การประหยัดพลังงานไฟฟ้า ในสำนักงาน


1,145 ผู้ชม


การประหยัดพลังงานไฟฟ้า ในสำนักงาน




ในการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 14001:2004 สิ่งที่ต้องนำประโยชน์จากมาตรฐานมาใช้คือการประหยัดจากการใช้ทรัพยากร หรือกล่าวได้ว่าทำอย่างไรถึงจะใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุผลนี้บทความนี้จึงได้เขียนขึ้นเพื่อให้แนวทางในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสำนักงาน ที่ซึ่งกล่าวได้ว่าทุกองค์กรล้วนแล้วแต่มีสำนักงานและมักจะกำหนดแนวทางในการประหวัดพลังงานไฟฟ้าอย่างยากลำบาก ซึ่งผู้อ่านสามารถนำประเด็นต่างๆในที่นี้ไปจัดทำเป็นchecklistเพื่อใช้ในการลดพลังงานไฟฟ้าในองค์กรได้โดยไม่กระทบต่อการผลิต และสุดท้ายจะสามารถสร้างจิตสำนักที่ดีในการประหยัดค่าใช้จ่ายในองค์กรได้

หมวดไฟฟ้าแสงสว่าง

1. ปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกการใช้งานหรือหมด ความจำเป็นต้องใช้งาน การปิดสวิตช์ไฟบ่อยๆ ไม่ทำให้เปลืองไฟฟ้าแต่อย่างใด

2. เปิดม่านหรือหน้าต่างหรือติดตั้งกระเบื้องโปร่งแสงเพื่อรับแสงสว่างจากธรรมชาติ แทนการใช้แสงสว่างจากหลอดไฟ

3. กำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดไฟให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ใช้งาน

4. จัดระบบสวิตช์ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ปรับเป็นสวิตช์เปิดปิดแบบ แยกแถว แยกดวง เป็นต้น

5. ติดสติ๊กเกอร์บอกตำแหน่งไว้ที่สวิตช์เปิดปิดหลอดไฟเพื่อเปิดใช้งานได้อย่างถูกต้อง

6. ใช้อุปกรณ์และหลอดไฟชนิดประหยัดพลังงานที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ( หลอดนีออน) แบบผอมแทน หลอดแบบธรรมดา ( ประหยัดไฟฟ้าร้อยละ 10) ใช้หลอดคอมแพ็กฟลูออเรสเซนต์ ( หลอดตะเกียบ) แทนหลอดไส้ ( ประหยัดไฟฟ้าร้อยละ 75) ใช้โคม สะท้อนแสงแบบประสิทธิภาพสูง และใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์แทนบัลลาสต์แบบธรรมดา

7. ตรวจวัดความเข้มแสงปีละ 2 ครั้งบริเวณที่ใช้ปฏิบัติงาน ให้มีความเข้มเหมาะสมตามเกณฑ์ ( ค่ามาตรฐานความ สว่างของสำนักงานอยู่ระหว่าง 300-500 ลักซ์) หากมี ความสว่างเกินความจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องใช้ไฟ แสงสว่างบริเวณนั้นควรถอดหลอดไฟออกบางหลอด และเพิ่มหลอดไฟในจุดที่แสงสว่างไม่เพียงพอ

8. ทำความสะอาดหลอดไฟอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพราะ ฝุ่นละอองที่เกาะอยู่จะทำให้แสงสว่างน้อยลงและอาจทำ ให้ต้องเปิดไฟหลายดวงเพื่อให้ได้แสงสว่างเท่าเดิม

9. เมื่อพบว่าหลอดไฟ สายไฟ ชำรุดหรือขาหลอดเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลหรือดำควรเปลี่ยนทันทีเพื่อป้องกันอัคคีภัย เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร

10. รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า แสงสว่างอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ติดสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดบอร์ดนิทรรศการ เสียงตามสาย หรือให้ความรู้โดยการจัดอบรม เป็นต้น

หมวดเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ

1. ปิดเครื่องปรับอากาศทันทีเมื่อไม่ต้องการใช้งาน และเมื่อ ต้องการปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง ควรอย่างน้อย 15 นาที

2. ปิดเครื่องปรับอากาศทันทีหากไม่อยู่ในห้องนานกว่า 1 ชั่วโมง และปิดก่อนเวลาเลิกงานเนื่องจากยังคงมีความเย็น อยู่จนถึงเวลาเลิกงาน

3. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไม่ต่ำกว่าที่ 25 องศา เซลเซียส เนื่องจากหากตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นทุก 1 องศา จะประหยัดไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

4. แยกสวิตช์ปิดเปิดเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบาย อากาศออกจากกัน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศไว้ตลอดเวลาที่ใช้เครื่องปรับอากาศ

5. เปิดหน้าต่างให้ลมพัดเข้ามาในห้องช่วงที่อากาศไม่ร้อน แทนการเปิดเครื่องปรับอากาศ จะช่วยลดการใช้พลังงาน ไฟฟ้าและเป็นการถ่ายเทอากาศอีกด้วย

6. ตรวจวัดประสิทธิภาพการไหลเวียนหรือการถ่ายเทของ อากาศในห้องปรับอากาศ หากมีการไหลเวียนของอากาศไม่เพียงพอให้แก้ไขโดยติดตั้งพัดลมระบายอากาศ โดยขนาดของพัดลมระบายอากาศต้องมีความเหมาะสม กับขนาดของห้อง

7. เปิดพัดลมระบายอากาศ 5-10 นาที ทุก 2 ชั่วโมงและปิด ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ไม่เปิดตลอดเวลา

8. ใช้เทอร์โมสตัตที่มีความเที่ยงตรงในการควบคุมอุณหภูมิ เช่น เทอร์โมสตัตอิเล็กทรอนิกส์แบบตัวเลข

9. ติดเทอร์โมมิเตอร์ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเพื่อบอก อุณหภูมิและเป็นแนวทางในการปรับเทอร์โมสตัตแบบธรรมดา

10. ไม่นำต้นไม้มาปลูกในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเพราะต้นไม้จะคายไอน้ำ ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น

11. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปล่อยความร้อน เช่น กาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น ออกไว้นอกห้องปรับอากาศโดยเฉพาะเครื่องถ่ายเอกสารนอกจากจะปล่อย ความร้อนออกสู่ห้องปรับอากาศทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้า แล้ว ผงหมึกจากเครื่องจะฟุ้งกระจายอยู่ในห้อง เป็น อันตรายต่อสุขภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานบริเวณนั้น

12. ติดตั้งแผงระบายความร้อนหรือชุดคอนเดนซิ่งซึ่งอยู่นอก ห้องปรับอากาศ ให้อยู่ห่างจากพนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตรและทำความสะอาดอย่างน้อยทุก 3 เดือน หากอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นมาก เช่น ใกล้ถนน ควรพิจารณาทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง เพราะฝุ่น ที่สะสมอยู่จนสกปรกจะกลายเป็นฉนวนกั้นทำให้ ความร้อนระบายไม่สะดวก

13. ตรวจสอบไม่ให้มีวัสดุปิดขวางทางลมที่ใช้ระบาย ความร้อนทั้งชุดคอยล์เย็นและชุดคอนเดนซิ่ง

14. ตรวจสอบและอุดรอยรั่วที่ผนัง ฝ้าเพดาน ประตู ช่องแสง เพื่อป้องกันความเย็นรั่วไหลจากห้องปรับอากาศ

15. ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอยู่เสมอ อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ร้อยละ 5-7

16. กำหนดตารางการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และมีคู่มือ ปฏิบัติงาน

17. รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าจาก การใช้เครื่องปรับอากาศอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วย วิธีการต่างๆ เช่น ติดสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดบอร์ด นิทรรศการ เสียงตามสาย หรือให้ความรู้โดยการ จัดอบรม เป็นต้น

หมวดอุปกรณ์สำนักงาน

1. ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์เมื่อไม่มีการใช้งานนานเกินกว่า15 นาที หรือตั้งโปรแกรมพักหน้าจอ

2. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์เมื่อไม่มีการใช้งาน ติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมง และปิดเครื่องทุกครั้งหลัง เลิกการใช้งานพร้อมทั้งถอดปลั๊กออก

3. เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงานและควรใช้จอภาพขนาดที่ไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพ ขนาด 14 นิ้ว จะใช้พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25

4. ตรวจแก้ไขเอกสารบนจอภาพแทนการตรวจแก้ไขบนเอกสารที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ จะช่วยลดการสิ้นเปลือง พลังงาน กระดาษ หมึกพิมพ์ และการสึกหรอของเครื่องพิมพ์ได้มาก

5. ติดตั้งเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องพิมพ์เพื่อใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จะช่วยลดความสิ้นเปลืองทั้งด้านพลังงานและการซ่อมบำรุง

6. ถ่ายเอกสารแบบสองหน้าเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ

7. ปิดเครื่องถ่ายเอกสารทุกครั้งหลังเลิกงานพร้อมถอดปลั๊กออก

8. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในสำนักงานเมื่อเลิกใช้งาน หรือเมื่อไม่มีความต้องการใช้งานนานกว่า 1 ชั่วโมง

9. ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างๆ

10. มีแผนการตรวจเช็คและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ทุกชนิดเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11. รณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์สำนักงาน อย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ติดสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดบอร์ดนิทรรศการ เสียงตามสาย หรือให้ความรู้โดยการจัดอบรม เป็นต้น

หมวดตู้เย็นและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

1. ตั้งตู้เย็นไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวกและอยู่ห่างจาก ฝาผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อให้ระบาย ความร้อนได้ดี สามารถประหยัดไฟฟ้าได้ร้อยละ 39

2. ตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร คือ 3-6 องศาเซลเซียสสำหรับช่องธรรมดา และลบ 18- ลบ 15 องศาเซลเซียสสำหรับช่องแช่แข็ง หากตั้งอุณหภูมิไว้ ต่ำกว่าที่กำหนดนี้ 1 องศาเซลเซียส จะสิ้นเปลืองไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 25

3. เก็บอาหารเป็นสัดส่วนไม่ปนกัน สิ่งที่หยิบบ่อยๆ ควรไว้ ด้านนอกหรือบนสุด เพื่อหยิบใช้ได้สะดวก ช่วยลดการ รั่วไหลของความเย็นออกจากตู้ ทำให้ประหยัดไฟฟ้า

4. ไม่ควรเก็บอาหารในตู้เย็นมากเกินไป และเก็บอาหารโดยจัดให้มีช่องว่างเพื่อให้อากาศภายในตู้ไหลเวียนอย่างทั่วถึง

5. ไม่นำของร้อนหรือยังอุ่นอยู่แช่ในตู้เย็นเพราะจะทำให้ ตู้เย็นสูญเสียความเย็นและมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ต้องเริ่มผลิตความเย็นใหม่ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้า

6. ไม่เปิดตู้เย็นบ่อยหรือเปิดไว้นานๆ จะทำให้อากาศเย็น ไหลออกและสิ้นเปลืองไฟฟ้า

7. ละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งอย่างน้อยทุก 1 เดือนเมื่อใช้ตู้เย็นชนิดไม่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ

8. ทำความสะอาดแผงละลายความร้อนที่อยู่ด้านหลังของ ตู้เย็นให้สะอาดอยู่เสมอโดยการใช้ผ้าหรือแปรงเช็ดฝุ่น เพื่อการระบายความร้อนที่ดี

9. ตรวจสอบขอบยางประตูตู้เย็นให้ปิดสนิทเพื่อป้องกัน อากาศเย็นไหลออก โดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยาง และปิดประตูตู้ ถ้าสามารถเลื่อนกระดาษขึ้นลงได้แสดงว่าขอบยางเสื่อม ควรเปลี่ยนใหม่เพราะจะเป็นสาเหตุให้ คอมเพรสเซอร์ทำงานมากขึ้น สิ้นเปลืองไฟ

10. ตรวจสอบสภาพของตู้เย็นว่ามีไอน้ำเกาะบริเวณผนัง ด้านนอกหรือไม่ หากมีหยดน้ำเกาะแสดงว่าฉนวนเสื่อม

11. ใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดประหยัดพลังงาน

12. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น กาต้มน้ำไฟฟ้า เครื่องทำน้ำเย็น พัดลม พร้อมถอดปลั๊กออกทันทีเมื่อเลิกใช้งาน

13. ตรวจสอบการรั่วไหลของไฟฟ้าจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ หากพบให้รีบปรับปรุงหรือซ่อมแซมทันที

14. มีแผนการตรวจเช็คและซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพื่อดูแลรักษาให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : moodythai.com


อัพเดทล่าสุด