กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


774 ผู้ชม


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทย พ.ศ. 2499
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2521)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2537)

พระราชบัญญัติสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทย พ.ศ. 2499
วัตถุประสงค์
    เพื่อส่งเสริมและเป็นการช่วยเหลือคนไทยให้มีอาชีพเป็นหลักฐานเพิ่มขึ้น
สาระสำคัญ
    กำหนดให้เจ้าของสถานประกอบการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือธุรกิจตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาซึ่งมีคนงาน ตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป จะต้องจัดให้มีคนงานที่มีสัญชาติไทย เป็นจำนวนที่ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องไม่เกิน ร้อยละ 50 ของจำนวนคนงานทั้งหมด
พระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้มี 2 ฉบับ คือ
  1. พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทย พ.ศ. 2499 บังคับในท้องที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พ.ศ.2499 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2499 เป็นต้นไป
  2. พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือธุรกิจ ซึ่งจะต้องจัดให้มีคนงานที่มีสัญชาติไทยเป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าที่กำหนด พ.ศ. 2537 ใช้บังคับวันที่ 2 เมษายน 2537 เป็นต้นไป (ปัจจุบันใช้บังคับในท้องที่ กรุงเทพมหานคร)
พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ กำหนดให้เจ้าของกิจการซึ่งใช้คนงานตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป จะต้องจัดให้มีคนงานที่มีสัญชาติไทยเป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนคนงานทั้งหมด
ในกิจการ 9 ประเภท ดังนี้
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเชื่อมและชุบโลหะ
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การทอผ้าด้วยเครื่องจักร
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การทำบล็อก แกะตรา
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การทำรองเท้า
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การทำเครื่องเรือน
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การต่อ สร้าง ประกอบ แก้ไขหรือซ่อมแซมยานพาหนะหรืออุปกรณ์ยานพาหนะ
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้าง ประกอบ แก้ไขหรือซ่อมแซมเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องวิทยุ
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การทำไม้ขีด
ให้เจ้าของกิจการซึ่งใช้คนงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปดำเนินการ ดังนี้
1. แจ้งจำนวนคนงานภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีจำนวนคนงานถึง 10 คนขึ้นไป
2. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. จัดให้มีคนงานที่มีสัญชาติไทยเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนคนงานทั้งหมด
4. จัดให้มีทะเบียนคนงานเก็บไว้เป็นประจำ ณ สำนักงานหรือสถานประกอบการพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจได้ทุกเวลา ในเวลาราชการ
(กลับด้านบน)


พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2521)

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสงวนอาชีพซึ่งคนไทยทำได้ไว้สำหรับคนไทย
2. เพื่อควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวที่ขออนุญาตทำงานในประเทศไทย
3. เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการมีงานทำของประเทศ
    * คนต่างด้าว หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
    * ทำงาน หมายความว่า การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใด หรือไม่ก็ตาม
สาระสำคัญ
คนต่างด้าวจะทำงานได้ ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย เว้นแต่บุคคล ในคณะผู้แทนทางทูต ผู้แทนทางกงสุล ผู้แทนของประเทศสมาชิกและพนักงานองค์การสหประชาชาติ และทบวงการทำงานพิเศษ รวมทั้งผู้รับใช้ส่วนตัวผู้แทนดังกล่าว บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจตามที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ และบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา วัฒนธรรม ศิลป การกีฬา หรือกิจการอื่น ตามที่กำหนดไว้ในพระกฤษฎีกา ตลอดจนบุคคลซึ่รัฐบาลอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด
คนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตทำงานได้ในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ
1. คนต่างด้าวทั่ว ๆ ไป (ตามมาตรา 7) หมายถึงคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามา ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMGRANT VISA) เช่น เข้ามาทำธุรกิจหรือเข้ามาศึกษา
2. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมาย อื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับ คนต่างด้าว ในลักษณะเดียวกัน (ตามมาตรา 10)
3. คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ได้แก่ คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพอื่น ณ ที่แห่งใด แทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและอยู่ในระหว่าง รอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย หรือถูกถอนสัญชาติ (ซึ่งสามารถขออนุญาตทำงานได้ 27 อาชีพ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด)
การยื่นคำขออนุญาตทำงาน
1. คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ประสงค์จะทำงานให้ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำ ประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่หรือให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน เมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อรับใบอนุญาตและทำงานได้
2.คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติ ดังนี้ - คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นการชั่วคราว และไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือต้องห้าม ตามเงื่อนไขที่กำหนด จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น (ตามมาตรา 7) - คนต่างด้าวที่เข้ามาเป็นการชั่วคราว เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนไม่เกิน 15 วัน ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้ง อธิบดีหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบ - คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฏหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฏหมายอื่น (ตามมาตรา 10) ต้องยื่นขอใบรับอนุญาตทำงานภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เข้ามา หรือ 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาต ให้ทำงานตามกฏหมายนั้น ๆ โดยระหว่างรอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอ ทำงานไปพลางก่อนได้
3. คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และรออยู่ในระหว่างรอ การส่งกลับนอกอาณาจักร (ตามมาตรา 12) หากจะทำงานคนต่างด้าว จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน เมื่อได้รับ ใบอนุญาตจึงจะทำงานได้
ระยะเวลาการขออนุญาต
1. คนต่างด้าวตามมาตรา 7 จะพิจารณาให้ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 1 ปี และให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ให้เข้ามาชั่วคราว
2. คนต่างด้าวตามมาตรา 10 จะได้รับอนุญาตตามระยะเวลาซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาต
3. คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด มีระยะเวลาอนุญาตไม่เกิน 1 ปี
4. กรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นการชั่วคราว โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ให้มีอายุ 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ ได้รับอนุญาตทำงาน
การต่ออายุใบอนุญาต
1. คนต่างด้าวจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุ
2. ถ้าหากคนต่างด้าวยื่นภายในเวลาที่กำหนดแล้ว สามารถทำงานไปพลาง ๆ ก่อนได้จนกว่านายทะเบียน จะแจ้งผลการพิจารณา ต่อใบอนุญาตหรือไม่อนุญาต
3. การต่อใบอนุญาตจะได้รับการพิจารณาครั้งละไม่เกิน 1 ปี(กลับด้านบน)


พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2537)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีสำนักงานจัดหางานของรัฐที่จะให้บริการจัดหางานแก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า
2. เพื่อคุ้มครองคนหางานให้ได้รับความเป็นธรรมและได้รับการช่วยเหลือ เมื่อประสบความเดือดร้อน
3. เพื่อควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจจัดหางานของเอกชน
สาระสำคัญ
1. ให้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนจัดหางานกลางขึ้นในกรมการจัดหางาน และให้จังหวัดอื่นจัดตั้งสำนักงานทะเบียนจัดหางานจังหวัด ขึ้นตรงต่อสำนักงานทะเบียนจัดหางานกลางก็ได้ โดยมีนายทะเบียนจัดหางานกลางและนายทะเบียนจัดหางานจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจ และหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
2. ให้จัดตั้งสำนักงานจัดหางานของรัฐขึ้น มีหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า
ลักษณะของการจัดหางาน มี 2 ลักษณะ คือ
1. จัดหางานโดยรัฐ เป็นการบริการจัดหางานของรัฐให้แก่คนหางานโดยไม่มีการเรียกหรือรับค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดทั้งสิ้น
2. จัดหางานโดยภาคเอกชน เป็นการดำเนินการประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยมีการเรียก หรือรับค่าบริการหรือ ค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้บริการ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานก่อน
ประเภทของการขออนุญาตจัดหางาน - ตามพระราชบัญญัติจัดหางานฯ ได้แบ่งธุรกิจจัดหางานไว้ 2 ประเภท คือ
1. การจัดหางานในประเทศ การจัดหางานให้คนหางานทำในประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานนั้นตั้งอยู่ และมีหลักประกันเป็นจำนวนเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่า 100,000 บาท วางไว้กับนายทะเบียน
2. การจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
- การจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยผู้ขออนุญาตต้อง เป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และมีหลักประกันเป็นเงินสด หรือพันธบัตรของรัฐบาลไทย หรือสัญญาค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท วางไว้กับนายทะเบียนจัดหางานกลาง
- ผู้รับอนุญาตต้องส่งสัญญาจัดหางาน ที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานทำกับคนงานและเงื่อนไขการจ้างแรงงานที่นายจ้างในต่างประเทศ ทำกับคนหางานให้อธิบดีพิจารณาอนุญาตก่อนส่งคนงานไปต่างประเทศ และต้องส่งคนงานที่ผ่านการคัดเลือกและทดสอบฝีมือ เข้ารับการ ตรวจสุขภาพ และเข้ารับการอบรม ณ สำนักงานทะเบียนจัดหางานกลาง สำนักงานทะเบียนจัดหางานจังหวัด หรือสถาบันอื่นใดที่ อธิบดีกำหนด
การเรียกหรือรับค่าบริการและ/หรือค่าใช้จ่ายในการจัดหางาน
- ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศและเพื่อไปทำงานต่างประเทศ เรียกหรือเก็บเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ จากคนหางาน นอกจากค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย
- ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ เรียกหรือรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย ก่อนที่นายจ้างรับคนหางานเเข้าทำงาน และจ่ายค่าจ้าง เป็นครั้งแรกแล้ว ทั้งนี้ ให้เรียกและรับค่าบริการได้ไม่เกิน ร้อยละ 25 ของค่าจ้างรายเดือนที่คนงาน จะได้รับจากค่าจ้าง ในเดือนแรก หรือในระยะ 30 วันแรกที่คนหางานเข้าทำงาน
- ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศเรียกหรือรับค่าบริการจากคนหางานไว้เป็น การล่วงหน้าเกิน 30 วัน ก่อนเดินทาง หากมีเหตุจำเป็นผู้รับอนุญาต อาจร้องขอต่อนายทะเบียนจัดหางานกลาง เพื่อขยายระยะเวลาดังกล่าวได้เพียงครั้งเดียว กำหนดเวลาไม่เกิน 30 วัน
- ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ และเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อรับค่าบริการและหรือค่าใช้จ่ายจากคนหางานแล้ว ต้องออกใบรับ ตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่คนงาน ความรับผิดชอบหลังจากส่งคนหางานของผู้รับอนุญาตจัดหางาน
1. กรณีการจัดหางานในประเทศ
- ผู้รับอนุญาตจัดหางานส่งคนงานให้นายจ้างแล้ว คนหางานไม่ได้งานหรือได้ค่าจ้างต่ำกวาที่กำหนด หรือได้รับตำแหน่งงานไม่ตรงตามที่กำหนด ผู้รับอนุญาตฯ ต้องจัดการให้คนหางานเดินทางกลับสำนักงานหรือสำนักงานชั่วคราวที่ตนรับสมัครคนงาน โดยออกค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร รวมทั้งคืนค่าบริการ และค่าใช้จ่ายแก่คนงานนั้น
- หากคนหางานไม่ยอมเดินทางกลับ หรือประสงค์จะทำงานที่ไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางานต่อไป ผู้รับอนุญาตไม่ต้องรับผิดชอบ ในการจัดให้คนหางานดังกล่าวเดินทางกลับ แต่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายใน 15 วัน
2. กรณีการจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
- ผู้รับอนุญาตจัดหางาน จัดส่งคนหางาน ไปทำงานในต่างประเทศแล้วคนหางาน ไม่ได้งานหรือได้ค่าจ้างต่ำกว่า หรือได้ตำแหน่งงาน หรือสิทธิประโยชน์ไม่ตรงตาม ที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน ผู้รับอนุญาตฯ ต้องจัดการให้คนหางานเดินทางกลับประเทศไทย โดยผู้รับอนุญาต เป็นผู้ออกค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นจนกว่าคนหางานจะเดินทางกลับประเทศไทย แต่คนหางานต้องแจ้งความประสงค์ เป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตฯ หรือตัวแทนทราบภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบว่าได้งานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ในกรณีนี้ที่ไม่อาจ แจ้งแก่ผู้รับอนุญาตหรือตัวแทนได้ ให้แจ้งต่อ สำนักงานแรงงงานไทย สถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น หรือผู้ที่รับผิดชอบเพื่อแจ้งต่อไป ยังผู้รับอนุญาต
- กรณีที่ผู้รับอนุญาตฯ ไม่สามารถจัดให้คนหางานเดินทางได้ภายในกำหนดเวลา หรือในกรณีที่คนหางานไม่ได้งาน หรือได้ค่าจ้างต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ในสัญญาจัดหางาน และคนหางานไม่ประสงค์ที่จะทำงานนั้นผู้รับอนุญาตต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เรียกเก็บไปแล้วทั้งหมด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดเวลา หรือนับแต่วันที่คนหางานเดินทางกลับปะเทศไทยแล้วแต่กรณี
- กรณีที่คนหางานประสงค์จะทำงานที่ได้ค่าจ้างต่ำกว่า หรือได้ตำแหน่งงานหรือสิทธิประโยชน์อื่น ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน ผู้รับอนุญาตฯ ไม่ต้องรับผิดชอบ ในการจัดการให้คนจัดหางานเดินทางกลับประเทศไทย แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานแรงงานไทย ในประเทศนั้นทราบภายใน 15 วัน ถ้าไม่มีให้แจ้งสถานฑูตไทยหรือสถานกงศุลในประเทศนั้นแทน และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวให้ สำนักงานทะเบียนจัดหางานกลางทราบด้วย กรณีที่คนหางานประสงค์จะทำงาน ที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่า ที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน ผู้รับอนุญาตต้องคืนค่าบริการ ที่เรียกเก็บ จากคนหางาน ไปแล้วเป็นอัตราส่วนกับค่าจ้างที่คนหางานได้รับจริง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คนหางานขอรับคืน (กลับด้านบน)

กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ      กองทุนเพือช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนหางานซึ่งถูกทอดทิ้งในต่างประเทศ ให้เดินทางกลับ ประเทศไทย หรือให้การสงเคราะห์แก่คนหางานซึ่งไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งใช้จ่ายในกิจการเพื่อคัดเลือก ทดสอบฝีมือและการฝึกอบรมคนหางานก่อนจะเดินทางไป ทำงานต่างประเทศ การส่งเงินเข้ากองทุน ให้เป็นไปตามอัตราที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนด
การควบคุมการเดินทางออกไปทำงานนอกราชอาณาจักร
1. คนหางานซึ่งจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรจะต้องเดินทางออกไปทำงานโดยผ่านทางด่านตรวจคนหางาน และต้องยื่นรายการต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ณ ด่านตรวจคนหางานตามที่รัฐมนตรีกำหนด
2. ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าผู้ใดไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการไปทำงานหรือฝึกงานในต่างประเทศ ตามที่กำหนดไว้ พระราชบัญญัติ นี้    พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้นั้นได้ตามที่จำเป็น * ค่าเสียหาย ที่เกิดจากการสั่งระงับการเดินทางของคนหางานให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศเป็นผู้เสียหาย ในกรณีที่ ผู้รับอนุญาตฯ มิได้เป็นผู้จัดส่งคนหางานผู้นั้นเป็นผู้เสียหาย

อัพเดทล่าสุด