ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย


1,492 ผู้ชม


ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย




ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภันในการทำงานกับสารเคมีอันตราย 22 สิงหาคม 2534 (dowmload 500 Kb)

เจตนารมณ์ของกฎหมาย

เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ทั้งรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่จะทำให้เกิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในเรื่องการกัดกร่อน ระคายเคือง มีพิษแพ้ ก่อมะเร็ง การระเบิดหรือไวไฟ รวมทั้งการเกิดอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสี

ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้

ครอบคลุมทุกประเภทของสถานประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

สาระสำคัญของกฎหมาย

1. กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้

1.1 กำหนดให้ต้องแจ้ง

- แจ้งสารเคมีอันตรายที่อยู่ในครอบครองตามที่อธิบดีจะได้กำหนด

- ต้องส่งรายงานความปลอดภัยและการประเมินการก่ออันตรายจากสารเคมี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามที่อธิบดีจะได้กำหนด

1.2 กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติในเรื่องต่อไปนี้

- แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

- การเก็บรักษา การขนส่ง นำสารเคมีอันตรายเข้าไปในสถานประกอบการ ต้องจัดฉลากปิดที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อหุ้มสารเคมีอันตราย

- สถานที่เก็บ วิธีการเก็บสารเคมีอันตรายต้องปลอดภัยตามสภาพหรือตามคุณลักษณะของสารเคมีอันตราย

- สถานที่ทำงานต้องสะอาด มีการระบายอากาศที่เหมาะสมมีออกซิเจนไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบแปดโดยปริมาตร และมีระบบป้องกันและกำจัดมิให้สารเคมีในบรรยากาศมีปริมาณเกินกำหนด

- ไม่ให้ลูกจ้างพักอาศัยในสถานที่ทำงานที่เก็บสารเคมีอันตราย

- ตรวจวัดระดับสารเคมีในบรรยากาศเป็นประจำ

- ต้องจัดทำรายงานความปลอดภัยและประเมินการก่ออันตรายของสารเคมี

- จัดที่ล้างมือ ล้างหน้า ห้องอาบน้ำ ที่เก็บเสื้อผ้า

- อบรมลูกจ้างให้เข้าใจเรื่องการเก็บรักษา ขนส่ง กระบวนการผลิต อันตรายที่จะเกิดขึ้น วิธีการควบคุมและป้องกัน วิธีการอพยพ/เคลื่อนย้าย

- ตรวจสุขภาพลูกจ้างประจำปี

- จัดอุปกรณ์ดับเพลิงให้เหมาะสม

- จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

- จัดอุปกรณ์และเวชภัณฑ์การปฐมพยาบาล

2. กำหนดให้ลูกจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้

- ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการต่างๆ

- ลูกจ้างต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดให้


แนวการตรวจประเมิน

ก่อนการตรวจสถานประกอบการ ให้ทำการตรวจสอบข้อมูลที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ

- นายจ้างได้แจ้งข้อมูลเคมีภัณฑ์ของสารเคมีอันตรายชนิดใด ตามแบบสอ. 1

- นายจ้างได้แจ้งการประเมินการก่ออันตรายของสารเคมีอันตรายชนิดใด ตามแบบสอ. 2

- นายจ้างได้รายงานผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายชนิดใด ตามแบบสอ. 3

- นายจ้างได้แจ้งรายงานผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างรายใด ตามแบบสอ. 4

หากได้รายงานให้ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดก่อนทำการตรวจ

แนวทางการตรวจสถานประกอบการ ให้สอบถามนายจ้างว่ามีสารเคมีอันตรายชนิดใดบ้าง (ชื่อของสารเคมีอันตรายที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายจำนวน 1,580 ตัว เป็นชื่อทางเคมีหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ มิใช่ชื่อทางการค้า) รวมถึงให้สอบถามถึงปริมาณที่มีอยู่ของสารเคมีอันตราย เพื่อพิจารณาว่าเข้าข่ายที่จะก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรงหรือไม่

การตรวจมีหัวข้อที่จะทำการตรวจดังนี้

1. สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย

- ต้องมีระยะห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงานไม่น้อยกว่า 8 เมตร

- ต้องจัดทำเขื่อน กำแพง ทำนบ เพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือไหลนองออกมาสู่ภายนอก

- กรณีสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายอยู่นอกอาคาร ต้องจัดทำรั้วล้อมรอบสูงไม่น้อยกว่า 180 ซม.

2. ภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายที่มีความดันอยู่ภายใน ต้องมีอุปกรณ์ช่วยระบายความดัน เพื่อลดความดันภายในให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

3. การจัดเก็บเอกสารเคมีอันตราย โดยวิธีฝังใต้ดินหรือเดินท่อใต้พื้นดินต้องมีเครื่องหมาย แสดงตำแหน่งให้เห็นได้ชัดเจน

4. ต้องมีการป้องกันไม่ให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดชน กระแทก ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อสารเคมีอันตราย

5. ต้องจัดให้มีฉลากขนาดที่เหมาะสมปิดไว้ที่ภาชนะบรรจุ หีบห่อ หรือบริเวณที่เก็บสารเคมีอันตราย โดยฉลากต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

- สัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตราย

- คำว่า “ สารเคมีอันตราย” หรือ “ วัตถุมีพิษ” เป็นอักษรสีแดงหรือดำ

- ชื่อทางเคมีหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารเคมีอันตราย

- ปริมาณและส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย

- อันตรายและอาการเกิดพิษจากสารเคมีอันตราย

- คำเตือนเกี่ยวกับการเก็บ การใช้ การเคลื่อนย้าย และการกำจัด

- วิธีปฐมพยาบาล

หมายเหตุ ฉลากให้จัดทำเป็นภาษาไทย เว้นแต่ชื่อทางเคมี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ และส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย อาจเป็นภาษาอังกฤษก็ได้

6. เมื่อพบหรือทราบว่านายจ้างมีสารเคมีอันตราย แต่ไม่มีการจัดทำข้อมูลเคมีภัณฑ์และไม่แจ้งให้ราชการทราบตามแบบ สอ.1 โดยตรวจสอบกับข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่ ให้แจ้งนายจ้างดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย คือ จัดทำข้อมูลเคมีภัณฑ์และแจ้งต่อราชการตามแบบ สอ.1 ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ครอบครอง

7. เมื่อพบหรือทราบว่านายจ้างมีการครอบครองสารเคมีอันตรายอยู่ในปริมาณ ที่เข้าข่ายจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ 180 ตัว และไม่มีการจัดทำรายงานความปลอดภัย และการประเมินการก่ออันตราย รวมทั้งไม่มีการแจ้งข้อมูลดังกล่าวตามแบบ สอ.2 โดยการตรวจสอบกับข้อมูลที่มีอยู่ ให้แจ้งนายจ้างดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย คือ จัดทำรายงานและประเมินการก่ออันตราย และแจ้งต่อทางราชการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ประเมินการก่ออันตราย

8. สถานที่ทำงานของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายต้องมีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการระบายอากาศที่เหมาะสม เช่น

- มีระบบระบายอากาศเฉพาะที่

- การระบายอากาศไม่เป็นสาเหตุให้มีการพัดพาสารเคมีไปสู่บริเวณการทำงานของลูกจ้าง

9. บริเวณสถานที่เก็บสารเคมีอันตราย ต้องมีป้ายแจ้งข้อความ “ สถานที่เก็บสารเคมีอันตราย ห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต”

10. บริเวณที่เก็บ บริเวณการผลิต หรือที่ที่มีการขนย้ายต้องมีป้ายแจ้งข้อความ “ ห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่ม รับประทานอาหาร หรือเก็บอาหาร”

11. ลูกจ้างที่ทำงานกับสารเคมีอันตราย ต้องมีชุดทำงานและมีที่เก็บชุดทำงานเป็นการเฉพาะ

12. บริเวณที่ทำงานต้องมีฝักบัวและที่ล้างตา สำหรับให้ลูกจ้างใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น สารเคมีอันตรายกระเด็นเข้าตา

13. สถานที่ทำงานต้องมีที่ล้างมือ ล้างหน้า และห้องอาบน้ำ เพื่อให้ลูกจ้างที่ทำงานกับสารเคมีอันตราย ใช้ทำความสะอาดร่างกาย ก่อนรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม และก่อนออกจากที่ทำงานทุกครั้ง

หมายเหตุ ตามกฎหมายกำหนดไว้ดังนี้

ที่ล้างมือ ล้างหน้า 1 ที่ : ลูกจ้าง 15 คน

ห้องอาบน้ำ 1 ห้อง : ลูกจ้าง 15 คน

และเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน ส่วนที่เกิน 7 คน ให้ถือเป็น 15 คน

14. เมื่อพบหรือทราบว่า นายจ้างไม่จัดให้มีการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ในบรรยากาศการทำงานของลูกจ้างและไม่แจ้งผลต่อทางราชการตามแบบ สอ.3 โดยตรวจสอบกับข้อมูลที่มีอยู่ ให้แจ้งนายจ้างดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ต้องตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมี ในบรรยากาศการทำงานไม่เกิน 6 เดือนต่อหนึ่งครั้งและรายงานผลตามแบบ สอ. 3 ต่อทางราชการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตรวจ

15. นายจ้างต้องจัดการอบรมให้ความรู้แก่ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

16. เมื่อพบเห็นทราบว่า นายจ้างไม่จัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย และไม่แจ้งผลต่อทางราชการตามแบบ สอ.4 รวมถึงไม่จัดเก็บผลการตรวจสุขภาพไว้เป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างของลูกจ้างแต่ละราย ให้แจ้งนายจ้างดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย คือ

16.1 ลูกจ้างรายใดก็ตามที่เป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายต้องได้รับการตรวจสุขภาพทั่วไปและพิเศษ ดังนี้

16.1.1 ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ ประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการทำงาน และประวัติการเจ็บป่วย

16.1.2 ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น วัดชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต ตรวจการทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิวหนัง ระบบประสาท เอกซ์เรย์ ปอด และน้ำหนัก

16.1.3 ตรวจร่างกายเพื่อให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงเมื่อทำงานกับสารเคมีอันตราย โดยเป็นไปตามชนิดและลักษณะของสารเคมีอันตราย เช่น

- ทำงานกับตะกั่ว ตรวจ ตะกั่วในเลือด หรือในเนื้อเยื่อ (ฟัน ผม และเล็บ) หรือตรวจสารคอโปรโพรไพรินในปัสสาวะ

- ทำงานกับโทลูอีน ตรวจ สารฮิพพูริด แอซิค ในปัสสาวะ

- ทำงานกับเบนซิ่น ตรวจ สารฟีนอลในปัสสาวะ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจการทำงานของตับ ไขกระดูก

- ทำงานกับสารหนู ตรวจ ปริมาณสารหนูในปัสสาวะ ผม และเล็บ

16.2 การตรวจสุขภาพ ต้องตรวจเป็นระยะๆ คือ

16.2.1 ตรวจสุขภาพร่างกายก่อนรับลูกจ้างเข้าทำงาน

16.2.2 ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

16.3 เก็บผลการตรวจไว้ในสถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างของลูกจ้างแต่ละราย

16.4 ให้รายงานผลการตรวจสุขภาพ ตามแบบ สอ.4 ต่อทางราชการภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ

17. ลูกจ้างรายใดที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่สามารถป้องกันอันตรายตามลักษณะและอันตรายของสารเคมี ขณะปฏิบัติงาน

18. นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฐมพยาบาลลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมี

หมายเหตุ การรายงานต่อทางราชการ สามารถรายงานต่ออธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ซึ่งได้รับ

ที่มา : moodythai.com


อัพเดทล่าสุด