บทวิเคราะห์: แผนฯ 8 กับการพัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน


841 ผู้ชม


บทวิเคราะห์: แผนฯ 8 กับการพัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน




แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544)
ปัญหาการพัฒนาที่ขาดความสมดุล
เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน
การก้าวสู่วิสัยทัศน์ การพัฒนาที่พึงปรารถนาในระยะยาว
เน้นคนคือศูนย์กลางของการพัฒนา
วัตถุประสงค์ของแผนฯ 8
1) เสริมสร้างศักยภาพของคนทุกคน
- ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
- สุขภาพอนามัยแข็งแรง
- ความรู้ ความสามารถ ทักษะในการประกอบอาชีพ
- สามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง (เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง)
2) พัฒนาสภาพแสดล้อมสังคมให้มั่นคง
- เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวเข้มแข็ง
- พัฒนาคุณภาพชีวิตคน
- ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา
3) พัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
- เสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา
- ได้รับผลจากพัฒนาที่เป็นธรรม
4) ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ให้สมบูรณ์
- สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
5) ปรับระบบบริหารจัดการ
- เปิดโอกาสองค์กรภาคเอกชน ชุมชน ประชาชน มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น
เป้าหมายของแผนฯ 8 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน และลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยเฉพาะการจราจร การขนส่งวัตถุเคมีอันตราย และอัคคีภัยในอาคารสูง
การพัฒนาศักยภาพคนด้านสุขภาพอนามัย
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคน โดยใช้มาตรการทางกฎหมายหรือสิ่งจูงใจต่าง ๆ ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการ ได้มีการลงทุนในการพัฒนามาตรการป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยในการทำงาน และการจัดสถานที่สำหรับกิจกรรมสันทนาการและการออกกำลังกาย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมแก่คนงาน
การพัฒนาการผลิตและการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
- ประสานการผลิตบุคลากรสาธารณสุขให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
- สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรสาธารณสุข
- มีกลไกควบคุมคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ
- เน้นเนื้อหาหลักสูตรส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
- ปลูกฝังเรื่องจรรยาบรรณและคุณธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ
- พัฒนากระบวนการฝึกอบรมบุคลากรประจำการในสาขาที่มีความขาดแคลนตามสภาพปัญหาสาธารณสุขใหม่ ๆ เช่น ด้านอาชีวเวชศาสตร์
การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาสุขภาพและอนามัย
1) พัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
2) ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
3) ส่งเสริมการวิจัยหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อใช้กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข
4) ส่งเสริมการระดมทุนเพื่อการดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชนชนในชุมชน เช่น การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลสภาพแวดล้อมมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การปฏิรูประบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ
1) ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
- สนับสนุนงบประมาณ บุคลากร และการปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ
2) สนับสนุนให้เกิดระบบการจัดการบริหารงานในลักษณะแผนงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานคุ้มครองผู้บริโภค งานส่งเสริมสุขภาพ งานโภชนาการ งานอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม งานความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุ งานป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) ส่งเสริมให้ประชาชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการสาธารณสุข
การพัฒนากฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1) พ.ร.บ. สาธารณสุข (2484) -> พ.ร.บ. สาธารณสุข (2535)
2) พ.ร.บ. โรงงาน (2512) -> พ.ร.บ. โรงงาน (2535)
3) ประกาศ ปว.103 (2516) -> พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (2541)
มีผลบังคับใช้ 19 ส.ค. 2541
(หมวด 8 เป็นกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน)
4) พ.ร.บ. ประกันสังคม (2538)
5) พ.ร.บ. วัตถุอันตราย (2535)
6) พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (2535)
7) พ.ร.บ. เงินทดแทน

ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  - ไม่ระบุที่มา -

อัพเดทล่าสุด