ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร


1,248 ผู้ชม


ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร




เจตนารมณ์ของกฎหมาย

เพื่อควบคุมป้องกันอันตรายลูกจ้างจากการทำงานกับเครื่องจักร

ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้

ใช้บังคับกับสถานประกอบการทุกประเภทที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปที่มีการใช้เครื่องจักร

สาระสำคัญของกฎหมาย


1. กำหนดเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ดังนี้

1.1 เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ต้องมีสายดินเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
1.2 การเดินสายไฟฟ้าเข้าเครื่องจักร ต้องลงมาจากที่สูง ทั้งนี้ให้ใช้ท่อร้อยสายไฟ
1.3 เครื่องปั้มวัตถุโดยใช้เท้าเหยียบครอบป้องกัน
1.4 เครื่องปั้มวัตถุที่ใช้มือป้อน เครื่องป้อนวัตถุแทนมือ
1.5 เครื่องปั้มหรือเครื่องตัดวัดงานใช้มือป้อน ต้องให้มีสวิตซ์ 2 แห่ง
1.6 เครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงาน เช่น เพลา สายพาน ปลุเล่ ไฟสวีล ต้องมีตะแกรงเหล็กเหนียวครอบในส่วนที่หมุนและส่วนส่งถ่ายกำลัง
1.7 ใบเลื่อยวงเดือน ต้องมีที่ครอบใบเลื่อยในส่วนที่สูงเกินพื้นโต๊ะ
1.8 เครื่องลับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะ ต้องมีเครื่องปิดกั้นประกายไฟหรือเศษวัตถุ
1.9 กำหนดมาตรการการใช้เครื่องมือกล


2. การจัดเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้ลูกจ้างสวมใส่

แนวการตรวจของผู้ตรวจติดตามภายใน

ี่
ผู้ตรวจสอบควรตรวจสอบเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้


1. รอบบริเวณที่ตั้งเครื่องจักร ทางเดินเข้า-ออกจากที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม. รอบบริเวณมีการจัดทำรั้วคอกกั้น หรือแสดงเส้นเขตอันตรายสำหรับเครื่องจักรทำงานที่อาจเป็นอันตราย

2. เครื่องจักร

2.1 ประเภทของเครื่องจักร ความต้องการในด้านความปลอดภัยภัยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของเครื่องจักร
2.1.1 เครื่องลับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะ ต้องมีเครื่องปิดกั้นประกายไฟ
2.1.3 เครื่องเลื่อยวงเดือน ต้องมีที่ครอบใบเลื่อยในส่วนที่สูงเกินกว่าพื้นโต๊ะหรือแท่น
2.1.4 เครื่องตัดวัตถุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยใช้มือป้อนต้องมีสวิตซ์กดด้วยมือ 2 แห่ง
2.1.5 เครื่องปั๊มวัตถุ
- แบบใช้น้ำหนักเหวี่ยง ให้ติดตั้งตัวน้ำหนักเหวี่ยงไว้สูงกว่าศีรษะผู้ปฏิบัติงาน
- กรณีใช้มือป้อน ต้องมีเครื่องป้องกันมือให้พ้นจากแม่ปั๊มหรือจัดหาเครื่องป้อนวัตถุแทนมือ
- กลไกการทำงาน (ใช้มือป้อนชิ้นงาน) ถ้าใช้เป็นสวิตซ์กดให้เครื่องจักรทำงาน ต้องมีสวิตซ์ 2 แห่ง ถ้าใช้เท้าเหยียบให้เครื่องจักรทำงาน ต้องมีที่พักเท้าและมีที่ครอบป้องกันมิให้เหยียบโดยไม่ตั้งใจ
2.1.6 สายพานแขวนลอยที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 540 เมตรต่อนาที หรือสายพานที่มีช่วงยาวเกินกว่า 3 เมตร หรือสายพานที่กว้างกว่า 20 ซม. หรือสายพายโซ่ ต้องมีที่ครอบรองรับ ซึ่งเปิดซ่อมแซมได้
2.1.7 เครื่องจักรชนิดอัตโนมัติต้องมีสีเครื่องหมายปิด-เปิดที่สวิตซ์อัตโนมัติ
2.1.8 ไม่นำรถยก รถปั้นจั่น หรือเครื่องมือยกอื่นๆ ไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

2.2 การเดินสายไฟฟ้า
2.2.1 การเดินสายไฟฟ้าเข้าเครื่องจักร ต้องเดินฝังดินหรือเดินลงจากที่สูง โดยต้องใช้ท่อร้อยสายไฟ เว้นแต่ใช้สายไฟฟ้าชนิดที่มีฉนวนหุ้มเป็นพิเศษ
2.2.2 เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้าต้องต่อสายดินที่ได้มาตรฐาน

2.3 การทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักรต่างๆ ต้องไม่ทำงานเกิดพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้

3. ผู้ปฏิบัติงาน
3.1 การแต่งกาย การสวมใส่เครื่องนุ่งห่มต้องเรียบร้อย รัดกุมไม่ขาดรุ่งริ่ง ผมต้องไม่ไว้ยาว และไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจไปเกี่ยวโยงกับการทำงานของเครื่องจักร
3.2 การสวมอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ซึ่งสรุปเป็นตารางดังที่แนบ

กรณีการติดตั้งหรือซ่อมแซมเครื่องจักร
หากตรวจพบมีการติดตั้งหรือซ่อมแซมเครื่องจักร จะต้องมีป้ายปิดประกาศไว้ ณ ที่นั้น และแขวนป้ายห้ามเปิดสวิตซ์ไว้ที่สวิตซ์

อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ควรจัดหา

ชนิดงาน

กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล

แว่นตา

ชนิดใส

แว่นตา

หรือหน้ากาก

ชนิดใส

แว่นตาลด แสงหรือ กระบัง

หน้าลดแสง

ถุงมือผ้า

ถุงมือยาง

ถุงมือหนัง

รองเท้า

หัวโลหะ

รองเท้าพื้น ยางหุ้มส้น

หมวกแข็ง

แผ่นปิด หน้าอก

กันประกาย ไฟ

งานเชื่อมแก๊ส

งานเชื่อมไฟฟ้า

?

?

?

?

งานลับหรือฝนโลหะ

ด้วยหินเจียระไน

?

?

?

งานกลึงโลหะ กลึงไม้

งานไสโลหะ งานไสไม้ งานตัดโลหะ

?

?

?

งานปั๊มโลหะ

?

?

?

งานชุบโลหะ

?

?

งานพ่นสี

?

?

งานยก ขนย้าย ติดตั้ง

?

?

?

งานควบคุมเครื่องยนต์

เครื่องจักร เครื่องมือกล

?

?

ที่มา : moodythai.com


อัพเดทล่าสุด