ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 เรื่อง ฉ้อโกงแรงงาน


1,262 ผู้ชม


ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 เรื่อง ฉ้อโกงแรงงาน




บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการ ทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงาน โดยมีเจตนาแสวงหา ผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัว กรรมการของบริษัทเอง หรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำ โดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงาน ด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงาน แต่บริษัท หามีงานให้ทำไม่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะ กรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่ แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำ แต่ก็ยังร่วมดำเนินการ รับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความ จริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัคร บุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการ ของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัคร การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 วรรคแรก การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ 30 หุ้น เป็นเงิน 3,000 บาท มี ลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่าย ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงิน ค่าครองชีพเดือนละ135 บาท จึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงิน ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3 เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงิน ในการรับสมัครงานที่มิชอบ หรือจ่ายหรือตกลงหรือจะ จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็น ผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าว และในการกู้เงิน ดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ 135 บาทหรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ 54 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตรา ดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตาม กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะ พึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ ตอบแทนดังกล่าว จึงมีความผิดตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 5 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 ผู้ หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูก หลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่า ที่ตกลงกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ได้ กระทำในนามของบริษัท โดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดี การรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดี การคืนเงินประกันการ ทำงานเมื่อครบกำหนด 6 เดือน แล้วก็ดี ล้วนเป็นอุบาย ทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อ และมอบเงินให้แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวง ผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น มิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทำงาน เพราะความจริง แล้วไม่มีงานให้ทำ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดให้มีการ ทำงานในช่วงแรก ๆ และจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการ ในการหลอกลวงอย่างหนึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้ กรณีจึงมิให้เป็นการกระทำ เพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทง แล้วปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) ทั้งที่ ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงถึง 20 ปี นั้นไม่ถูกต้องที่ถูกต้องปรับบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) รวมจำคุกคนละ 50 ปี แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกา จึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติม โทษจำเลยทั้งห้า คงแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบท ให้ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ : 4279/2539


อัพเดทล่าสุด