บทคัดย่อ : ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้างในจังหวัดสุพรรณบุรี
บทคัดย่อ : ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้างในจังหวัดสุพรรณบุรี |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้างในจังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ของคนงานก่อสร้าง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานของคนงานก่อสร้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คนงานก่อสร้างของบริษัทรับเหมาก่อสร้างบางแห่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 252 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง จำนวน 234 คน คิดเป็นร้อยละ 92.86 ในระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2543 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า คนงานก่อสร้างเป็นชายร้อยละ 52.6 อายุเฉลี่ย 36.9 ปี สมรสแล้วร้อยละ 80.3 มีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 79.9 ปฏิบัติงานในตำแหน่งช่างต่างๆ ได้แก่ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเหล็ก และช่าวไฟฟ้า ร้อยละ 37.6 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,781 บาท ส่วนใหญ่มีความรู้ และทัศนคติ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ปัจจัยเอื้อด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัย ด้านสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนของภาครัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง และด้านการรับรู้มาตรการการป้องกันอุบัติเหตุ จากการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และเมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยนำด้านตำแหน่งที่ปฏิบัติงาน รายได้ ทัศนคติ และวคามตระหนัก เกี่ยวกับความปลอดภัย ปัจจัยเอื้อด้านข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับความปลอดภัย ด้านสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานได้ร้อยละ 26.3 ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงควรจัดให้มีการเสริมสร้างทัศนคติ และความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทำงานแก่ผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง จัดให้มีแหล่งข้อมูลข่าวสาร เอกสาร คู่มือเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน กระตุ้นให้ผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง ปฏิบัติตามกฎระเบียบในการทำงาน รวมทั้งรณรงค์ให้มีการใช้อุปกรณ์ ป้องกันอันตราย อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับลักษณะของงาน -------------------------------- Factors Affecting Work Safety of Construction Workers in Suphunburi Province The purposes of this survey research were to study predisposing factors, enabling factors, reinfording factors and work safety behavior among construction workers in Suphunburi province and to examine the correlation of these factors with work safety behavior. The total 252 construction workers were purposively sampling from a number of construction contractors in Suphunburi. The data was collected by interviewing 234 workers (92.84%) during May to July 2000. The percentage, mean, standard deviation, Chi-square, Pearson Product Moment Correlation and Step Multiple Regression were employed for data analysis. About half (52.6%) of these workers were males with average age of 36.9 years, 80.3% were married and 79.9% had primary school level of education. About 37.6% were carpenters, cement workers, ironworkers and electricians with average monthly income of Baht 4,781. The knowledge, attitude and practice on work safety were at moderate levels which accounted for 67.5%, 7.05% and 69.7% respectively. The Pearson Product Moment Correlation testing revealed that predisposing factors on attitude and practice on work safety; enabling factors on information about work safety and medical care facility; and reinforcing factors on support from government / all concerns and perception on prevention measure for work accidents had significant positive relation with work safety (p<0.05). In addition, the Stepwise Multiple Correlation testing also suggested that factors n working position, income, attitude and awareness on work safety; enabling factors on information of work safety, medical care facility; and reinforcing factors on support from government / all concerns could explain the variation of safety behavior at 26.3%. In order to create positive attitude and awareness on work safety among construction workers, it is necessary that adequate information, documents as well as manual about work safety are provided. These workers should also be encouraged to strictly follow work instruction and regulations. Besides, campaign to introduce proper and correctly use of safeguard instruments should be conducted. ที่มา/ผู้ดำเนินการ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (โดย บุญชู ชาวเชียงขวาง และคณะ) |