ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม : เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(7) และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสำหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างที่ประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
- การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียม หรือ ปิโตรเคมี
- การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน
และรวมถึงการต่อเรือ การให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น - การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลงหรือรื้อถอน อาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือ ประปาหรืองานก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
- การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมถึงการบรรทุกขนถ่ายสินค้าด้วย
- สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
- กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด
- ราชการส่วนกลาง
- ราชการส่วนภูมิภาค
- ราชการส่วนท้องถิ่น
- กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด
ข้อ 6 ในประกาศนี้
"นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้หรือยอมให้รับผล ประโยชน์ตอบแทนจากบุคคลอื่น และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติให้ทำการแทนด้วยในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรงโดยมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่งก็ดี มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางานก็ดี โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการให้ถือว่า ผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้าง ดังกล่าวด้วย
"ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้แก่นายจ้างโดยรับค่าจ้างหรือยอมรับผลประโยชน์ตอบแทนจากบุคคลอื่น แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
"ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินหรือเงินและสิ่งของที่จ่ายให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลาด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
"ความปลอดภัยในการทำงาน" หมายความว่า การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการ ประสบอันตราย การเจ็บปวดอันเนื่องมาจากการทำงานต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือความเดือด ร้อนรำคาญเนื่องจากการทำงาน หรือเกี่ยว กับการทำงาน
"เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน" หมายความว่า ลูกจ้างผู้ซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน ระดับ
หัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ
"ลูกจ้างระดับปฏิบัติการ" หมายความว่า ลูกจ้างที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน
"ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน" หมายความว่า ลูกจ้างผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแล บังคับบัญชาสั่งงาน ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ
"ลูกจ้างระดับบริหาร" หมายความว่า ลูกจ้างตั้งแต่ระดับผู้จัดการหน่วยงานขึ้นไป
"สถานประกอบกิจการ" หมายความว่า หน่วยงานแต่ละหน่วยของนายจ้างที่ดำเนินกิจการตามลำพังเป็นหน่วยๆ และมีลูกจ้างทำงานอยู่
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
หมวด 1 |
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน |
ข้อ 7 ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างไม่ถึงห้าสิบคนจัดให้ลูกจ้างระดับปฏิบัติการซึ่งนายจ้าง แต่งตั้งให้เป็นผู้แทนลูกจ้างตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด และแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานของสถานประกอบ กิจการภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายใน หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนลูกจ้าง
ข้อ 8 ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ หรือมาตรการเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการทำงาน
- สำรวจสภาพการทำงาน และรายงานสภาพความไม่ปลอดภัยตลอดจนเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขต่อนายจ้าง
- รายงานการเกิดการประสบอันตราย หรือการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงาน ของลูกจ้างต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างานหรือระดับบริหารมอบหมาย
หมวด 2 |
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน |
ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างระดับหัวหน้างานเข้ารับการฝึกอบรมตาม หลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด และแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการภายในกำหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับ แต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้างาน
ข้อ 11 ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมีหน้าที่ดังนี้
- กำกับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
- สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อน รำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับพื้นฐานหรือระดับวิชาชีพและรายงานผลรวมทั้งข้อเสนอแนะ ต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน การทำงานระดับบริหารมอบหมาย
หมวด 3 |
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร |
ข้อ 12 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างระดับบริหารเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ ที่อธิบดีกำหนดและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ของสถานประกอบกิจการภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มี ผลใช้บังคับ หรือภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับบริหาร
ในกรณีที่ไม่มีลูกจ้างระดับบริหาร ให้นายจ้างเข้ารับการอบรมตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 13 ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- กำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้า งานและระดับวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
- ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
หมวด 4 |
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ |
ข้อ 14 ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพประจำสถานประกอบกิจการ อย่างน้อยแห่งละหนึ่งคนเพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยเต็มเวลา ภายในกำหนด หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับหรือภายในกำหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างห้าสิบคนขึ้นไป
ข้อ 15 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่าหรือ สาขาอื่นที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและผ่านการฝึก อบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานรับรอง
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานซึ่งผ่านการศึกษาอบรมและทดสอบ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัย ในการทำงาน ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2538 และเข้ารับการฝึก อบรมและผ่านการทดสอบอีกครั้งหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด
- ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานอย่างน้อยห้าปี และมีผลงานการลดอัตราการประสบอันตรายไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบต่อปีของ อัตราการประสบอันตรายในสองปีที่ผ่านมาและผ่านการฝึกอบรมและทดสอบ ตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงานรับรอง
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย ในการทำงาน
- จัดทำแผนงาน โครงการ มาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานเสนอ ต่อนายจ้าง
- ตรวจสอบการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการหรือมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
- กำกับดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการทำงาน
- แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำ ให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อน รำคาญอันเนื่องมาจากการทำงาน และรายงานผลรวมทั้งข้อเสนอแนะต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
- รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และจัดทำรายงาน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่อง มาจากการทำงานของลูกจ้าง
หมวด 5 |
เบ็ดเตล็ด |
ข้อ 18 ให้นายจ้างแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 4 ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามแบบที่อธิบดี กำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้แต่งตั้ง
การแจ้งตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างแสดงปริญญาบัตรหรือหลักฐานการอบรม และทดสอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานนั้นด้วยในกรณีที่นายจ้างได้ แต่งตั้งเจ้าหน้ที่ความปลอดภัยในการทำงานที่มีคุณสมบัติตามประกาศกระทรวง มหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อมาโดยมีคุณสมบัติตามข้อ 15 ถือว่า นายจ้างได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และแจ้งชื่อ ตามประกาศฉบับนี้แล้ว
ข้อ 19 เมื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหารหรือระดับวิชาชีพพ้นจากหน้าที่ ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับเดียวกันแทนที่และแจ้งชื่อต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทำงานคนเดิมพ้นหน้าที่
ข้อ 20 ก่อนให้ลูกจ้างซึ่งรับเข้าทำงานใหม่ปฏิบัติงาน ให้นายจ้างจัดให้มีการอบรม เพื่อให้ความรู้พื้นฐานและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทำงานให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่กรณีที่ให้ลูกจ้างทำงาน ซึ่งมีความแตกต่างไปจากงานที่ลูกจ้างเคยปฏิบัติอยู่แต่เดิมและอาจเกิดอันตรายด้วย
ข้อ 21 ในกรณีที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างไปทำงาน ณ สถานที่อื่นซึ่งเสี่ยงหรืออาจเสี่ยง ต่อการเกิดอันตราย ให้นายจ้างแจ้งข้อมูลอันจำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานท ดังกล่าวให้ลูกจ้างทราบก่อนการปฏิบัติงาน
ข้อ 22 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 | |
(ลงชื่อ) ฉัตรชัย เอียสกุล (นายฉัตรชัย เอียสกุล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม |