ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับหม้อน้ำ


764 ผู้ชม


ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับหม้อน้ำ




เจตนารมณ์ของกฎหมาย


1. เพื่อป้องกันลูกจ้างไม่ให้ได้รับอันตรายจากการใช้หม้อน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน การติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง ขาดการตรวจสอบ ตลอดจนการใช้ผู้ควบคุมที่มีคุณสมบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. เพื่อป้องกันความสูญเสียที่เกิดกับลูกจ้างและสถานประกอบการ

ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้


ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อน้ำทุกประเภท ยกเว้นหม้อน้ำทำความร้อนแบบท่อขนดไม่มีที่พักไอ และมีความจุของน้ำต่ำกว่า 23 ลิตร อุณหภูมิไม่เกิน 177 องศา และในหลอดน้ำไม่มีไอน้ำหรือหลอดน้ำมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 19 มิลลิเมตร

สาระสำคัญของกฎหมาย


1. กำหนดให้นายจ้างใช้หม้อน้ำและอุปกรณ์หม้อน้ำที่ได้มาตรฐานสากลหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2. กำหนดให้มีการติดตั้งหม้อน้ำและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่ถูกหลักวิชาการด้านวิศวกรรม
3. กำหนดให้มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ใช้กับหม้อน้ำเพื่อไม่ให้เกิดการกัดกร่อนหรือเป็นอันตรายต่อหม้อน้ำ
4. กำหนดให้มีมาตรการควบคุมการดัดแปลงหม้อน้ำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม
5. กำหนดให้มีการตรวจสอบหม้อน้ำประจำปีและหลังซ่อมส่วนสำคัญโดยมีวิศวกรรับรองผลการตรวจสอบ
6. ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้นายจ้างปรับปรุงแก้ไขหม้อน้ำให้อยู่ในสภาพปลอดภัย และระงับการใช้หม้อน้ำที่ทรุดโทรมหมดสภาพใช้งาน
7. กำหนดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยให้นายจ้างจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่างๆ ให้ลูกจ้างใช้

แนวการตรวจของผู้ตรวจสอบภายใน


เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบควรดำเนินการตรวจความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำ ดังต่อไปนี้
1. ขอดูผลการตรวจทดสอบและผลการรับรองการใช้หม้อน้ำประจำปี โดยวิศวกรเครื่องกล ประเภทสามัญวิศวกรหรือวุฒิวิศวกร

2. ให้ตรวจสอบว่าผู้ควบคุม “หม้อน้ำ” มีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนดดังนี้
   2.1 ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างยนต์หรือช่างกลโรงงาน
   2.2 ช่างผู้ชำนาญงานที่ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของวิศวกรเครื่องกล
   2.3 ผ่านการอบรมจากสถาบันของทางราชการ อาทิเช่น กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
3. ตรวจการจัดทำป้ายระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องปลอดภัย การตรวจอุปกรณ์หม้อน้ำก่อนลงมือปฏิบัติงานและวิธีแก้ไขข้อขัดข้อง ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณห้องมห้อน้ำและให้ผู้ควบคุมเห็นได้ชัดเจน
4. ตรวจมาตรวัดความดันไอน้ำ (PRESSURE GAUGE) ซึ่งติดตั้งในที่ที่สะดวกในการเข้าปรับแต่งและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ดังนี้
   4.1 แสดงขีดสีแดงที่มาตรวัดความดัน บอกความดันไอน้ำสูงสุด
   4.2 ต้องดูแลรักษามาตรวัดความดันไอน้ำ ให้อยู่ในสภาพดีและอ่านค่าได้ชัดเจน
หมายเหตุ มาตรวัดความดันไอน้ำ (PRESSURE GAUGE) มักจะติดตั้งส่วนบนและด้านหน้าของหม้อน้ำ
5. มาตรวัดระดับน้ำ (WATER GAUGE) แบบหลอดแก้วจะต้องมีเครื่องป้องกันการกระทบกระแทก กันหลอดแก้วแตก
หมายเหตุ มาตรวัดระดับน้ำ (WATER GAUGE) มักจะติดตั้งอยู่ด้านข้างค่อนไปทางด้านหน้าของหม้อน้ำ
6. ตรวจการติดตั้งสัญญาณเสียงและแสงเตือนเมื่อระดับน้ำต่ำกว่าขีดอันตราย
7. ตรวจลิ้นนิรภัย (SAFETY VALVE) ห้ามติดตั้งลิ้นปิด-เปิดระหว่างหม้อน้ำกับลิ้นนิรภัย
8. ตรวจส่วนประกอบของการติดตั้งหม้อน้ำ ดังนี้
8.1 ห้องหม้อน้ำจะต้องมีทางออกไม่น้อยกว่า 2 ทาง อยู่คนละด้านกัน
8.2 หม้อน้ำที่สูงเกิน 3 เมตร จากพื้นเปลือกหม้อน้ำด้านบนจะต้องจัดทำบันไดพร้อมราวกันตกและมีทางออกอย่างน้อย 2 ทาง
8.3 หม้อน้ำที่สูงเกิน 3 เมตร จากพื้นเปลือกหม้อน้ำด้านบนจะต้องจัดทำบันไดพร้อมราวกันตกและมีทางออกอย่างน้อย 2 ทาง
8.4 ห้องหม้อน้ำจะต้องมีแสงสว่าง ที่จะอ่านค่าต่างๆ จากเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ของหม้อน้ำได้สะดวก

ที่มา : moodythai.com


อัพเดทล่าสุด