รายการตรวจสอบ สำหรับอาคารเก็บสารเคมี


981 ผู้ชม


รายการตรวจสอบ สำหรับอาคารเก็บสารเคมี




หากท่านเป็นองค์กรทีมีสารเคมีที่มีอันตรายหรือมีปริมาณในการจัดเก็บ ผลิตในปริมาณสูง รายการคำถามนี้สามารถใช้สำหรับท่านในการระบุประเด็นที่จำเป็นในการบริหารจัดการการจัดเก็บสารเคมี และวัตถุอันตรายเป็นประโยชน์ในการพิจารณาให้เกิดความปลอดภัยในการประกอบกิจการมากยิ่งขึ้น

ข้อ

คำถาม

ใช่/ไม่ใช่

1.

ทำเลที่ตั้งของอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายเหมาะสมหรือไม่ถ้าไม่เหมาะสม เพราะเหตุใด…………………………………………………………….

 

2.

ทางเข้าออกของอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายเหมาะสมหรือไม่

 

3.

ขนาดของอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายสามารถเก็บได้ในปริมาณสูงสุด……ตัน

 

4.

อาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายได้ก่อสร้างเป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับ

 
 

- วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้าง

 
 

- พื้นผิวของพื้นอาคาร

 
 

- หลังคาของอาคารเก็บและการระบายอากาศ

 
 

- การระบายน้ำทิ้ง

 
 

- ข้อกำหนดอื่นที่ทางราชการกำหนด

 
 

ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด เนื่องจาก…………………………………..

 

5.

คันกั้นรอบอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายมีความสูงไม่ต่ำกว่า 20 ซ.ม.

 

6.

น้ำเสียจากการดับเพลิงมีที่กักเก็บพิเศษหรือไม่

 
 

ไม่มีเลย

 
 

บ่อกักเก็บน้ำใต้ดิน

 
 

บ่อกักเก็บน้ำภายนอกอาคาร

 
 

อื่นๆระบุ

 

7.

ที่กักเก็บน้ำเสียจากการดับเพลิงมีความพียงพอหรือไม่

 
 

สามารถกักเก็บน้ำได้………………………………….ลบ.ม.

 

8.

อาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายมีการระบายอากาศเพียงพอหรือไม่

 

9.

ช่องระบายอากาศที่มีอยู่ทั้งหมดอยู่ในระดับสูงกว่าคันกั้นรอบอาคารหรือไม่

 
 

ถ้าไม่เหมาะสม เพราะเหตุใด…………………………………………………………….

 

10.

อาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายอยู่ห่างจากแหล่งที่ทำให้เกิดความร้อนในระยะห่างเพียงพอหรือไม่

 

11.

แสงสว่าง มีความสว่างเพียงพอหรือไม่ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่

 

12.

อาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย มีการติดตั้งระบบสายล่อฟ้าหรือไม่

 

13.

ทางออกฉุกเฉินภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย มีเพียงพอหรือไม่

 
 

เป็นไปตามข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัยตามกฎหมายหรือไม่

 

14.

สำนักงานหรือห้องทำงานอื่นๆในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย มีการกั้นหรือแยกออกจากบริเวณที่เก็บหรือไม่

 
 

มีทางออกนอกอาคารโดยไม่ผ่านบริเวณที่เก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายหรือไม่

 

15.

มีการกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนี้หรือไม่

 

16.

การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบได้ครอบคลุมถึงสิ่งต่อไปนี้หรือไม่

 
 

- การรับ-ส่งสารเคมีและวัตถุอันตราย

 
 

- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 
 

- สุขศาสตร์อุตสาหกรรม

 
 

- การบำรุงรักษาสภาพบริเวณเก็บ

 
 

- การรักษาความปลอดภัย

 
 

- การป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อม

 
 

- การกำหนดรายละเอียดวิธีการในแผนฉุกเฉิน

 

17.

อาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายได้มีการกำหนดในเรื่องการป้องกันการก่อวินาศกรรมหรือไม่

 

18.

ในแผนป้องกันการก่อวินาศกรรมได้ครอบคลุมถึงสิ่งต่อไปนี้หรือไม่

 
 

- ระบบสัญญาณเตือนภัย

 
 

- มีระบบป้องกันของประตู-หน้าต่าง อาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย

 
 

- มีรั้วรอบอาคารเก็บ

 
 

- ยามรักษาการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง

 
 

- แสงไฟที่สามารถส่องสว่างได้ในบริเวณกว้างรอบอาคาร

 

19.

การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตรายได้กำหนดไว้ในเรื่องต่างๆดังนี้หรือไม่

 
 

- ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสาร

 
 

- วิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

 
 

- วิธีการปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

20.

ในระหว่างการรับ-ส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบคอยดูแลพร้อมตรวจสอบเอกสารกำกับ

 

21.

สารเคมีและวัตถุอันตรายทุกชนิด มีข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ครบหรือไม่

 

22.

แผนการควบคุมการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายได้มีการทบทวนให้ทันสมัยอยู่เสมอหรือไม่

 

23.

ถ้ามีสารเคมีและวัตถุอันตรายบางชนิดที่เก็บไว้ภายนอกอาคารเก็บ ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในส่วนต่างๆเหล่านี้หรือไม่

 
 

- ระบบรักษาความปลอดภัย

 
 

- การป้องกันในเรื่องสภาพภูมิอากาศ ความชื้นต่างๆ

 
 

- ทางเข้าผจญเพลิงบริเวณที่เก็บเหมาะสมหรือไม่

 

24.

ภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายได้จัดแยกออกเป็นสัดส่วนหรือไม่

 

25.

บริเวณทางเดินภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายได้ทำเครื่องหมายให้เห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถเข้า-ออกได้โดยสะดวกหรือไม่

 

26.

การจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายในแต่ละประเภทได้แยกเป็นหมวดหมู่ตามข้อกำหนด ข้อแนะต่างๆหรือไม่

 

27.

ได้จัดให้มีกทางเดินที่ว่างเพียงพอที่จะเข้าทำการตรวจสอบได้สะดวกหรือไม่

 

28.

ชั้นที่วางหีบห่อของสารเคมีและวัตถุอันตรายเป็นวัสดุไม่ติดไฟได้ง่ายใช่หรือไม่

 

29.

มีการควบคุมในเรื่องปริมาณและสถานที่จุดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการตลอดเวลาหรือไม่

 

30.

การเก็บได้แยกเก็บตามประเภทของสารเคมีและวัตถุอันตรายถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่

 

31.

ในการแบ่งบรรจุหรือทำการหีบห่อสารเคมีและวัตถุอันตรายที่ต้องใช้ความร้อนมาช่วยผนึกหีบห่อได้จัดทำในห้องโดยการแยกเป็นสัดส่วนได้เหมาะสมหรือไม่

 

32.

ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรือก่อสร้างต่อเติมอาคารต้องได้รับอนุญาตทำงานเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่

 

33.

การขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายโดยใช้รถยกในการลำเลียงหีบห่อภาชนะบรรจุต่างๆทำได้เหมาะสมโดยมีระบบป้องกันหรือไม่

 

34.

มาตรฐานเรื่องความสะอาดและการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายได้กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่

 

35.

ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตรายมีความเข้าใจถึงความสำคัญของชุดปฏิบัติงานและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลหรือไม่

 

36.

ผู้ปฏิบัติงานสวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานหรือขนย้ายสารเคมีและวัตถุอันตรายหรือไม่

 

37.

มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพียงพอและเหมาะสมในกรณีเกิดการหกรั่วไหลของสารเคมีและวัตถุอันตรายขณะขนย้ายหรือไม่

 

38.

มีอุปกรณ์เครื่องมือปฐมพยาบาลและส่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอหรือไม่

 

39.

มีข้อกำหนดวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมในกรณีที่สารเคมีและวัตถุอันตรายหกรั่วไหลหรือไม่

 

40.

ในกรณีที่สารเคมีและวัตถุอันตรายมีลักษณะเป็นผงหกรั่วไหล วิธีการทำความสะอาดโดยใช้เครื่องดูดฝุ่นใช่หรือไม่

 

41.

มีการเตรียมสารดูดซับไว้ในกรณีสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวหกรั่วไหลหรือไม่

 

42.

วิธีการกำจัดกากสารเคมีและวัตถุอันตรายทำอย่างปลอดภัยหรือไม่

 

43.

วิธีการกำจัดกากสารเคมีและวัตถุอันตรายได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้องหรือไม่

 

44.

ได้มีการกำหนดวิธีการป้องกันการนำภาชนะบรรจุสารเคมีและวัตถุอันตราย กลับมาใช้ใหม่หรือไม่

 

45.

มีข้อกำหนดที่ใช้บังคับมิให้สูบบุหรี่ในบริเวณอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายหรือไม่

 

46.

การใช้รถยกภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายชนิดไวไฟ มีระบบการป้องกันการเกิดประกายไฟและไฟฟ้าสถิตย์อย่างเหมาะสมหรือไม่

 

47.

การจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย มีการกำหนดระยะทางที่ปลอดภัยไว้หรือไม่ จากหลอดไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และการปฏิบัติงานอื่นๆ เช่น การหีบห่อภาชนะบรรจุ

 

48.

ชนิดและปริมาณของเครื่องดับเพลิง สายฉีดน้ำดับเพลิง และทอน้ำต่างๆเพียงพอเหมาะสมหรือไม่

 

49.

ภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายมีการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่นระบบสปริงเกอร์ หรืออุปกรณ์ตรวจจับควัน หรือไม่

 

50.

มีการจัดทำแผนฉุกเฉินหรือไม่

 

51.

สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติได้มีการเชื่อมตรงไปยังสถานีดับเพลิงหรือไม่ ระยะเวลาที่รถดับเพลิงจะมาถึง………….นาที

 

52.

แผนฉุกเฉินนี้ได้จัดทำร่วมกับพนักงานดับเพลิงภายในท้องถิ่นนั้นหรือไม่

 

53.

มีการจัดทำแผนผังแสดงตำแหน่งเครื่องดับเพลิงและอุปกรณ์ต่างๆไว้หรือไม่

 

54.

มีการจัดการฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่

 

55.

มีการฝึกซ้อมแผนในการผจญเพลิงร่วมกับพนักงานดับเพลิงส่วนท้องถิ่นหรือไม่

 

ที่มา : moodythai.com

อัพเดทล่าสุด