ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน


1,172 ผู้ชม


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน




  • ความปลอดภัยในการทำงาน
    สภาพการทำงานที่ปลอดภัยจากเหตุ อันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุการประสบอันตราย โรค การเจ็บป่วย หรือความเดือดร้อน รำคาญ เนื่องจากการทำงาน หรือเกี่ยวกับการทำงาน
  • การประสบอันตราย
    การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กาย หรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง
  • อุบัติเหตุจากการทำงาน
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่ได้คาดคิดและไม่ได้ควบคุมไว้ก่อนในทีททำงาน แล้วผลทำให้คนบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต และอาจทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
  • ความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุ
    1. ความสูญเสียทางตรง
    - ค่ารักษาพยาบาล
    - ค่าทดแทน
    - ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ
    - ค่าประกันชีวิต
    2. ความสูญเสียทางอ้อม
    - เสียเวลาทำงานคนเจ็บ คนงาน หัวหน้างาน
    - ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร
    - วัตถุดิบ/ สินค้าเสียหาย
    - ผลผลิตลดลง
    - ค่าสวัสดิการของผู้บาดเจ็บ
    - การสูญเสียโอกาสทำกำไร
    - ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา
    - การเสียชื่อเสียง
  • ปัจจัยการเกิดการประสบอันตรายจากการทำงาน
    1. คน
    2. สิ่งแวดล้อม
    เสียงดัง ความสั่นสะเทือน ความร้อน ความเย็น รังสี แสงสว่าง ความกดดันบรรยากาศ เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ บริเวณสถานที่ทำงาน
    - สิ่งแวดล้อมทางเคมี
    สารเคมีในรูปของก๊าซ ไอสาร ฝุ่น ฟูม ละออง ในรูปของเหลว สารตัวทำละลาย กรด ด่าง
    - สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
    สิ่งมีชีวิต ได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ สัตว์ต่าง ๆ
    สิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ ฝุ่นพืช ฝุ่นไม้ ฝุ่นฝ้าย ฝุ่นเมล็ดพืช
    - สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม
    การทำงานเป็นผลัดหรือกะ การทำงานล่วงเวลา การทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่แปลกหน้า การย้ายถิ่นจากชนบทมาอยู่ในเมืองอุตสาหกรรม ค่าจ้างไม่เหมาะสม การทำงานซ้ำซาก การทำงานไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และจิตใจ การเร่งรัดการทำงานแข่งกับเวลา
  • สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
    1. สาเหตุนำของการเกิดอุบัติเหตุ
    1.1 ความผิดพลาดของการจัดการ
    - ไม่มีการสอนหรืออบรมเกี่ยวกับการปลอดภัย
    - ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
    - ไม่มีการวางแผนและเตรียมงานด้านความปลอดภัย
    - ไม่มีการจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้
    - ไม่มีการแก้ไขจุดอันตรายต่าง ๆ
    1.2 สภาวะทางด้านจิตใจของคนงานไม่เหมาะสม
    - ขาดความระมัดระวัง
    - การทำงานของสมองไม่ประสานกัน
    - มีทัศนคติไม่ถูกต้อง
    - สมองมีปฏิกิริยาในการสั่งงานช้า
    - ขาดความตั้งอกตั้งใจ
    - อารมณ์อ่อนไหวง่ายและขี้โมโห
    - เกิดความรู้สึกหวาดกลัว ขวัญอ่อน ตกใจง่าย
    1.3 สภาวะทางด้านร่างกายของคนงานไม่เหมาะสม
    - อ่อนเพลียมาก
    - หูหนวก
    - สายตาไม่ดี
    - มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ
    - เป็นโรคหัวใจ
    - ร่างกายมีความพิการ
    2. สาเหตุโดยตรงของการเกิดอุบัติเหตุ
    2.1 การกระทำที่ไม่ปลอดภัย
    - การใช้เครื่องจักร เครื่องกล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยพลการหรือโดยไม่ได้รับมอบหมาย
    - การทำงานเร็วเกินสมควร และใช้เครื่องมือในอัตราเร็วเกินกำหนด
    - ซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาเครื่องในขณะที่เครื่องยนต์กำลังหมุน
    - ถอดถอนอุปกรณ์ความปลอดภัยจากเครื่องโดยไม่มีเหตุอันควร
    - ไม่ใส่ใจต่อคำห้ามเตือนต่าง ๆ
    - เล่นตลกคะนองในขณะทำงาน
    - ยืนทำงานในที่ที่ไม่ปลอดภัย
    - ใช้เครื่องมือที่ชำรุด และใช้ไม่ถูกวิธี
    - ทำการยกหรือเคลือนย้ายวัสดุด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย
    - ไม่สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่จัดให้
    2.2 สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
    - ไม่มีครอบหรือเซฟการ์ดของเครื่องจักรหรือสิ่งอื่นใดในส่วนที่เป็นอันตราย
    - เครื่องจักรอาจมีครอบหรือเซฟการ์ด แต่ไม่เหมาะสม
    - เครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้ ออกแบบไม่เหมาะสม
    - บริเวณพื้นที่ทำงานลื่น ขรุขระ
    - สถานที่ทำงานสกปรก รกรุงรัง วางสิ่งของไม่มีระเบียบ มีสิ่งกีดขวางทางเดิน
    - กองวัสดุอยู่สูงเกินไป และการซ้อนวัสดุไม่ถูกวิธี
    - การจัดเก็บสารเคมี สารไวไฟต่าง ๆ ไม่เหมาะสม
    - แสงสว่างไม่เหมาะสม
    - เสียงดังเกินไป
    - ไม่มีระบบการระบายอากาศและถ่ายเทที่เหมาะสม
  • การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
    1. จัดตั้งองค์การด้านความปลอดภัย
    - เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.)
    - คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    2. การค้นหาสาเหตุอุบัติเหตุ
    - จากจุดอันตราย
    - จากอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นแล้ว โดยการสอบสวนบันทึกและรายงาน และวิเคราะห์อุบัติเหตุ
    3. การควบคุมสาเหตุทางวัตถุ
    - ตรวจแบบแปลน แบบพิมพ์ ใบสั่งซื้อ สัญญาต่าง ๆ ในแง่ความปลอดภัย
    - ติดตั้งบำรุงรักษาอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างถูกต้อง
    - ตรวจสอบสิ่งชำรุดแล้วแก้ไข
    - จัดผังบริเวณที่ทำงานให้เป็นสัดส่วน
    - จัดให้มีการปรับปรุงด้านแสงสว่าง
    - จัดให้มีการปรับปรุงระบบระบายอากาศให้เหมาะสม
    4. การควบคุมสาเหตุที่เกิดจากคน
    - ฝึกอบรม สอนงาน
    - ปรับปรุงวิธีการบังคับบัญชา
    - การลงโทษทางวินัย
    - จัดคนให้เหมาะสมกับงาน
    - ตรวจสุขภาพ/ รักษาพยาบาล
    - อบรมและส่งเสริมด้านความปลอดภัย
    - ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
    5. การป้องกันอุบัติเหตุเป็นของทุกฝ่าย

อัพเดทล่าสุด