หัวหน้า กับ การเสริมสร้าง ทัศนคติ ด้านความปลอดภัย


1,035 ผู้ชม


หัวหน้า กับ การเสริมสร้าง ทัศนคติ ด้านความปลอดภัย




หัวหน้างานเป็นผู้ที่มีบทบาทมาก ในเรื่องการเสริมสร้างทัศนคติด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงาน เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดมากที่สุด (ในทุกวันที่ทำงานร่วมกัน) นอกจากนั้นยังต้องทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการ ด้วยคือ
1. เป็นผู้ตอบคำถามด้านนโยบายการบริหาารความปลอดภัยที่ใกล้ชิดที่สุดแก่พนักงาน
2. เป็นผู้ตอบคำถามทางด้านการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ผ่ายบริหารและพนักงานที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาด้วย
การเสริมสร้างทัศนคติด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงาน อาจทำได้ด้วยการฝึกอบรม (Training) การประชุมชี้แจง (Meeting) การให้การควบคุม ดูแล และชี้แนะ (Coaching) แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องยึดหลัก 3 ประการนี้ไว้ คือ
- เหตุผลทางด้านมนุษยธรรม
- เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ
- เหตุผลทางด้านกฏหมายแรงงาน
หัวหน้าจะช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานด้านความปลอดภัยในหน่วยงานของตนเองได้อย่างไรบ้าง...คำตอบคือ อาจจะต้องหาวิธีการหลายๆวิธีการและต้องทำอยู่เสมอ (ปฏิบัติบ่อยๆ จนเกิดความเคยชิน) เช่น
1. สำรวจตรวจสอบตลอดเวลา
2. สร้างตัวอย่างที่ดี
3. กระตุ้นเตือนฝ่ายบริหารและพนักงานอยุ่เสมอ
4. จัดทำแบบมาตรฐานของการทำงานที่ปลอดภัยแก่งานทุกชนิด
5. วิเคราะห์หาต้นเหตุของอุบัติเหตุทุกครั้ง
6. จัดหาเครื่องแต่งกาย และเครื่องป้องกันอันตรายให้เพียงพอ
7. ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อพนักงาน
การจูงใจให้พนักงานใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
โดยหลักวิชาจิตวิทยาและหลักการสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ได้กำหนดไว้ตามแนวของมาสโลว์ (Abraham Maslow) ว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการ 5 ขั้นเสมอ เรียกว่า ความต้องการพื้นฐาน (Basic Needs) คือ
1. ความต้องการเกี่ยวกับร่างกาย (Physiological Needs) ได้แก่ ปัจจัย 4 (เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค) ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ต้องเพิ่มอีกหนึ่งก็คือ ความต้องการทางเพศ (Sex)
2. ความต้องการเกี่ยวกับความมั่นคงและความปลอดภัย (Safety Needs)
3. ความต้องการเกี่ยวกับสังคมหรือความผูกพันในสังคม (Belonging Needs)
4. ความต้องการที่จะมีเกียรติ มีชื่อเสียง (Esteem Needs)
5. ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต หรือพิสูจน์ตนเองว่าได้ก้าวมาถึงจุดมุ่งหมายสุดยอดที่ตั้งไว้แล้ว (Self Actualization Needs)
จากแนวความคิดข้างต้นกล่าวได้ว่า ความปลอดภัยโดยตัวของมันเองสามารถเป็นเครื่องจูงใจให้คนงานหรือพนักงานปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้ในบางกรณี แต่อีกหลายกรณีกลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม และไม่อาจใช้ได้ผลเท่าที่ควรจำเป็นจะต้องค้นหา ปัจจัยจูงใจอื่นๆ เพื่อทำให้คนงานหรือพนักงานยอมรับและปฏิบัติตามในเรื่องของความปลอดภัยจนได้
เราอาจสรุปได้ว่า "จิตสำนึกต่อความปลอดภัย" (Safety Conscious) ของคนงานหรือพนักงานเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ อาทิ
- ความเป็นผู้ใหญ่
- สถานภาพทางครอบครัว
- ประสบการณ์ที่ผ่านมา
- การศึกษาอบรม และการฝึกปฏิบัติจนเคยชิน
แนวทางการจูงใจ
1. ในการออกคำสั่ง ต้องชี้แจงเหตุผลและแสดงถึงผลดีและผลเสียอย่างชัดเจน
2. อบรมโดยเฉพาะเกี่ยวกับวินัยและกฏระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยของโรงงานหรือสำนักงาน
3. มีการจัดตั้งหัวหน้าชุดหรือหัวหน้าดูแลเป็นพิเศษ คณะกรรมการความปลอดภัย (Safety Committee) ก็จะต้องมีบทบาทอย่างสำคัญด้วย
4. ระวังการชี้นำ หรือการสร้างตัวอย่างการทำงานที่ผิด
5. สร้างความคิดหรือค่านิยมที่ยกย่องส่งเสริมคนที่ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยมากกว่าคนที่กล้าเสี่ยงปฏิบัติและรอดชีวิตมาได้
6. มีการติดตามความประพฤติของคนงานหรือพนักงานที่มีสถิติเกิดอุบัติเหตุ หรือเคยได้รับอุบัติเหตุมาแล้วอย่างใกล้ชิด
ปัจจัยอื่นๆ ที่นำมาใช้ในการจูงใจ
ก. ความสำเร็จของงาน (Achievement)
ข. การยอมรับนับถือ (Recognition)
ค. ความก้าวหน้า (Advancement)
ง. ลักษณะของงาน (The Work Itself)
จ. ความรับผิดชอบ (Responsibility)
โดย สุชาญ โกศิน

อัพเดทล่าสุด