การจัดทำสถิติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน


937 ผู้ชม


การจัดทำสถิติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน




สถิติความปลอดภัยในการทำงาน จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายใช้เป็นดัชนีในการวิเคราะห์งาน แนวโน้มของอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน ตลอดจนความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ สถานประกอบการจะมีหลักดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำแผนภูมิแสดงแนวโน้มของอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน
2. วิเคราะห์เพื่อจัดทำสถิติความปลอดภัยต่าง ๆ ได้แก่ อัตราความถี่การเกิดอุบัติเหตุ/การบาดเจ็บ และอัตราความร้ายแรงของการเกิดอุบัติเหตุ
สถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (ANSI) กำหนดแนวทางการคำนวณสถิติด้านความปลอดภัยในการทำงานไว้ดังนี้
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บ (Injury Frequency Rate; I.F.R.)
= (จำนวนพนักงานทั้งหมดที่ได้รับบาดเจ็บต้องหยุดงาน x 1,000,000)
----------------------------------------------------------------------
จำนวนชั่วโมงในการทำงานทั้งสิ้นของพนักงานในหน่วยงานนั้น
อัตราความร้ายแรงของการบาดเจ็บ (I.S.R.)
= (จำนวนวันทำงานทั้งหมดที่พนักงานสูญเสียไปเนื่องจากการบาดเจ็บ x 1,000,000)
-------------------------------------------------------------------------------------
จำนวนชั่วโมงในการทำงานทั้งสิ้นของพนักงานในหน่วยงานนั้น
ในขณะที่องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดมาตรฐานคำนวณสถิติความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อใช้เปรียบเทียบการบาดเจ็บจากการทำงานของลูกจ้างของประเทศต่าง ๆ ไว้ดังนี้
อัตราการบาดเจ็บ (อัตราการเกิดอุบัติเหตุ)
= (จำนวนรวมผู้บาดเจ็บและตาย x 1,000)
-----------------------------------------------
จำนวนลูกจ้างที่ครอบคลุมทั้งหมดตามกฎหมาย

ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  เรียบเรียงจากเอกสารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (โดย Wisanti L.)

อัพเดทล่าสุด