตามสมควรแก่กรณี ลูกจ้างไม่มีสิทธิจะเลือกเวลาทำงานได้ตามความพอใจของตนเอง) ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงาน ในขอบเขตของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2525) ด้วย และยังต้องเป็นคำสั่งที่เป็นธรรม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2543 วินิจฉัยว่า การที่ผู้บังคับบัญชาให้ลูกจ้างซึ่งปกติมีหน้าที่รับ-ส่ง บรรจุน้ำมันลงถังไปตักน้ำมันและไขน้ำมันจากท่อรวมในโรงงานซึ่งมีน้ำมันสกปรกไหลผ่าน จึงเป็นกาสรสั่งให้ทำงานนอกหน้าที่ของลูกจ้าง ลายจ้างไม่เคยสั่งให้ผู้อื่นทำมาก่อน คำสั่งของผู้บังคับบัญชาจึงเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้างและเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม) ทั้งต้องเป็นคำสั่งที่ไม่พ้นวิสัยที่คนธรรมดาทั่วไปสมารถปฏิบัติตามได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2523 วินิจฉัยว่า คำสั่งให้ลูกจ้างเรียงอิฐให้ได้วันละ 8 คันรถเป็นการเกินความสามารถที่ลูกจ้างจะทำได้จึงมิใช่กรณีที่ลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนคำสั่ง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้) ส่วนอำนาจในการให้ความดีความชอบ (PROMOTION AND REWARD) เช่นการเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือการให้เงินโบนัสหรือรางวัลในการทำงาน เป็นต้น ล้วนแต่เป็นอำนาจเฉพาะของนายจ้างทั้งสิ้น ลูกจ้างจะก้าวล่วงในอำนาจดังกล่าวไม่ได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2528, 3823/2531) การสั่งที่อยู่นอกเหนือจากขอบเขตของงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างถือว่าเป็นการไม่ชอบ หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าจงใจขัดคำสั่งนายจ้างไม่ได้ เช่นการสั่งให้ลูกจ้างไปรับใช้นายจ้างส่วนตัวก็ดี (ฎีกาที่ 2695/2529) การให้ไปเบิกความเป็นพยานที่ศาลก็ดี (ฎีกาที่ 2828-2528/2525) การออกคำสั่งต่อลูกจ้างให้กระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างก็ดี (ฎีกาที่ 319/2531) ถือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ในการพิจารณาว่านายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาลูกจ้างหรือไม่ให้ดูว่านายจ้างมีข้อบังคับการทำงาน ระเบียบคำสั่ง กำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามวัน เวลา ที่กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่มาตามกำหนดวันเวลานั้น ต้องลากิจ ลาป่วยหรือลาลักษณะอื่นๆ หรือไม่ และหากลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานนายจ้างมีอำนาจลงโทษหรือไม่ ถ้าในระหว่างนายจ้างและลูกจ้างมีในสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วถือได้ว่านายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอย่างแน่นอน ในการเขียนข้อบังคับการทำงานที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างมากที่สุดก็คือ การเขียนให้นายจ้างมีอำนาจการจัดการหรืออำนาจปกครองบังคับบัญชาอย่างเต็มที่เพ่อประโยชน์แก่การบริหารเงินนั่นเอง

ที่มา : สมบัติ ลีกัล

แหล่งที่มา :  เรื่องโดย ....เกรียงไกร   เจียมบุญศรี

 

อัพเดทล่าสุด