จป. สำคัญไฉน?
จากประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ
- นายจ้างต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานไว้ประจำสถานประกอบการโดย
1.1 สถานประกอบการที่มีลูกจ้างไม่ถึง 50 คน ต้องมี- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้า
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้า
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
- นายจ้างต้องจัดการอบรมลูกจ้าง เพื่อให้มีความรู้พื้นฐาน และทราบข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยก่อนให้ลูกจ้างซึ่งรับใหม่เข้าปฏิบัติงาน
- นายจ้างต้องแจ้งข้อมูลเพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงความปลอดภัย เมื่อสั่งให้ลูกจ้างทำงาน ณ สถานที่ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
ผลของประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้ ทำให้ต้องมีการแต่งตั้ง จป. ขึ้นในสถานประกอบการต่างๆ แต่เมื่อแต่งตั้งแล้วมีนายจ้างไม่น้อยที่เกิดปัญหาเรื่องจะให้ จป. ทำอะไร และมีหน้าที่อย่างไรในแต่ละระดับ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน มีหน้าที่
- แนะนำลูกจ้างให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ หรือ มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
- สำรวจและรายงานสภาพความไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไข
- รายงานอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานต่อนายจ้าง
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยตามที่ จป. ระดับหัวหน้างานหรือผู้บริหารมอบหมาย
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้า มีหน้าที่
- กำกับดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
- สอนวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องให้แก่ลูกจ้าง
- ตรวจสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องมาจากการทำงาน
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยตามที่ จป. ระดับบริหารมอบหมาย
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร มีหน้าที่
- กำกับดูแลให้ จป. ระดับพื้นฐาน หัวหน้างาน และระดับวิชาชีพ ให้ปฏิบัติงานตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ โดยต้องเป็น
- 4.1 ผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า หรือสาขาอื่นที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือ
- 4.2 ผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า ปวส. และผ่านการฝึกอบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง หรือ
- 4.3 จป. ที่ผ่านการศึกษาอบรมและทดสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือ
- 4.4 จป. ที่ได้ปฏิบัติงานในระดับพื้นฐานอย่างน้อย 5 ปี และมีผลการลดการประสบอุบัติเหตุ 10% ต่อปี ของอัตราการประสบอันตรายใน 2 ปีที่ผ่านมา และผ่านการฝึกอบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง
จป. ระดับวิชาชีพ มีหน้าที่- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
- จัดทำแผนงาน โครงการ มาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
- ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน โครงการ หรือมาตรการ
- กำกับ ดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัย
- แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือเหตุเดือดร้อนรำคาญ และรายงานผล รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
- รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และจัดทำรายงาน เกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง