หลักการวินิจฉัยโรคจากการทำงานตามแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกา


783 ผู้ชม


หลักการวินิจฉัยโรคจากการทำงานตามแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกา




หลักเบื้องต้นทั่วไป
1. ผลการวิเคราะห์โรค ตรงกันหรือเข้ากันได้กับผลที่อาจเกิดจากสารหรือสิ่งที่ลูกจ้างทำงาน
2. ลูกจ้างทำงาน (ในอดีต/ปัจจุบัน) เกี่ยวกับสารหรือปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดโรคได้
3. ชั่งน้ำหนักจากเหตุผลและหลักฐาน เชื่อได้ว่าเป็นโรคเนื่องจากการทำงานมากกว่าโรคทั่วไป
แนวทางวินิจฉัยโรคจากการทำงาน
หลักการพิจารณาที่นำไปสู่การตัดสินใจมี 6 ขั้นตอน คือ
1. พิจารณาเกี่ยวกับหลักฐานทางการแพทย์
- วิเคราะห์ประวัติผู้ป่วย เกี่ยวกับโรคเดิม โรคจากการทำงาน อาชีพที่ทำทั้งอดีตและปัจจุบัน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวและสังคม เพื่อหาสมุหฐานของโรค และปัจจัยหรือสิ่งที่อาจทำให้เกิดโรคจากการทำงาน
- ผลการวิเคราะห์โรค อาการแสดงต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะทำการตรวจในเรื่องระบบทั่วไปของร่างกาย สังเกตอาการ ตรวจสอบพิเศษเพื่อดูความสัมพันธ์กับสิ่งที่สงสัย หรือปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ทำการเปรียบเทียบอาการที่พบกับโรคจากการทำงาน แล้วจึงประเมินผลจากข้อมูลที่เป็นอยู่
- ผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่ภายในร่างกาย
2. พิจารณาเกี่ยวกับหลักฐานข้อมูลทางระบาดวิทยา
เพื่อดูโอกาสและคาดความเป็นไปได้ของงานชนิดเดียวกันจากอดีต ผลการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบ แต่ไม่ได้ใช้ชี้สาเหตุของโรค เช่น ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับแอสเบสตอส จะมีโอกาสเป็นโรคแอสเบสโตสิส (Asbestosis)
3. พิจารณาเกี่ยวกับหลักฐานการสัมผัสต่อปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ซึ่งข้อมูลทั่วไปที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างงานกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุมีดังนี้
- หลักฐานแสดงการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องหรือใช้สารนั้น ๆ
- เคยมีข้อมูลศึกษาสภาพของงาน
- ข้อมูลที่แสดงการสัมผัสกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุ เช่น ชื่อสารเคมี รายละเอียดขั้นตอนการทำงานและการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล รวมถึงทางเข้าสู่ร่างกายที่เป็นไปได้ (ทางการหายใจ, การกิน, และทางผิวหนัง)
4. พิจารณาเกี่ยวกับความเชื่อถือได้ของข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ให้ข้อมูลและความเชื่อถือได้ของหลักฐานในทางการแพทย์ เช่น
- แพทย์ผ่านการอบรบด้านอาชีวเวชศาสตร์
- แพทย์เฉพาะทางเน้นวินิจฉัยโรคจากการทำงาน
- แพทย์ผู้รักษามีประสบการณ์ด้านโรงงาน
และในด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เช่น
- ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักอาชีวอนามัย นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
- ประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้
- จำนวนตัวอย่างที่เก็บ จุดที่เก็บตัวอย่าง วิธีการที่ใช้เก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ
5. พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. สรุปประเมินผลการวินิจฉัย

ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  แปลจาก NIOSH Guidelines for Occupational Diseases Prevention โดย Wisanti L.

อัพเดทล่าสุด