ความรับผิดชอบของลูกจ้างต่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
ตามกฎหมายนายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของลูกจ้าง โดยนายจ้างจะเป็นผู้รับผิดขอบค่าเสียหาย และ ค่าทดแทนให้กับลูกจ้าง
ความเป็นจริงลูกจ้างคือผู้ที่สามารถป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานได้ดีที่สุด
การที่จะทำให้ลูกจ้างตระหนักถึงความรับผิดชอบในความปลอดภัยในการทำงานนั้น นายจ้างควรจะจัดฝึกอบรมกันตั้งแต่การปฐมนิเทศก่อนเข้าทำงานและจัดอบรมอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างปฏิบัติงาน
หัวข้อต่างๆที่นายจ้างควรมีการจัดฝึกอบรมให้ลูกจ้างให้ตระหนักถึงการปฏิบัติงานด้วยความความปลอดภัย
- อบรมให้ทราบถึงสาเหตุที่จะก่อให้เกิดอันตรายในที่ทำงาน เมื่อเขาทราบถึงสาเหตุแล้วก็สามารถที่จะป้องกันตนเองและ เพื่อนร่วมงานจากอันตรายได้
- อบรมให้สามารถแก้ไขและรายงานผู้บริหารถึงสภาวะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในการทำงาน
- อบรมให้สามารถให้คำแนะนำฝ่ายบริหารให้หาทางป้องกันและ กำจัดสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เนื่องจากลูกจ้างเป็นคนที่เห็นถึงปัญหาในการทำงาน และ ทราบถึงแนวทางที่จะป้องกัน
- อบรมให้ลูกจ้างคิดก่อนที่จะทำ คนส่วนใหญ่มักจะทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นแต่ยังเลือกที่จะเสี่ยง คุณจึงต้องทำความเข้าใจกับลูกจ้าง ให้คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นและ ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในผลนั้นๆ
- อบรมให้ลูกจ้างเคารพกฎระเบียบในการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย โดยต้องมีการบังคับใช้กฎอย่างจริงจัง และมีการลงโทษหากมีการฝ่าฝืน
- มีการฝึกอบรมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆอย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
- เมื่อมีการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยลูกจ้างจะต้องมีส่วนร่วมและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ในการทำงาน
- มีการจัดอุปกรณ์ให้ลูกจ้างสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆรวมทั้งมีการดูแลและซ่อมแซม
- อบรมให้ลูกจ้างทำความสะอาดพื้นที่ในการทำงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
- อบรมให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์ให้อยู่ในที่ๆถูกต้องและไม่มีการเปิดเครื่องจักรเมื่ออุปกรณ์ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย
- มีการจัดอบรมการใช้อุปกรณ์ในการยกและไม่ยกของหนักโดยไม่มีการป้องกัน หากมีความจำเป็นต้องมีการจัดอบรมถึงวิธีการยกที่ถูกต้อง
การปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยในสถานที่ทำงานจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติงาน รับผิดชอบในหน้าที่และ ตระหนักถึงความปลอดภัยในทุกขั้นตอนการทำงาน
ที่มา : วันสต๊อปเอ็ชอาร์