ลักษณะทั่วไป : กฎหมายเกี่ยวกับศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน


814 ผู้ชม


ลักษณะทั่วไป : กฎหมายเกี่ยวกับศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน




ลักษณะทั่วไป :  กฎหมายเกี่ยวกับศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

 

 

ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ขึ้นด้วยเหตุผลว่า คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไป เพราะเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานหรือเกี่ยวกับสิทธิของนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งข้อขัดแย้งดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในปัญหาแรงงานร่วมกับผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง ทั้งการดำเนินคดีควรเป็นไปโดยสะดวก ประหยัด และรวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรม เพื่อให้คู่ความมีโอกาสประนีประนอมยอมความและสามารถกลับไปทำงานร่วมกันได้โดยไม่เกิดความรู้สึกเป็นอริต่อกัน

สำหรับความเกี่ยวข้องของบทบัญญัติของ ป.พ.พ. กับกฎหมายคุ้มครองแรงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ตลอดจนกฎหมายวิธีพิจารณาและศาลแรงงานนั้น ก็อธิบายได้ในเบื้องต้นว่า แม้ว่าบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะถูกร่างขึ้นก่อนกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ตลอดจนกฎหมายวิธีพิจารณาและศาลแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ตลอดจนกฎหมายวิธีพิจารณาและศาลแรงงานซึ่งจะเป็นกฎหมายที่เน้นหลักไปในทางกฎหมายมหาชนและวิธีพิจารณาความ แต่กฎหมายในกลุ่มเหล่านี้ก็ไม่ได้ยกเลิกบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องจ้างแรงงานส่วนใหญ่แต่อย่างใด บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนนี้ก็ยังมีผลใช้บังคับอยู่ (เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น มาตรา 14 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดว่า ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างให้ถูกต้องตามสิทธิและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น)

อ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร. ไผทชิต  เอกจริยกร , คำอธิบายกฎหมาย จ้างแรงงาน


อัพเดทล่าสุด